อยากขายของถูก คุณภาพดี ทำอย่างไรถึงไม่ขาดทุน
19 มิ.ย. 2022
โมเดลธุรกิจแบบขายของถูก แต่คุณภาพดี
น่าจะเป็นธุรกิจในฝันของใครหลาย ๆ คน
น่าจะเป็นธุรกิจในฝันของใครหลาย ๆ คน
เพราะนอกจากเจ้าของธุรกิจ จะสามารถขายของราคาถูกให้ลูกค้าได้แล้ว ซึ่งถือเป็นการช่วยสังคมในทางอ้อมอีกรูปแบบหนึ่ง
ยังอาจช่วยให้เจ้าของธุรกิจ สามารถขยายธุรกิจได้เร็ว และง่ายขึ้น
เพราะธุรกิจประเภทนี้ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าในวงกว้างได้ง่าย และขยายฐานลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
ยังอาจช่วยให้เจ้าของธุรกิจ สามารถขยายธุรกิจได้เร็ว และง่ายขึ้น
เพราะธุรกิจประเภทนี้ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าในวงกว้างได้ง่าย และขยายฐานลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
แม้ดูเผิน ๆ สินค้าราคาถูกจะมีอัตรากำไรที่ต่ำ แต่หากขายได้ในปริมาณมาก ก็สามารถทำให้ภาพรวมของธุรกิจ คว้ากำไรมาก ๆ ได้นั่นเอง
อีกทั้ง ถ้าขายสินค้าได้ในปริมาณมาก ๆ ก็จะทำให้ธุรกิจได้ประโยชน์จากการที่ต้นทุนสินค้าต่อหน่วยลดต่ำลง และทำให้มีอัตรากำไรเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งเรื่องนี้ จะมีการอธิบายอีกครั้งในบทความหลังจากนี้
ซึ่งเรื่องนี้ จะมีการอธิบายอีกครั้งในบทความหลังจากนี้
ตัวอย่างธุรกิจชื่อดังที่ใช้โมเดลนี้ เช่น Daiso, ร้าน 100 เยน จากญี่ปุ่น,
ร้าน Miniso ที่ขายของใช้ในชีวิตประจำวันจากจีน
หรือธุรกิจร้านอาหารอย่าง สุกี้ตี๋น้อย
ร้าน Miniso ที่ขายของใช้ในชีวิตประจำวันจากจีน
หรือธุรกิจร้านอาหารอย่าง สุกี้ตี๋น้อย
แล้วกลยุทธ์ที่ทำให้ร้านค้าเหล่านี้ สามารถขายของถูก แต่คุณภาพดีได้ คืออะไร ?
1. ถัวเฉลี่ยต้นทุนสินค้า
อย่างเช่น ร้าน 100 เยน ในญี่ปุ่น หรือร้านทุกอย่าง 60 บาท ในไทย
จะใช้วิธีการถัวเฉลี่ยต้นทุนของสินค้าแต่ละอย่างในร้าน
จะใช้วิธีการถัวเฉลี่ยต้นทุนของสินค้าแต่ละอย่างในร้าน
เช่น หากร้านค้าแห่งหนึ่ง ขายสินค้า A, B และ C ในราคาชิ้นละ 60 บาท
โดยสินค้า A มีต้นทุน 10 บาท กำไร 50 บาท
สินค้า B มีต้นทุน 30 บาท กำไร 30 บาท
สินค้า C มีต้นทุน 50 บาท กำไรเพียง 10 บาท
โดยสินค้า A มีต้นทุน 10 บาท กำไร 50 บาท
สินค้า B มีต้นทุน 30 บาท กำไร 30 บาท
สินค้า C มีต้นทุน 50 บาท กำไรเพียง 10 บาท
ซึ่งลูกค้า 1 คน ที่เดินเข้ามาในร้าน นับว่าน้อยคนที่จะซื้อสินค้าแค่เพียงสินค้า C อย่างเดียว แล้วจ่ายเงินเลย
เพราะส่วนมากเวลาที่เข้ามาเดินในร้าน ก็มักจะได้สินค้าอื่น ที่ไม่ได้ตั้งใจมาซื้อ ติดมือกลับบ้านไปด้วย
เพราะส่วนมากเวลาที่เข้ามาเดินในร้าน ก็มักจะได้สินค้าอื่น ที่ไม่ได้ตั้งใจมาซื้อ ติดมือกลับบ้านไปด้วย
ดังนั้นแม้ร้านค้าจะได้กำไรจากสินค้า C น้อย แต่ก็มีสินค้าตัวอื่น ๆ (ที่อัตรากำไรสูงกว่า) มาช่วยเพิ่มกำไรให้ทางร้าน
