กว่า 2 ใน 3 ของผู้บริโภคทั่วโลกต้องการให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินของตนก้าวสู่ความยั่งยืนมากยิ่งขึ้นในอนาคต
1 มิ.ย. 2022
ขณะที่ไทยให้ความสำคัญกับ “การเงินสีเขียว” ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยบัญชีเงินฝากสีเขียว ตราสารหนี้สีเขียว และเงินสกุลดิจิทัลที่มีความยั่งยืนคว้าอันดับความนิยมสูงสุดในหมู่ผู้บริโภคไปครอง
จากรายงานล่าสุดของ Mambu ผู้ให้บริการธุรกรรมทางการเงินบนแพลตฟอร์มคลาวด์ (Cloud Banking Platform) ระบุว่า กว่าสองในสาม (ร้อยละ 67) ของผู้บริโภคต้องการเห็นธนาคารหรือสถาบันทางการเงินที่ตนใช้บริการก้าวสู่ความเป็น “ธนาคารเพื่อความยั่งยืน” มากขึ้นในอนาคต จากกระแสเรื่องความยั่งยืนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ประชากรไทยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 65) เห็นว่าผลิตภัณฑ์การเงินสีเขียวมีบทบาทมากขึ้นในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา
จากรายงาน Is the grass greener on the sustainable side? ที่ทำการสำรวจผู้บริโภคกว่า 6,000 รายทั่วโลกรวมถึงผู้บริโภคชาวไทยกับความเห็นที่มีต่อ “การเงินสีเขียว” หรือ Green Finance ระบุว่า ในขณะที่คนส่วนใหญ่ชอบทางเลือกทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า แต่ผู้บริโภคกลับไม่ค่อยไว้วางใจในข้อมูลรับรองความยั่งยืนของอุตสาหกรรมทางการเงินมากนัก
ประเทศไทยยังคงมีความกังวลเรื่องการฟอกเขียว (Greenwashing) ค่อนข้างมาก โดยสองในสามของผู้บริโภคในประเทศ (ร้อยละ 75) เช่นเดียวกับผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกและภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกเชื่อว่าสถาบันทางการเงินที่ใช้บริการอยู่ในปัจจุบันมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเขียวที่เกิดขึ้นใน
อุตสาหกรรม
จากการสำรวจผู้บริโภคในประเทศต่างๆ ทั่วโลก แม้ว่าผู้บริโภคในประเทศไทยจะมีความตระหนักรู้ในเรื่องจริยธรรมทางการเงิน (Ethical Finance) หรือการเงินสีเขียวมากที่สุดถึงร้อยละ 64 แต่จากผลสำรวจพบว่ายังมีความสับสนกับคำนิยามเหล่านี้ โดยร้อยละ 42 ของผู้บริโภคชาวไทยยังขาดความเข้าใจด้านความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ “การเงินสีเขียว” (ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมหรือรองรับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อันเกิดจากการเงินและการลงทุนในอุตสาหกรรม) และ “จริยธรรมทางการเงิน” (การเงินยั่งยืนที่รวมถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล) สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมยังต้องสร้างความรู้ความเข้าใจและการสื่อสารกับผู้บริโภคอีกมาก
ผู้บริโภคในประเทศไทยเช่นเดียวกับเวียดนามรู้จักและเคยใช้บริการของสถาบันการเงินที่ดำเนินกิจการเพื่อความยั่งยืน หรือเคยใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินเพื่อความยั่งยืน (ร้อยละ 43) โดยหากเปรียบเทียบกับผู้บริโภคในประเทศต่างๆ ทั่วโลกแล้ว มีเพียงร้อยละ 26 ที่รู้จักหรือเคยใช้บริการผลิตภัณฑ์ลักษณะดังกล่าวกับสถาบันการเงินที่ดำเนินกิจการเพื่อความยั่งยืน และสำหรับผู้บริโภคในประเทศไทยที่เคยใช้บริการผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ร้อยละ 88) เลือกที่จะใช้บริการเหล่านี้แทนผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบดั้งเดิม
ผลการสำรวจทั่วโลกระบุว่าผู้บริโภคต้องการให้ธนาคารดำเนินงานด้วยความโปร่งใสและเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมตัดสินใจในการดำเนินกิจการของธนาคารมากขึ้น โดยเกือบ 3 ใน 5 (ร้อยละ 58) ต้องการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าจะนำเงินไปลงทุนอย่างไรและในส่วนใดบ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับคุณค่าส่วนบุคคล (Personal Values) ของผู้บริโภค ขณะที่กว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 55) ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันการเงินที่ใช้บริการอยู่ ในการกำหนดว่าผลิตภัณฑ์และบริการการเงินสีเขียวที่จะออกสู่ตลาดในอนาคตคืออะไรบ้าง
