EIC คาดเศรษฐกิจ CLMV ปี 2565 เร่งตัวขึ้นจากปี 2564 ตามอัตราการ ฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น การเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวโดยไม่ต้องกักตัว และการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง
14 มี.ค. 2022
EIC คาดเศรษฐกิจ CLMV ในปี 2565 ขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นเทียบกับปี 2564 จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด COVID-19 การทยอยเปิดพรมแดนตามอัตราการฉีดวัคซีนในภูมิภาคที่สูงขึ้น และภาคการส่งออก ที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยประมาณการว่าเศรษฐกิจกัมพูชาจะขยายตัว 4.8%, สปป.ลาว 4.0%, เมียนมา 0.5% และเวียดนาม 6.5% ในปีนี้
ในปี 2564 เศรษฐกิจ CLMV ฟื้นตัวได้อย่างจำกัดแม้จะได้รับอานิสงส์จากการส่งออกที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก โดยมีปัจจัยกดดันจากการระบาดของสายพันธุ์เดลตาในช่วงไตรมาส 2 และไตรมาส 3 ซึ่งเป็นการระบาดระลอกที่รุนแรงที่สุดและนำไปสู่มาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดขึ้น ขณะเดียวกัน เหตุการณ์รัฐประหารในประเทศเมียนมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจเมียนมาหดตัวอย่างรุนแรงและทวีผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจ CLMV ได้เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวในไตรมาส 4 จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่ลดลง (สู่หลักร้อยต่อวันในทุกประเทศยกเว้นเวียดนาม) โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากอัตราการฉัดวัคซีนที่สูงขึ้น (กัมพูชาฉีดครบโดสแล้ว 81.8% ของประชากร, สปป.ลาว 58.7%, เมียนมา 38.4% และเวียดนาม 78.5% ณ วันที่ 2 มีนาคม 2565) และการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ตามการเปลี่ยนนโยบายไปเป็นการใช้ชีวิตร่วมกับ COVID-19 อย่างปลอดภัย ขณะที่ภาคการส่งออกก็กลับมาขยายตัวสูงอีกครั้งหลังการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานคลี่คลายลง นอกจากนี้ บางประเทศ เช่น กัมพูชาและเวียดนาม ได้เริ่มมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวโดยไม่ต้องกักตัว หรือลดเวลาการกักตัวลง หากได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว EIC มองว่ามาตรการควบคุม COVID-19 ในเศรษฐกิจ CLMV ในปี 2565 จะผ่อนคลายกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่ออุปสงค์ภายในประเทศ ขณะที่อุปสงค์จากนอกประเทศจะมีปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวต่อเนื่องและการเปิดพรมแดนต้อนรับนักท่องเที่ยว
อุปสงค์ภายในประเทศของเศรษฐกิจ CLMV คาดว่าจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ แต่จะยังเผชิญปัจจัยกดดันจากแผลเป็นทางเศรษฐกิจและความเสี่ยง
รายประเทศ ข้อมูลจาก Google Mobility ซึ่งแสดงถึงภาวะกิจกรรมของประชากรไปร้านค้าปลีกและสถานที่นันทนาการ (Retail and Recreation) ฟื้นตัวในเกือบทุกประเทศยกเว้นเมียนมา สะท้อนถึงการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้
การจ้างงานในกลุ่มประเทศ CLMV คาดว่าจะทยอยเพิ่มสูงขึ้นตามภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ฟื้นตัวโดยเฉพาะในภาคการบริการ โดยล่าสุดอัตราการว่างงานในประเทศเวียดนามลดลงสู่ระดับ 3.6% ในไตรมาส 4 ปี 2564 จาก 4.0% ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกสำหรับการใช้จ่ายภายในประเทศ ขณะเดียวกัน ไทยก็มีแนวโน้มเปิดรับแรงงานต่างด้าวมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การส่งเงินกลับ (Remittances) กลุ่มประเทศ CLMV สูงขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ความเร็วในการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสถานะทางการคลังและสถานการณ์ภายในประเทศ โดย EIC คาดว่า กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งมีสถานะทางการคลังแข็งแรงเพียงพอ จะสามารถออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เพิ่มเติม ล่าสุดกัมพูชาได้ขยายเวลามาตรการสนับสนุนเงินเยียวยาครัวเรือนไปถึงเดือนกันยายน 2565 ขณะที่เวียดนามได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 4% ของ GDP ซึ่งจะเบิกจ่ายในระหว่างปี 2565-2566 ขณะที่สปป.