
กรณีศึกษา Daruma Sushi “แพ้ภัยตัวเอง หรือ ตั้งใจโกง”
21 มิ.ย. 2022
“ถูกและดี” คงเป็นคำจำกัดความที่ไม่เลวสำหรับธุรกิจ “ดารุมะ ซูชิ” (Daruma Sushi) ในช่วงที่ผ่านมา
เพราะทางร้านมีการเสิร์ฟแซลมอนสด ๆ แบบไม่อั้นในราคาเพียงแค่ 499 บาทต่อหัวเท่านั้น
เพราะทางร้านมีการเสิร์ฟแซลมอนสด ๆ แบบไม่อั้นในราคาเพียงแค่ 499 บาทต่อหัวเท่านั้น
โดยที่ผ่านมา การตลาดของดารุมะก็มักจะเป็นการเล่นกับ “ราคา” เป็นส่วนใหญ่
ไม่ว่าจะเป็น โปรหน้าร้านที่มักจะลดราคาจาก 499 บาท เหลือเพียง 299 บาทต่อหัว หรือโปรเด็ดอย่าง การขายคูปองบุฟเฟต์มูลค่า 250 บาทต่อหัว ที่มักจัดเป็นประจำ จนแทบจะไม่มีใครที่ได้ทานดารุมะ ซูชิในราคาเต็มเลย
ไม่ว่าจะเป็น โปรหน้าร้านที่มักจะลดราคาจาก 499 บาท เหลือเพียง 299 บาทต่อหัว หรือโปรเด็ดอย่าง การขายคูปองบุฟเฟต์มูลค่า 250 บาทต่อหัว ที่มักจัดเป็นประจำ จนแทบจะไม่มีใครที่ได้ทานดารุมะ ซูชิในราคาเต็มเลย
เรียกได้ว่าเป็นโปรโมชันที่ “ไม่มีใครกล้าแข่ง” เพราะถ้าหากเทียบราคาแซลมอนในตลาดโลกที่ได้รับผลกระทบเต็ม ๆ จากภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน และปัญหาซัปพลายเชน ที่ดันราคาแซลมอนไปจนถึง 380 บาท/กก. แต่ดารุมะเลือกที่จะกดราคาต่อหัวให้ต่ำลงไปกว่าราคาแซลมอนในตลาดเสียอีก
ซึ่งถ้าลองคำนวณแบบคร่าว ๆ ในกรณีที่คนที่เข้าไปทานบุฟเฟต์ของดารุมะ จะทานแซลมอนเฉลี่ย 1 กิโลกรัม
(380 บาท) ต่อ 1 คน (250 บาท) จะเห็นได้ว่า ดารุมะ ซูชิ ขาดทุนตั้งแต่เริ่ม โดยที่ยังไม่นับรวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ด้วยซ้ำ (เช่น ค่าพนักงาน, ค่าสถานที่ ฯลฯ)
(380 บาท) ต่อ 1 คน (250 บาท) จะเห็นได้ว่า ดารุมะ ซูชิ ขาดทุนตั้งแต่เริ่ม โดยที่ยังไม่นับรวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ด้วยซ้ำ (เช่น ค่าพนักงาน, ค่าสถานที่ ฯลฯ)
จนมาถึงดรามาล่าสุด ที่ดารุมะ ซูชิ มีการจัดโปรโมชันที่เล่นกับราคาสวนกระแสโลก อย่างโปรโมชันการขายคูปองล่วงหน้าอีกครั้ง
ที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ซื้อคูปองสำหรับทานบุฟเฟต์ ที่ปกติมีราคาหัวละ 499 บาท ในราคาเพียง 199 บาท ที่ถูกกว่าเดิมที่เคยจำหน่ายในราคา 250 บาท แต่มีเงื่อนไขว่า ลูกค้าจะต้องซื้อคูปองขั้นต่ำเป็นจำนวน 5 ใบขึ้นไป..
ซึ่งถึงแม้ว่าดารุมะจะมีการประกาศมาก่อนหน้านี้ ว่าจะมีการเปลี่ยนเกรดวัตถุดิบหลัก จากแซลมอนสดมาเป็นแซลมอนแช่แข็ง ที่มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 314 บาท/กก. แล้ว แต่ไม่ว่าจะมองมุมไหน ราคา 199 บาท ก็ดูจะเป็นราคาที่ไม่น่าสร้างกำไรได้อยู่ดี
แล้วทุกอย่างก็เจอบทสรุป..
เพราะภายหลังจากจัดโปรโมชันดังกล่าวมาไม่กี่วัน ทางร้านก็ได้มีการปิดหน้าร้านกว่า 24 สาขาทั้งหมดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมไปถึงยังมีการปิดช่องทางการติดต่อกับลูกค้าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นแฟนเพจ หรือแอปพลิเคชันสำหรับจองที่นั่ง..
จนกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โต และมีผู้เสียหายหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น
- กลุ่มคนที่ซื้อคูปองล่วงหน้า เพราะเมื่อไม่มีร้านให้ใช้คูปองแล้ว คูปองที่ตัวเองถืออยู่ก็ไม่ต่างจากกระดาษเปล่า..
- พนักงานของดารุมะ ที่ต้องตกอยู่ในภาวะว่างงานแบบไม่ทันตั้งตัวกว่า 300 ชีวิต (รวมทุกสาขา)
- ผู้ซื้อแฟรนไชส์ดารุมะ โดยมีข้อมูลว่าผู้ที่ลงทุนซื้อแฟรนไชส์กับดารุมะ ต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 2.5 ล้านบาทต่อสาขา และมีสัญญา 5 ปี ซึ่งตอนนี้ทุกอย่างหายไป รวมถึงเงินลงทุนของตัวเองด้วย..
- ซัปพลายเออร์ของดารุมะ ที่รับภาระในการดำเนินการจัดหาวัตถุดิบให้กับหน้าร้าน
ซึ่งมีข้อมูลเปิดเผยมาว่า มูลค่าความเสียหายในครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทเลยทีเดียว..
ซึ่งกรณีแบบนี้ เรามองได้ 2 มุมคือ ดารุมะ “แพ้ภัยตัวเอง” ไม่ก็ “ตั้งใจมาโกง”..
เพราะต้องยอมรับว่า ถึงแม้โมเดลธุรกิจของดารุมะ จะดูไม่น่ามีกำไร แต่โปรโมชันของดารุมะเองก็มีข้อดีเหมือนกัน
เพราะด้วยราคาแค่ 199 บาทก็จริง แต่แลกมาด้วยการบังคับซื้อขั้นต่ำ 5 ใบ จะทำให้บริษัทมี “กระแสเงินสด” เข้ามาอย่างมหาศาล ซึ่งไม่ต่างจากเงินกู้ที่ไม่มีดอกเบี้ย
ซึ่งเม็ดเงินมหาศาลนี้จะถูกนำไปเป็น “อำนาจต่อรอง” กับซัปพลายเออร์ในการซื้อวัตถุดิบในปริมาณต่อครั้งมาก ๆ จึงทำให้ได้วัตถุดิบในราคาที่ถูกกว่า
รวมถึงเอาไปใช้ในการลงทุนขยายธุรกิจให้เติบโตต่อไป
รวมถึงเอาไปใช้ในการลงทุนขยายธุรกิจให้เติบโตต่อไป
อีกทั้งในบางสาขา ยังมีการออกผลิตภัณฑ์ เช่น หนังปลาแซลมอนทอดกรอบ ในลักษณะขนมขบเคี้ยว ช่วยสร้างรายได้ให้กับบริษัทในอีกทาง
เห็นได้ว่าดารุมะ เป็นธุรกิจที่สามารถรีดประสิทธิภาพของแซลมอนออกมาได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
เช่น ส่วนหัวของแซลมอน นำมาทำแซลมอนนึ่งซีอิ๊ว ส่วนหนังนำมาทอดกรอบขายปลีก และส่วนเนื้อนำไปทำเมนูอื่น ๆ จึงทำให้ดารุมะ ซูชิ กลายเป็นร้านที่ถึงแม้จะมีเมนูให้เลือกเยอะ แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเมนูจากปลาแซลมอนทั้งตัว
ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้ ดารุมะ สามารถดำเนินกิจการมาได้ถึง 6 ปี โดยที่ยังพอมีกำไรอยู่