นาง Anna Krotova ผู้อำนวยการด้านความยั่งยืนของ Mambu กล่าวว่า “รายงานของเราชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคมีแนวโน้มในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่ยังขาดความมั่นใจในสามารถในการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง “การธนาคารเพื่อความยั่งยืน” ของสถาบันทางการเงินในประเทศ ทั้งนี้ตัวผู้บริโภคเองต้องการมีบทบาทมากขึ้นในการผลักดันให้โลกก้าวสู่ “การเงินสีเขียว” ได้อย่างยั่งยืนในอนาคต ดังนั้นผู้ให้บริการที่มองการณ์ไกลและปรับตัวได้ก่อนจะมีโอกาสสูงในการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันก่อนคู่แข่งรายอื่นๆ ในตลาด โดย Mambu สนับสนุนสถาบันทางการเงินให้ขับเคลื่อนสู่การเงินสีเขียวและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อความยั่งยืนได้อย่างรวดเร็วและคุ้มค่าการลงทุน สามารถตอบความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ด้านนาย Pham Quang Minh ผู้จัดการทั่วไปของ Mambu ประเทศไทยกล่าวกว่า “ประเทศไทย
เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) ที่เกิดขึ้นทั่วโลก นอกจากนั้นสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้นทำให้ทั่วโลกให้น้ำหนักมากขึ้นกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโตได้อย่างยั่งยืน จะเห็นได้ว่าตลาดการเงินสีเขียวทั่วภูมิภาคมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับตลาดในประเทศไทย สถาบันการเงินหลายแห่งประสบความสำเร็จในการออกตราสารหนี้สีเขียวโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานการเงินสีเขียวที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมการเงินควรให้ความสำคัญกับการเงินสีเขียวในมิติอื่นๆ เช่นกัน ด้วยบริการของ Mambu สถาบันการเงินจะสามารถพัฒนาและดำเนินธุรกิจการเงินสีเขียวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านโซลูชันที่ยืดหยุ่นและออกแบบตามความต้องการที่แตกต่างกันของแต่ละสถาบันการเงิน”
ร้อยละ 45 ของผู้บริโภคชาวไทยมีแนวโน้มในการตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นหากมีค่าจูงใจและโปรแกรมสำหรับลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของสถาบันทางการเงินนั้นๆ และในช่วงที่สถาบันทางการเงินมีการพัฒนาและออกผลิตภัณฑ์และบริการการเงินสีเขียวสู่ตลาด ผู้บริโภคชาวไทยจำนวนเกือบเท่ากัน (ร้อยละ 46) ต้องการให้สถาบันทางการเงินเปิดเผยเจตนารมณ์และคำมั่นสัญญาในเรื่องความยั่งยืนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
ผลิตภัณฑ์การเงินสีเขียวที่กำลังเป็นที่ต้องการมากที่สุดคือบัญชีเงินฝากสีเขียวและตราสารหนี้สีเขียว (ร้อยละ 52) รองลงมาคือเงินสกุลดิจิทัลที่มีความยั่งยืน (ร้อยละ 42) และบัตรเครดิตและเดบิตที่มีความยั่งยืน (ร้อยละ 40) สิ่งน่าสนใจคือ จากบรรดาประเทศที่ทำการสำรวจทั้งหมดพบว่า ประเทศไทยและเวียดนามเป็นเพียงสองประเทศที่เงินสกุลดิจิทัลที่มีความยั่งยืนเป็นหนึ่งในสามของผลิต
ภัณฑ์และบริการผู้ที่บริโภคให้ความสำคัญมากที่สุด
ผลสำรวจจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเติบโตในอุตสาหกรรมการเงินสีเขียวของธนาคารต่างๆ เนื่องจากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 49) ของผู้บริโภคระบุว่าจะเปลี่ยนไปใช้บริการกับสถาบันทางการเงินที่แสดงเจตนารมณ์และคำมั่นสัญญาใน
เรื่องความยั่งยืนอย่างชัดเจน แต่มีผู้บริโภคเพียง 1 ใน 3 (ร้อยละ 32) ที่รับได้กับผลิตภัณฑ์และบริการที่จะมีราคาสูงด้วยเช่นกัน
ท่านสามารถอ่านรายงาน Is the grass greener on the sustainable side? ฉบับเต็มได้ที่ https://mambu.com/insights/reports/disruption-diaries-green-banking