ลาว และเมียนมา ซึ่งเผชิญข้อจำกัดทางการคลังจะไม่สามารถออกมาตรการที่เพียงพอสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะเมียนมาซึ่งคาดว่าจะฟื้นตัวได้ช้าที่สุดเนื่องจากวิกฤตทางการเมืองในประเทศและมาตรการคว่ำบาตร (Sanctions) จากชาติตะวันตก อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่อการฟื้นตัว
ของการใช้จ่ายภายในประเทศยังคงมีอยู่จากแผลเป็นทางเศรษฐกิจจากช่วง COVID-19 เช่น อัตราการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนการระบาด COVID-19 ที่อาจปรับลดลงอย่างช้า ๆ เนื่องจากแรงงานบางกลุ่มได้ย้ายงานไปยังภาคเศรษฐกิจอื่นในช่วงการระบาด และระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น
รายประเทศ ข้อมูลจาก Google Mobility ซึ่งแสดงถึงภาวะกิจกรรมของประชากรไปร้านค้าปลีกและสถานที่นันทนาการ (Retail and Recreation) ฟื้นตัวในเกือบทุกประเทศยกเว้นเมียนมา สะท้อนถึงการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้
การจ้างงานในกลุ่มประเทศ CLMV คาดว่าจะทยอยเพิ่มสูงขึ้นตามภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ฟื้นตัวโดยเฉพาะในภาคการบริการ โดยล่าสุดอัตราการว่างงานในประเทศเวียดนามลดลงสู่ระดับ 3.6% ในไตรมาส 4 ปี 2564 จาก 4.0% ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกสำหรับการใช้จ่ายภายในประเทศ ขณะเดียวกัน ไทยก็มีแนวโน้มเปิดรับแรงงานต่างด้าวมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การส่งเงินกลับ (Remittances) กลุ่มประเทศ CLMV สูงขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ความเร็วในการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสถานะทางการคลังและสถานการณ์ภายในประเทศ โดย EIC คาดว่า กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งมีสถานะทางการคลังแข็งแรงเพียงพอ จะสามารถออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เพิ่มเติม ล่าสุดกัมพูชาได้ขยายเวลามาตรการสนับสนุนเงินเยียวยาครัวเรือนไปถึงเดือนกันยายน 2565 ขณะที่เวียดนามได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 4% ของ GDP ซึ่งจะเบิกจ่ายในระหว่างปี 2565-2566 ขณะที่สปป.ลาว และเมียนมา ซึ่งเผชิญข้อจำกัดทางการคลังจะไม่สามารถออกมาตรการที่เพียงพอสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะเมียนมาซึ่งคาดว่าจะฟื้นตัวได้ช้าที่สุดเนื่องจากวิกฤตทางการเมืองในประเทศและมาตรการคว่ำบาตร (Sanctions) จากชาติตะวันตก อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่อการฟื้นตัว
ของการใช้จ่ายภายในประเทศยังคงมีอยู่จากแผลเป็นทางเศรษฐกิจจากช่วง COVID-19 เช่น อัตราการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนการระบาด COVID-19 ที่อาจปรับลดลงอย่างช้า ๆ เนื่องจากแรงงานบางกลุ่มได้ย้ายงานไปยังภาคเศรษฐกิจอื่นในช่วงการระบาด และระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น
ด้านภาคต่างประเทศ EIC คาดว่าการส่งออกของเศรษฐกิจ CLMV จะขยายตัวได้ในอัตราที่ชะลอลงในปีนี้ ขณะที่การค้าชายแดนและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ จะได้รับอานิสงส์จากการเปิดพรมแดน ภาคการส่งออกคาดว่าจะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการคลี่คลายของปัญหาการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานและการเปิดด่านค้าชายแดนเพิ่มเติม ขณะที่อุปสงค์ต่อสินค้า CLMV ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและอุปสงค์ต่อสินค้ากลุ่ม
New Normal เช่น อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูง เวียดนามคาดว่าจะได้รับผลประโยชน์จากปัจจัยนี้มากที่สุด เนื่องจากเป็นฐานการผลิตสินค้าสำคัญของบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ข้ามชาติต่าง ๆ ซึ่งเกื้อหนุนให้การส่งออกเวียดนามขยายตัวถึง 19.0%YOY ในไตรมาส 4 ปี 2564 นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนใหม่จากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ที่เริ่มมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ซึ่งจะช่วยลดอุปสรรคทางการค้า
และการลงทุนกับประเทศคู่ค้า ทั้งนี้การขยายตัวของการส่งออกโดยรวมคาดว่าจะชะลอลงจากปีที่แล้วตามฐานที่สูงขึ้น และยังต้องเฝ้าระวังความเสี่ยงจากการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนหรือสายพันธุ์ใหม่อื่น ๆ ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงและอาจนำไปสู่การชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานอีกรอบได้ ด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามประเทศเศรษฐกิจหลักในภูมิภาคที่ฟื้นตัวและการเปิดประเทศต้อนรับผู้เดินทางโดยไม่ต้องกักตัว RCEP จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะกระตุ้นการลงทุนในภูมิภาค โดยเฉพาะในธุรกิจที่จะได้ประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจากจีนภายใต้ Belt and Road Initiative ในประเทศกัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมา ตัวอย่างเช่น โครงการรถไฟสปป.ลาว-จีน (เวียงจันทน์-บ่อเต็น) ที่แล้วเสร็จและเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ขณะที่เวียดนามยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติต่อเนื่องจากที่ตั้งที่ติดจีน กำลังแรงงานที่มีจำนวนมากและยังอายุน้อย และสนธิสัญญาการค้าเสรีกับหลายประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ ภาครัฐของกลุ่มประเทศ CLMV มีแนวโน้มที่จะเสนอสิทธิประโยชน์สำหรับนักลงทุนต่างชาติเพิ่มเติม โดยกัมพูชาได้ออกกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ในปีที่ผ่านมา เพื่อลดอุปสรรคต่อการลงทุน ขณะที่เวียดนามได้ออกสิทธิพิเศษทางภาษีชุดใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบล่าสุด ทั้งนี้การฟื้นตัวของภาคการส่งออกและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเมียนมาคาดว่าจะเป็นไปได้อย่างจำกัดตามการชะงักงันในหลายภาคเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นนักลงทุนที่ลดลงจากการคว่ำบาตรจากนานาชาติและความเสี่ยงต่อภาพลักษณ์องค์กร
New Normal เช่น อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูง เวียดนามคาดว่าจะได้รับผลประโยชน์จากปัจจัยนี้มากที่สุด เนื่องจากเป็นฐานการผลิตสินค้าสำคัญของบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ข้ามชาติต่าง ๆ ซึ่งเกื้อหนุนให้การส่งออกเวียดนามขยายตัวถึง 19.0%YOY ในไตรมาส 4 ปี 2564 นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนใหม่จากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ที่เริ่มมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ซึ่งจะช่วยลดอุปสรรคทางการค้า
และการลงทุนกับประเทศคู่ค้า ทั้งนี้การขยายตัวของการส่งออกโดยรวมคาดว่าจะชะลอลงจากปีที่แล้วตามฐานที่สูงขึ้น และยังต้องเฝ้าระวังความเสี่ยงจากการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนหรือสายพันธุ์ใหม่อื่น ๆ ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงและอาจนำไปสู่การชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานอีกรอบได้ ด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามประเทศเศรษฐกิจหลักในภูมิภาคที่ฟื้นตัวและการเปิดประเทศต้อนรับผู้เดินทางโดยไม่ต้องกักตัว RCEP จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะกระตุ้นการลงทุนในภูมิภาค โดยเฉพาะในธุรกิจที่จะได้ประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจากจีนภายใต้ Belt and Road Initiative ในประเทศกัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมา ตัวอย่างเช่น โครงการรถไฟสปป.ลาว-จีน (เวียงจันทน์-บ่อเต็น) ที่แล้วเสร็จและเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ขณะที่เวียดนามยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติต่อเนื่องจากที่ตั้งที่ติดจีน กำลังแรงงานที่มีจำนวนมากและยังอายุน้อย และสนธิสัญญาการค้าเสรีกับหลายประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ ภาครัฐของกลุ่มประเทศ CLMV มีแนวโน้มที่จะเสนอสิทธิประโยชน์สำหรับนักลงทุนต่างชาติเพิ่มเติม โดยกัมพูชาได้ออกกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ในปีที่ผ่านมา เพื่อลดอุปสรรคต่อการลงทุน ขณะที่เวียดนามได้ออกสิทธิพิเศษทางภาษีชุดใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบล่าสุด ทั้งนี้การฟื้นตัวของภาคการส่งออกและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเมียนมาคาดว่าจะเป็นไปได้อย่างจำกัดตามการชะงักงันในหลายภาคเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นนักลงทุนที่ลดลงจากการคว่ำบาตรจากนานาชาติและความเสี่ยงต่อภาพลักษณ์องค์กร
จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ากลุ่มประเทศ CLMV จะฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ในปีนี้ โดยจะเริ่มเห็นการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ในช่วงครึ่งแรกของปี EIC คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะยังคงซบเซาเนื่องจากการระบาดของสายพันธุ์
โอมิครอนและมาตรการกักตัวที่ยังคงมีอยู่ เช่น เวียดนามบังคับกักตัว 3 วัน แม้จะได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว หรือลาวที่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศผ่านการจองกรุ๊ปทัวร์เท่านั้น ในช่วงครึ่งปีหลัง EIC มองว่ามาตรการเหล่านี้จะผ่อนคลายขึ้น
ตามอัตราการฉีดวัคซีนที่ทยอยเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับความกังวลเรื่องสายพันธุ์โอมิครอนที่ลดลง ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้จำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในภูมิภาคเพิ่มขึ้น ในบรรดากลุ่มประเทศ CLMV กัมพูชาเป็นประเทศแรกที่เปิดประเทศ
โดยไม่ต้องกักตัวสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนครบโดส ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ขณะที่เวียดนามเตรียมจะเปิดประเทศในกลางเดือนมีนาคม โดยมีเงื่อนไขว่านักท่องเที่ยวยังต้องกักตัวหนึ่งวันเพื่อรอผลตรวจเชื้อ ทั้งนี้จำนวนนักท่องเที่ยวจะยังคง
อยู่ต่ำกว่าก่อนการระบาดอยู่มาก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญที่สุดสำหรับ CLMV เนื่องจากจีนมีแนวโน้มที่จะยังไม่อนุญาตให้ประชากรของตนเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวระหว่างประเทศได้ภายในปีนี้
โอมิครอนและมาตรการกักตัวที่ยังคงมีอยู่ เช่น เวียดนามบังคับกักตัว 3 วัน แม้จะได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว หรือลาวที่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศผ่านการจองกรุ๊ปทัวร์เท่านั้น ในช่วงครึ่งปีหลัง EIC มองว่ามาตรการเหล่านี้จะผ่อนคลายขึ้น
ตามอัตราการฉีดวัคซีนที่ทยอยเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับความกังวลเรื่องสายพันธุ์โอมิครอนที่ลดลง ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้จำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในภูมิภาคเพิ่มขึ้น ในบรรดากลุ่มประเทศ CLMV กัมพูชาเป็นประเทศแรกที่เปิดประเทศ
โดยไม่ต้องกักตัวสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนครบโดส ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ขณะที่เวียดนามเตรียมจะเปิดประเทศในกลางเดือนมีนาคม โดยมีเงื่อนไขว่านักท่องเที่ยวยังต้องกักตัวหนึ่งวันเพื่อรอผลตรวจเชื้อ ทั้งนี้จำนวนนักท่องเที่ยวจะยังคง
อยู่ต่ำกว่าก่อนการระบาดอยู่มาก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญที่สุดสำหรับ CLMV เนื่องจากจีนมีแนวโน้มที่จะยังไม่อนุญาตให้ประชากรของตนเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวระหว่างประเทศได้ภายในปีนี้
ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ CLMV ที่ต้องจับตามองในปี 2565 ได้แก่ 1) สถานการณ์การระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนหรือสายพันธุ์อื่น ๆ ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง 2) อัตราการฉีดวัคซีนที่ยังค่อนข้างต่ำในสปป.ลาวและเมียนมา 3) เศรษฐกิจโลก
ที่อาจฟื้นตัวช้ากว่าคาด ท่ามกลางความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่มีความเชื่อมโยงสูงกับเศรษฐกิจ CLMV 4) ราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจัยสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นและกระทบกำลังซื้อผู้บริโภค โดยเฉพาะในช่วงที่ค่าเงินของเศรษฐกิจ CLMV กำลังอ่อนค่า และ 5) เสถียรภาพทางการคลังและการเงินในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะในสปป.ลาว และเมียนมา ที่มีภาระหนี้สาธารณะสูงเทียบกับการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ ท่ามกลางภาวะการเงินโลกที่จะตึงตัวขึ้นในปีนี้ นอกจากนี้ ปัจจัยเฉพาะประเทศก็ยังคงมีความสำคัญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ เช่น สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในเมียนมาที่ยังยืดเยื้อ ซึ่งจะส่งผลให้การฟื้นตัวในเกือบทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจเป็นไปได้อย่างจำกัด
ที่อาจฟื้นตัวช้ากว่าคาด ท่ามกลางความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่มีความเชื่อมโยงสูงกับเศรษฐกิจ CLMV 4) ราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจัยสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นและกระทบกำลังซื้อผู้บริโภค โดยเฉพาะในช่วงที่ค่าเงินของเศรษฐกิจ CLMV กำลังอ่อนค่า และ 5) เสถียรภาพทางการคลังและการเงินในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะในสปป.ลาว และเมียนมา ที่มีภาระหนี้สาธารณะสูงเทียบกับการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ ท่ามกลางภาวะการเงินโลกที่จะตึงตัวขึ้นในปีนี้ นอกจากนี้ ปัจจัยเฉพาะประเทศก็ยังคงมีความสำคัญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ เช่น สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในเมียนมาที่ยังยืดเยื้อ ซึ่งจะส่งผลให้การฟื้นตัวในเกือบทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจเป็นไปได้อย่างจำกัด
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ CLMV จะเป็นปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจไทย ผ่านการส่งออกที่สูงขึ้น และเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจไทยในการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน การส่งออกไทยไปยัง CLMV คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องในอัตราที่ชะลอลง
โดยมีปัจจัยใหม่ที่ต้องจับตามอง ได้แก่ โอกาสในการส่งออกสินค้าเกษตรไปจีนผ่านทางรถไฟความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว ซึ่งคาดว่าจะลดต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่งได้สูง และการเปิดด่านค้าชายแดนเพิ่มเติม ซึ่งกระทรวงพาณิชย์คาดว่าจะเปิดเพิ่ม 12 ด่านในปีนี้ อย่างไรก็ดี ยังมีความเสี่ยงการเลื่อนการเปิดด่านค้าชายแดนออกไปหากยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 เร่งตัวขึ้นอีกครั้ง การลงทุนโดยตรงจากไทยไป CLMV มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคและมาตรการเปิดรับนักเดินทางโดยไม่ต้องกักตัว โดยเวียดนามคาดว่าจะเป็นประเทศที่มีสัดส่วนการลงทุนจากไทยสูงสุดต่อไป ขณะที่การลงทุนในเมียนมาจะซบเซาอย่างมากจากความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ นักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศ CLMV คาดว่าจะทยอยเดินทางเข้าไทยมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง เมื่อสถานการณ์การระบาดสายพันธุ์โอมิครอนเริ่มคลี่คลาย หากไทยสามารถทำข้อตกลงจับคู่การเดินทางระหว่างประเทศ (Travel Bubbles) กับประเทศในกลุ่ม CLMV ได้ก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยบวกต่อภาคการท่องเที่ยวไทยในปีนี้โดยเฉพาะผู้เดินทางผ่านด่านชายแดน อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายที่สูงในการตรวจเชื้อ COVID-19 และการทำประกันการท่องเที่ยวจะเป็นปัจจัยกดดันการฟื้นตัวของตลาดนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศ CLMV สำหรับสถานการณ์แรงงานต่างด้าวจาก CLMV ในปีนี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามโอกาสการจ้างงานในไทยที่สูงขึ้น มาตรการกักตัวที่คาดว่าจะผ่อนคลายลง และนโยบายการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวให้เข้าสู่ระบบการจ้างงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยการจ้างแรงงานจากประเทศกัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมาในไทยซบเซาต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 ที่ประมาณ 2.16 ล้านคน ต่ำกว่าระดับก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 ที่ประมาณ 2.7 ล้านคน ซึ่งหากปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวยังยืดเยื้อต่อไป อาจนำไปสู่ค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น และกระทบต่อผลประกอบการธุรกิจไทยในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว
โดยมีปัจจัยใหม่ที่ต้องจับตามอง ได้แก่ โอกาสในการส่งออกสินค้าเกษตรไปจีนผ่านทางรถไฟความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว ซึ่งคาดว่าจะลดต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่งได้สูง และการเปิดด่านค้าชายแดนเพิ่มเติม ซึ่งกระทรวงพาณิชย์คาดว่าจะเปิดเพิ่ม 12 ด่านในปีนี้ อย่างไรก็ดี ยังมีความเสี่ยงการเลื่อนการเปิดด่านค้าชายแดนออกไปหากยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 เร่งตัวขึ้นอีกครั้ง การลงทุนโดยตรงจากไทยไป CLMV มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคและมาตรการเปิดรับนักเดินทางโดยไม่ต้องกักตัว โดยเวียดนามคาดว่าจะเป็นประเทศที่มีสัดส่วนการลงทุนจากไทยสูงสุดต่อไป ขณะที่การลงทุนในเมียนมาจะซบเซาอย่างมากจากความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ นักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศ CLMV คาดว่าจะทยอยเดินทางเข้าไทยมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง เมื่อสถานการณ์การระบาดสายพันธุ์โอมิครอนเริ่มคลี่คลาย หากไทยสามารถทำข้อตกลงจับคู่การเดินทางระหว่างประเทศ (Travel Bubbles) กับประเทศในกลุ่ม CLMV ได้ก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยบวกต่อภาคการท่องเที่ยวไทยในปีนี้โดยเฉพาะผู้เดินทางผ่านด่านชายแดน อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายที่สูงในการตรวจเชื้อ COVID-19 และการทำประกันการท่องเที่ยวจะเป็นปัจจัยกดดันการฟื้นตัวของตลาดนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศ CLMV สำหรับสถานการณ์แรงงานต่างด้าวจาก CLMV ในปีนี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามโอกาสการจ้างงานในไทยที่สูงขึ้น มาตรการกักตัวที่คาดว่าจะผ่อนคลายลง และนโยบายการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวให้เข้าสู่ระบบการจ้างงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยการจ้างแรงงานจากประเทศกัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมาในไทยซบเซาต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 ที่ประมาณ 2.16 ล้านคน ต่ำกว่าระดับก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 ที่ประมาณ 2.7 ล้านคน ซึ่งหากปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวยังยืดเยื้อต่อไป อาจนำไปสู่ค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น และกระทบต่อผลประกอบการธุรกิจไทยในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว
บทวิเคราะห์จากเว็บไซต์ EIC …https://www.scbeic.com/th/detail/product/8153
ปัณณ์ พัฒนศิริ, นักวิเคราะห์, Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ดร. ชินวุฒิ์ เตชานุวัตร์, ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ และตลาดการเงิน, Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
EIC Online: www.scbeic.com