หรืออย่างร้านบุฟเฟต์สุกี้-ชาบู ก็แทบไม่น่าจะมีลูกค้า ที่จะกินเนื้อที่แพงที่สุดอยู่อย่างเดียว โดยไม่สั่งอาหารอย่างอื่นเลย
2. การประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale)
การจะขายของถูก คุณภาพดีได้ หนึ่งในปัจจัยแห่งความสำเร็จระยะยาว คือขยายการผลิต/ปริมาณการขาย เพื่อให้ต้นทุนสินค้าต่อหน่วยต่ำลง และสามารถขายในราคาที่ถูกกว่าคู่แข่งได้
ไม่ว่าจะเป็นการซื้อวัตถุดิบในปริมาณมาก ๆ ทำให้ได้ดีลราคาพิเศษกับซัปพลายเออร์
เช่น การซื้อวัตถุดิบอาหาร ครั้งละ 50-60 กิโลกรัม เทียบกับการซื้อวัตถุดิบครั้งละ 1 ตัน (1,000 กิโลกรัม) ต้นทุนเฉลี่ยต่อกิโลกรัมที่ได้ ย่อมต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
หรือการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนคงที่ เช่น ค่าเสื่อมโรงงาน-เครื่องจักร, ค่าโฆษณา
ถูกเฉลี่ยไปเป็นต้นทุนของสินค้าแต่ละหน่วย
ถูกเฉลี่ยไปเป็นต้นทุนของสินค้าแต่ละหน่วย
ซึ่งหมายความว่า ยิ่งผลิตมาก ต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าแต่ละชิ้น ก็จะยิ่งต่ำลง นั่นเอง
และเมื่อธุรกิจสามารถทำให้สินค้ามีต้นทุนที่ต่ำลงได้แล้ว ก็จะมีอัตรากำไรที่มากขึ้นเป็นเงาตามตัว
หรืออาจหั่นราคาสินค้าลง เพื่อกระตุ้นยอดขาย เน้นหากำไรจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นแทน
หรืออาจหั่นราคาสินค้าลง เพื่อกระตุ้นยอดขาย เน้นหากำไรจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นแทน
3. เน้นปริมาณการขาย (Volume)
เมื่อเราต้องการจะขายของในราคาประหยัด
แน่นอนว่าอัตรากำไรของเรา ก็จะไม่สูงเท่าคู่แข่ง
แน่นอนว่าอัตรากำไรของเรา ก็จะไม่สูงเท่าคู่แข่ง
แบรนด์ที่เลือกใช้กลยุทธ์นี้ จึงต้องเน้นปริมาณการขายเข้าช่วย
เพื่อให้ยอดขายเลยจุดคุ้มทุน (Break-Even Point) ทางธุรกิจ และเริ่มสามารถทำกำไรได้
เพื่อให้ยอดขายเลยจุดคุ้มทุน (Break-Even Point) ทางธุรกิจ และเริ่มสามารถทำกำไรได้
ตัวอย่างเช่น
แบรนด์ชาบู C ราคาหัวละ 399 บาท มีอัตรากำไรต่อหัวที่ 20%
แบรนด์ชาบู D ราคาหัวละ 199 บาท มีอัตรากำไรต่อหัวที่ 10%
แบรนด์ชาบู C ราคาหัวละ 399 บาท มีอัตรากำไรต่อหัวที่ 20%
แบรนด์ชาบู D ราคาหัวละ 199 บาท มีอัตรากำไรต่อหัวที่ 10%
ถ้าหากว่าทั้ง 2 ร้าน มีต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปรไม่ต่างกันมากนัก
จะเห็นได้ว่าร้านชาบู D ต้องมีจำนวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการในปริมาณที่มากกว่า ถึงจะมีกำไรเท่ากับร้านชาบู C
จะเห็นได้ว่าร้านชาบู D ต้องมีจำนวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการในปริมาณที่มากกว่า ถึงจะมีกำไรเท่ากับร้านชาบู C
ซึ่งปริมาณที่ว่านี้ ก็เป็นได้ทั้งจำนวนลูกค้า ที่หมุนเวียนเข้ามาใช้บริการในแต่ละวัน และการขยายสาขา เพื่อรับลูกค้ากลุ่มใหม่เพิ่ม
