บริษัทญี่ปุ่น อวดโฉม “โดรน 2 in 1” ใช้ได้ทั้งบนอากาศ และใต้น้ำ ตัวแรกของโลก
24 ม.ค. 2022
เมื่อไม่นานมานี้ KDDI Corporation บริษัทโทรคมนาคมของญี่ปุ่น ร่วมกับบริษัท Prodrone ผู้ผลิตโดรนเชิงพาณิชย์ และบริษัท QYSEA ผู้สร้างหุ่นยนต์ใต้น้ำ
ได้ร่วมมือกันสร้างโดรนเชิงพาณิชย์ตัวแรกของโลก ที่สามารถบินบนอากาศ และดำลงไปใต้น้ำได้
ได้ร่วมมือกันสร้างโดรนเชิงพาณิชย์ตัวแรกของโลก ที่สามารถบินบนอากาศ และดำลงไปใต้น้ำได้
โดยเปิดตัวพร้อมขึ้นบินโชว์ครั้งแรกที่สวนสนุก Hakkeijima Sea Paradise ในจังหวัดโยโกฮามะ ประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งโครงการนี้ มีความคิดริเริ่มมาจาก KDDI ในการพยายามที่จะรวมเครือข่ายการสื่อสารเคลื่อนที่ขั้นสูง เข้ากับเทคโนโลยีโดรน ที่จะมีระยะทางและความยาวในการบินที่มากขึ้น ในขณะที่ยังบังคับโดรนได้
ส่วนจุดประสงค์ของโดรนสะเทินน้ำสะเทินอากาศ (Sea-Air Integrated Drone) นี้
จัดทำขึ้นมาเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานทางอากาศ และการจัดการทางทะเลให้มีความทันสมัย, มีประสิทธิภาพ และสามารถลดกำลังคนได้มากขึ้น
จัดทำขึ้นมาเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานทางอากาศ และการจัดการทางทะเลให้มีความทันสมัย, มีประสิทธิภาพ และสามารถลดกำลังคนได้มากขึ้น
โดยปกติแล้ว เราอาจคุ้นชิ้นกับโดรนบนอากาศอยู่แล้ว แต่เจ้าโดรนตัวนี้มีความพิเศษด้วยเทคโนโลยี “FIFISH PRO V6 PLUS ROV” ซึ่งเป็นโดรนใต้น้ำของบริษัท QYSEA เข้ามาทำให้สามารถทำงานใต้น้ำได้ด้วย
ทั้งนี้ ตัวโดรนจะสามารถทำงานจากระยะไกลเพื่อบินไปยังเส้นทางที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในทะเล
และหลังจากลงจอดในตำแหน่งที่กำหนด เทคโนโลยีโดรนใต้น้ำ หรือ “FIFISH ROV” จะถูกปล่อยลงไปใต้น้ำ ด้วยการคอยควบคุมจากระยะไกล (Remote Control) ทำให้เราสามารถดำเนินการตรวจสอบ, บำรุงรักษา และซ่อมแซมอุปกรณ์ หรือเครื่องมือใต้น้ำได้
และหลังจากลงจอดในตำแหน่งที่กำหนด เทคโนโลยีโดรนใต้น้ำ หรือ “FIFISH ROV” จะถูกปล่อยลงไปใต้น้ำ ด้วยการคอยควบคุมจากระยะไกล (Remote Control) ทำให้เราสามารถดำเนินการตรวจสอบ, บำรุงรักษา และซ่อมแซมอุปกรณ์ หรือเครื่องมือใต้น้ำได้
นอกจากนี้ โดรนยังสามารถส่งภาพแบบเรียลไทม์, เครื่องมือสุ่มตัวอย่าง, การวัดมาตรต่าง ๆ และเครื่องมือจัดการอื่น ๆ
รวมถึงสามารถถ่ายทอดสดระหว่างการปฏิบัติงานสำหรับการทำงานร่วมกันหลายคนได้
รวมถึงสามารถถ่ายทอดสดระหว่างการปฏิบัติงานสำหรับการทำงานร่วมกันหลายคนได้
และคาดว่าโดรนตัวนี้จะมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมทางทะเล และสำหรับพลังงานลม (กังหันลม) นอกชายฝั่ง
ตัวโดรนยังสามารถตรวจสอบ และบำรุงรักษาโครงสร้างและฐานรากได้
ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของมนุษย์ ที่ต้องเดินทางออกไปกลางทะเลได้อย่างมาก
ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของมนุษย์ ที่ต้องเดินทางออกไปกลางทะเลได้อย่างมาก
ซึ่งนี่ก็นับเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยี ที่จำทำให้อุตสาหกรรมทางบกและทางทะเล มีความยั่งยืนมากขึ้น เนื่องจากโดรนก็ใช้พลังงานน้อยกว่าการเดินเรือ หรือเครื่องบิน ทำให้เทคโนโลยีนี้กลายเป็นอีกหนึ่งหนทางที่เข้ามาตอบโจทย์ในเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ได้
รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของคนที่ต้องไปปฏิบัติงานในพื้นที่นั้น ๆ ด้วยนั่นเอง
รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของคนที่ต้องไปปฏิบัติงานในพื้นที่นั้น ๆ ด้วยนั่นเอง
อ้างอิง:
-https://www.designboom.com/technology/sea-air-drone-redefines-offshore-marine-operations-01-21-2022/
-https://www.trendhunter.com/trends/seaair-integrated-drone
-https://www.designboom.com/technology/sea-air-drone-redefines-offshore-marine-operations-01-21-2022/
-https://www.trendhunter.com/trends/seaair-integrated-drone
Tag:โดรน