โดยผลประกอบการของบริษัท ดารุมะ ซูชิ จำกัด 3 ปีล่าสุด
ปี 2562 บริษัทมีรายได้ 39 ล้านบาท และมีกำไร 1 ล้านบาท
ปี 2563 บริษัทมีรายได้ 44 ล้านบาท และมีกำไร 2 ล้านบาท
ปี 2564 บริษัทมีรายได้ 46 ล้านบาท และมีกำไร 1 ล้านบาท
ปี 2563 บริษัทมีรายได้ 44 ล้านบาท และมีกำไร 2 ล้านบาท
ปี 2564 บริษัทมีรายได้ 46 ล้านบาท และมีกำไร 1 ล้านบาท
ซึ่งถ้ามองแบบโลกสวยในตอนนี้ ดารุมะอาจจะพบปัญหาจากยอดขายของคูปองที่ดีเกินไป
โดยข้อมูลระบุว่า มีคูปองที่ลูกค้าซื้อไปสต็อกเอาไว้ร่วม 200,000 ใบ
ในขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยากมากที่จะสามารถดำเนินธุรกิจให้มีกำไรได้
ดังนั้นการเลือกปิดกิจการไปเลย จึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
โดยข้อมูลระบุว่า มีคูปองที่ลูกค้าซื้อไปสต็อกเอาไว้ร่วม 200,000 ใบ
ในขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยากมากที่จะสามารถดำเนินธุรกิจให้มีกำไรได้
ดังนั้นการเลือกปิดกิจการไปเลย จึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
หรือในแบบโลกไม่สวย ก็คือเจ้าของแบรนด์ดารุมะ ตั้งใจปั้นธุรกิจมาเพื่อโกง..
หากลองดูโมเดลการขยายธุรกิจของดารุมะ ซูชิ จะเห็นได้ว่า มีการขายแฟรนไชส์ที่ราคา 2.5 ล้านบาทต่อสาขา
โดยผู้ที่ลงทุนไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะทางสำนักงานใหญ่จะเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบ จ่ายค่าพนักงาน รวมไปถึงจ่ายค่าสถานที่ให้อีกด้วย
ซึ่งผู้ลงทุนมีหน้าที่เพียงรอรับเงินปันผลจากยอดขายทุก 1 ล้านบาท ผู้ลงทุนแฟรนไชส์จะได้เงิน 1 แสนบาท หรือคิดเป็น 10% จากยอดขาย ซึ่งไม่ต่างจากการลงทุนหุ้น แล้วได้รับเงินปันผล 10% ต่อปีเลยทีเดียว
การลงทุนที่ทั้งง่ายแถมดูมีอนาคต จึงไม่แปลกที่จะมีผู้ร่วมสนใจลงทุนในแฟรนไชส์ดารุมะเกือบ 20 สาขา ตีเป็นมูลค่ากว่า 50 ล้านบาท
ตัดมาที่โปรโมชันคูปองที่พอดูลึก ๆ แล้วจะดูเป็นการระดมทุนเพื่อ “ชิ่ง” มากกว่า
เพราะเจ้าของธุรกิจย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่า จำนวนคนที่แต่ละสาขาสามารถรับได้ต่อวันอยู่ที่เท่าไร
เพราะเจ้าของธุรกิจย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่า จำนวนคนที่แต่ละสาขาสามารถรับได้ต่อวันอยู่ที่เท่าไร
ดังนั้นก็ควรออกโปรโมชันให้สอดคล้องกับต้นทุนวัตถุดิบ รวมไปถึง Turnover rate ของร้านตัวเองมากกว่า ที่จะขายคูปองโดยไม่มีการจำกัดจำนวนการซื้อแบบนี้
มันเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะทำให้คนเกิดการ “สต็อก” ซึ่งผู้บริโภคบางรายมีการสต็อกไว้ถึงหลักพันใบ ซึ่งนั่นหมายถึงเงินก้อนโตที่เจ้าของแบรนด์ดารุมะจะได้รับ
ทั้งการขายคูปอง รวมไปถึงโมเดลการขยายแฟรนไชส์ ที่ดูแปลกมาก ประกอบกับมีข้อมูลมาว่าบางสาขาของดารุมะนั้น มีเจ้าของ 2 คน โดยที่ทั้งสองไม่รู้จักกันมาก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าเป็นไปได้..
ซึ่งหลายอย่างมันเลยดูไม่สมเหตุสมผลไปหมด จนดูเหมือนว่าเจ้าของแบรนด์ดารุมะ ไม่ได้ตั้งใจหาเงินจากธุรกิจบุฟเฟต์
แต่ตั้งใจหาเงินจาก “ความโลภ” ของคนในปัจจุบัน ที่ชื่นชอบความคุ้มค่า รวมไปถึงนิสัยที่ชอบการลงทุนที่ง่าย และให้ผลตอบแทนสูง.. มากกว่า
แต่ตั้งใจหาเงินจาก “ความโลภ” ของคนในปัจจุบัน ที่ชื่นชอบความคุ้มค่า รวมไปถึงนิสัยที่ชอบการลงทุนที่ง่าย และให้ผลตอบแทนสูง.. มากกว่า
และในอดีตก็มักมีกรณีเช่นนี้ให้เห็นกันอยู่บ่อย ๆ เช่น
ร้านบุฟเฟต์อาหารทะเล “แหลมเกต” ที่มีการขายคูปองราคาถูกคล้ายกับดารุมะ สุดท้ายก็ไม่สามารถดำเนินธุรกิจให้มีกำไรได้ และต้องยกเลิกโปรโมชัน จนทำให้ผู้บริหารของแหลมเกตโดนตั้งข้อหากว่า 723 กระทง คิดเป็นโทษจำคุกรวม 1,446 ปี..
และกรณีของฟิตเนส California Wow ที่ใช้เวลา 10 ปีในการสร้างความน่าเชื่อถือให้นักลงทุน และผู้ใช้บริการจนถึงขั้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว ซึ่งสุดท้ายก็จบด้วยการที่เจ้าของกิจการหอบเงินก้อนโตกว่าพันล้านบาท หายเข้ากลีบเมฆนั่นเอง..
สุดท้ายนี้ ไม่ว่าเรื่องนี้จะเป็นการ “ผิดพลาดจากโปรโมชัน จนธุรกิจดำเนินต่อไปไม่ได้”
หรือเป็น “การตั้งใจปั้นธุรกิจให้น่าเชื่อถือ เพื่อโกยเอาเงินก้อนโตแล้วชิ่ง..”
หรือเป็น “การตั้งใจปั้นธุรกิจให้น่าเชื่อถือ เพื่อโกยเอาเงินก้อนโตแล้วชิ่ง..”
ผลที่ตามมาก็คือ ผู้เสียหายจำนวนมากตั้งแต่ผู้บริโภคที่อยากทานแซลมอนแบบอิ่ม ๆ สักมื้อ
ซัปพลายเออร์ ไปจนถึงพนักงานร้านดารุมะ ที่ ณ ตอนนี้ก็ยังไม่รู้อนาคตของตัวเอง
ซัปพลายเออร์ ไปจนถึงพนักงานร้านดารุมะ ที่ ณ ตอนนี้ก็ยังไม่รู้อนาคตของตัวเอง
และเรื่องราวของดารุมะ จะกลายเป็นอีกหนึ่งบทเรียนราคาแพงในโลกธุรกิจ ให้ใครหลายคนได้ศึกษา และรู้ว่าไม่ได้มีแต่เรื่องสวยหรูเสมอไป..
Tag:Daruma Sushi