ทั้งนี้ กลยุทธ์ที่จะทำให้เราสามารถขายได้มาก ๆ นั้น แตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของธุรกิจ
ถ้าเป็นร้านขายของใช้ทั่วไป เช่น Daiso และ Miniso
จะต้อง “หาวิธีทำให้ลูกค้าอยากเดินวนในร้านนาน ๆ” เพื่อเพิ่มโอกาสในการซื้อสินค้าให้ได้มากที่สุด และทำให้ลูกค้าอยากมาเดินดูสินค้าบ่อย ๆ
จะต้อง “หาวิธีทำให้ลูกค้าอยากเดินวนในร้านนาน ๆ” เพื่อเพิ่มโอกาสในการซื้อสินค้าให้ได้มากที่สุด และทำให้ลูกค้าอยากมาเดินดูสินค้าบ่อย ๆ
อย่างร้าน Miniso จะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนสต็อกสินค้าทุก ๆ 1-2 อาทิตย์
เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่า มาเดินกี่รอบ ของที่เจอก็ไม่เหมือนเดิม จึงชอบที่จะมาเดินดูสินค้าใหม่เป็นประจำ
เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่า มาเดินกี่รอบ ของที่เจอก็ไม่เหมือนเดิม จึงชอบที่จะมาเดินดูสินค้าใหม่เป็นประจำ
ในทางกลับกัน ถ้าเป็นร้านอาหาร จะต้องทำการ “หมุนเวียนปริมาณลูกค้าต่อวันให้ได้มากที่สุด”
นั่นแปลว่า จะต้องทำให้ลูกค้ากินให้เร็ว ลุกให้ไว ซึ่งอาจทำได้ด้วยการจำกัดเวลา หรือทำให้บรรยากาศในร้านไม่ผ่อนคลายจนเกินไป
นั่นแปลว่า จะต้องทำให้ลูกค้ากินให้เร็ว ลุกให้ไว ซึ่งอาจทำได้ด้วยการจำกัดเวลา หรือทำให้บรรยากาศในร้านไม่ผ่อนคลายจนเกินไป
4. เน้นการผลิตสินค้าหรือบริการ ให้สามารถเข้าถึงคนหมู่มากได้
แน่นอนว่า การขายของที่ต้องเน้นการประหยัดต่อขนาด เน้นปริมาณการขาย และขยายสาขา ก็ย่อมต้องใส่ใจในเรื่องการออกแบบสินค้าและบริการ ให้สามารถเข้าถึงคนหมู่มากได้
สังเกตง่าย ๆ เลยคือ เราจะไม่ค่อยเห็นร้านขายของถูก คุณภาพดี ที่มีสไตล์เฉพาะเจาะจง เข้าถึงคนได้แค่บางกลุ่ม
อย่างร้าน Miniso หรือ Daiso ก็จะนำของสไตล์มินิมัล สไตล์เรียบง่ายที่ใคร ๆ ก็ใช้ได้มาขาย
หรือร้านสุกี้ตี๋น้อย ก็เน้นการมีวัตถุดิบเยอะ ๆ ไว้ก่อน เพื่อให้รองรับกับคนทุกกลุ่ม
และมีการหาวัตถุดิบใหม่ ๆ ที่ถูกปากคนไทยมาให้ลูกค้าได้กินอยู่เสมอ
และมีการหาวัตถุดิบใหม่ ๆ ที่ถูกปากคนไทยมาให้ลูกค้าได้กินอยู่เสมอ
นอกจากนี้ อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ คือการวิจัยตลาด และหาความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคให้ได้ เพื่อให้แบรนด์สามารถดำเนินกลยุทธ์ ขายของถูก คุณภาพดี ได้อย่างที่คาดหวัง
เพราะต่อให้สินค้าราคาถูก และคุณภาพดีแค่ไหน
แต่ถ้าคนมองว่าสิ่งนี้ไม่จำเป็นต่อชีวิต ไม่ตอบโจทย์ความต้องการ หรือไม่ใช่สิ่งที่ชอบ
มันก็จะไม่มีวันขายได้ และนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะขาดทุนแทน..
แต่ถ้าคนมองว่าสิ่งนี้ไม่จำเป็นต่อชีวิต ไม่ตอบโจทย์ความต้องการ หรือไม่ใช่สิ่งที่ชอบ
มันก็จะไม่มีวันขายได้ และนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะขาดทุนแทน..