
ดีแทคปล่อยคลิปวิดีโอสุดปัง #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา ปลุกกระแส “การบูลลี่ไม่เคยเป็นเรื่องตลก”
25 ม.ค. 2022
เพราะการกลั่นเเกล้งกันหรือการบูลลี่ ไม่ใช่เรื่องตลก หรือหากปล่อยให้เกิดขึ้นแล้ว แค่มองผ่านหรือลืมไปก็จบ
แต่หลายครั้งที่การบูลลี่ เพื่อความสนุกสนานของคนบางคน อาจกำลังสร้างบาดแผลลึกในใจให้กับใครหลายคนโดยไม่รู้ตัว
แต่หลายครั้งที่การบูลลี่ เพื่อความสนุกสนานของคนบางคน อาจกำลังสร้างบาดแผลลึกในใจให้กับใครหลายคนโดยไม่รู้ตัว
ตั้งแต่สูญเสียความมั่นใจ ความเคารพในตัวเอง ไปจนถึงเป็นต้นเหตุของภาวะซึมเศร้า และอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด..
พอเป็นแบบนี้ เพื่อตัดวงจรของการบูลลี่ ที่ไม่เพียงอยู่คู่สังคมไทยมานาน แต่ยังขยายวงไปสู่การบูลลี่บนโลกออนไลน์ หรือ ไซเบอร์บูลลี่ (Cyberbully)
ที่กำลังเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ ตั้งแต่การคอมเมนต์ด้วยข้อความหยาบคาย การเอาเรื่องไม่ดีของคนอื่นมาโพสต์ประจาน ไปจนถึงเฟกนิวส์ หรือการใช้แอคหลุมหรือบัญชีปลอม เป็นต้น
ที่กำลังเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ ตั้งแต่การคอมเมนต์ด้วยข้อความหยาบคาย การเอาเรื่องไม่ดีของคนอื่นมาโพสต์ประจาน ไปจนถึงเฟกนิวส์ หรือการใช้แอคหลุมหรือบัญชีปลอม เป็นต้น
ดีแทค เลยลุกขึ้นมาสร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่
ด้วยการเปิดตัวคลิปวิดีโอ “บูลลี่ไม่ใช่เรื่องตลก” ที่ผลิตโดย Salmon House ออกมาเขย่าโลกโซเชียล เพื่อปลุกกระแส #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา
ด้วยการเปิดตัวคลิปวิดีโอ “บูลลี่ไม่ใช่เรื่องตลก” ที่ผลิตโดย Salmon House ออกมาเขย่าโลกโซเชียล เพื่อปลุกกระแส #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา
>ชมคลิป “บูลลี่ไม่ใช่เรื่องตลก” https://www.facebook.com/salmonhousetv/posts/4735710336517458
หลังจากเปิดตัวออกมาไม่ทันไร คลิปดังกล่าวก็กลายเป็นไวรัล และยังทำให้แฮชแท็ก #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ มียอดทวีตแฮชแท็กนี้กว่า 2 แสนครั้ง
หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้คลิปวิดีโอนี้กลายเป็นที่พูดถึง ชนิดที่ว่า “ถ้าไม่ดูอาจจะคุยกับเพื่อนไม่รู้เรื่อง”
เพราะเนื้อหาของคลิปขยี้ปมการบูลลี่ได้อย่างถึงแก่น
พาทุกคนย้อนไปสู่หนึ่งในจุดเริ่มต้นของการบูลลี่ อย่างตลกคาเฟ ที่มักนำจุดด้อยของคนอื่นอย่าง รูปร่าง เพศสภาพ หรือแม้แต่ความเจ็บป่วย มาล้อเลียน เพราะมองว่าเป็นเรื่องตลก
เพราะเนื้อหาของคลิปขยี้ปมการบูลลี่ได้อย่างถึงแก่น
พาทุกคนย้อนไปสู่หนึ่งในจุดเริ่มต้นของการบูลลี่ อย่างตลกคาเฟ ที่มักนำจุดด้อยของคนอื่นอย่าง รูปร่าง เพศสภาพ หรือแม้แต่ความเจ็บป่วย มาล้อเลียน เพราะมองว่าเป็นเรื่องตลก
ทั้งที่จริงแล้ว การบูลลี่ไม่เคยเป็นสิ่งที่ตลกแม้แต่น้อย แถมยังเป็นการสร้างความรู้สึกที่แสนขมขื่นให้ผู้ที่ถูกกระทำอย่างที่คาดไม่ถึง
หนึ่งในคำถามที่หลายคนอาจจะสงสัย คือ แล้วทำไม ดีแทค ต้องสนใจเรื่องไซเบอร์บูลลี่ และเล่นใหญ่เพียงนี้ ?
นั่นก็เพราะ ดีแทค มองว่าตัวเองเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการโทรคมนาคมและเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศอินเทอร์เน็ตไทย
ที่ต้องมีความรับผิดชอบในการสร้างวัฒนธรรมที่ดีบนโลกออนไลน์ ให้เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยและสบายใจของทุกคน
ที่ต้องมีความรับผิดชอบในการสร้างวัฒนธรรมที่ดีบนโลกออนไลน์ ให้เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยและสบายใจของทุกคน
ซึ่งหลายคนอาจจะไม่ทันสังเกตว่า ดีแทคไม่ได้เพิ่งมารณรงค์ให้ยุติการไซเบอร์บูลลี่
แต่ดีแทคเป็นแบรนด์บุกเบิก (Pioneering Brand) ที่ลุกขึ้นมาทำเรื่องนี้อย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2012 ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 9 ปี
แต่ดีแทคเป็นแบรนด์บุกเบิก (Pioneering Brand) ที่ลุกขึ้นมาทำเรื่องนี้อย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2012 ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 9 ปี
โดย #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา เป็นส่วนหนึ่งของบิ๊กโปรเจกต์อย่าง dtac Safe Internet
ที่มีเป้าหมาย เพื่อสร้างทักษะและภูมิคุ้มกันแก่เด็กและเยาวชน ให้สามารถท่องโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย เหมาะสม
ควบคู่ไปกับการติดอาวุธความรู้และทักษะที่จำเป็นแก่ตัวเด็กเเละบุคคลที่อยู่ใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็น ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง
ที่มีเป้าหมาย เพื่อสร้างทักษะและภูมิคุ้มกันแก่เด็กและเยาวชน ให้สามารถท่องโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย เหมาะสม
ควบคู่ไปกับการติดอาวุธความรู้และทักษะที่จำเป็นแก่ตัวเด็กเเละบุคคลที่อยู่ใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็น ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง
และเพราะดีแทครู้ดีว่า ภารกิจนี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ หรือเป็นเพียงกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ที่ทำเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้แบรนด์แล้วผ่านไป
แต่ถ้าอยากเห็นผล นำไปสู่การสร้างบรรทัดฐานใหม่ บ่มเพาะวัฒนธรรมออนไลน์ที่คนรุ่นเราอยากเห็น
นอกจากจะต้องจริงจังและเล่นใหญ่
ที่ขาดไม่ได้คือ ต้องได้รับแรงสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในสังคม
นอกจากจะต้องจริงจังและเล่นใหญ่
ที่ขาดไม่ได้คือ ต้องได้รับแรงสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในสังคม
นี่เลยเป็นที่มาของการเปิดตัวแพลตฟอร์มระดมไอเดียครั้งใหญ่ครั้งแรก ผ่าน Crowdsourcing platform
เพื่อให้กลุ่ม Gen Z มาร่วมสะท้อนมุมมอง แสดงความคิดเห็น และหาทางออก เมื่อเดือนมิถุนายน ปีที่แล้ว
เพื่อให้กลุ่ม Gen Z มาร่วมสะท้อนมุมมอง แสดงความคิดเห็น และหาทางออก เมื่อเดือนมิถุนายน ปีที่แล้ว
ผลปรากฏว่าได้รับความสนใจจากเด็ก Gen Z กว่า 2 แสนคน
มาร่วมแลกเปลี่ยนและส่งต่อข้อความกว่า 1.44 ล้านคน
สามารถระดมไอเดียเกี่ยวกับการหยุดไซเบอร์บูลลี่ได้ 782 ไอเดีย
มาร่วมแลกเปลี่ยนและส่งต่อข้อความกว่า 1.44 ล้านคน
สามารถระดมไอเดียเกี่ยวกับการหยุดไซเบอร์บูลลี่ได้ 782 ไอเดีย
โดยดีแทคได้นำไอเดียดังกล่าว มาตกผลึกร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
นำข้อเสนอมาเขียนเป็นแนวปฏิบัติในการแก้ปัญหาไซเบอร์บูลลี่ จนกลายมาเป็น “คู่มือให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา” เล่มแรกของเมืองไทย และมี “สัญญาใจ” จำนวน 23 ข้อ ประกอบด้วย 4 หมวด ครอบคลุมตั้งแต่
นิยามคำศัพท์เกี่ยวกับการบูลลี่ทุกรูปแบบ ข้อห้ามในการไซเบอร์บูลลี่ผู้อื่น การเจาะลึกพฤติกรรมต้องห้ามการไซเบอร์บูลลี่
นำข้อเสนอมาเขียนเป็นแนวปฏิบัติในการแก้ปัญหาไซเบอร์บูลลี่ จนกลายมาเป็น “คู่มือให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา” เล่มแรกของเมืองไทย และมี “สัญญาใจ” จำนวน 23 ข้อ ประกอบด้วย 4 หมวด ครอบคลุมตั้งแต่
นิยามคำศัพท์เกี่ยวกับการบูลลี่ทุกรูปแบบ ข้อห้ามในการไซเบอร์บูลลี่ผู้อื่น การเจาะลึกพฤติกรรมต้องห้ามการไซเบอร์บูลลี่
เช่น ห้ามทำให้ผู้อื่นเสียเซลฟ์ด้วยการคอมเมนต์ภาพถ่าย ห้ามบูลลี่เรื่องรูปร่างหรือน้ำหนัก
โดยผู้ที่บูลลี่จะได้รับโทษหนักขึ้น หากเป็นคนถ่ายภาพนั้น หรือไปทานหมูกระทะด้วยกัน หรือผู้กระทำการบูลลี่ที่เป็นครู
โดยผู้ที่บูลลี่จะได้รับโทษหนักขึ้น หากเป็นคนถ่ายภาพนั้น หรือไปทานหมูกระทะด้วยกัน หรือผู้กระทำการบูลลี่ที่เป็นครู
นอกจากนี้ ยังมีบทที่รวบรวมวิธีการรับมือการถูกไซเบอร์บูลลี่ เเละมาตรการการเเก้ปัญหาการไซเบอร์บูลลี่เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบ
เช่น พ่อเเม่ต้องฟังปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกอย่างใส่ใจ เพื่อนที่รับฟังจะได้เเต่งตั้งเป็นที่พึ่งทางใจ (Safe zone)
เช่น พ่อเเม่ต้องฟังปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกอย่างใส่ใจ เพื่อนที่รับฟังจะได้เเต่งตั้งเป็นที่พึ่งทางใจ (Safe zone)
นอกจากนี้ยังมีมาตรการลงโทษผู้กระทำเเละเยียวยาผู้ที่ถูกกระทำ เช่น มีกฎหมายหรือบทลงโทษที่ชัดเจน มีช่องทางการรับฟังหรือให้คำปรึกษาผู้ถูกกระทำ
ที่น่าสนใจคือ แม้มองผิวเผินสัญญาใจนี้ จะหน้าตาไม่ต่างจากข้อบัญญัติกฎหมาย ที่มีการแบ่งเป็นหมวดหมู่
แต่สัญญาใจฉบับนี้ กลับทำออกมาให้อ่านง่าย ด้วยการใช้ภาษาแบบคนรุ่นใหม่ เข้าใจง่าย อ่านแล้วสามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที
แต่สัญญาใจฉบับนี้ กลับทำออกมาให้อ่านง่าย ด้วยการใช้ภาษาแบบคนรุ่นใหม่ เข้าใจง่าย อ่านแล้วสามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที
ที่สำคัญ ไม่ได้ทำออกมาเก๋ ๆ เท่านั้น
แต่ดีเเทคจะนำสัญญาใจนี้ไปยื่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับฟังเสียงเด็กรุ่นใหม่เเละนำไปแก้ปัญหาต่อไป
แต่ดีเเทคจะนำสัญญาใจนี้ไปยื่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับฟังเสียงเด็กรุ่นใหม่เเละนำไปแก้ปัญหาต่อไป
เอาเป็นว่า ใครที่อยากรู้ว่าสัญญาใจที่กลั่นออกมาจากใจ Gen Z เพื่อสร้างบรรทัดฐานใหม่ หยุดการไซเบอร์บูลลี่ จะหน้าตาเป็นอย่างไร อ่านสนุกสมคำร่ำลือหรือไม่ ตามไปอ่านสัญญาใจฉบับเต็มได้ที่ https://www.safeinternetlab.com/brave/agreement