ขยะจากธุรกิจ Delivery กำลังใหญ่ขึ้นทุกวัน
17 มิ.ย. 2019
หากจะถามว่าในแต่ละวันคนไทยทิ้งขยะปริมาณเท่าไร ?
คำตอบที่เป็นข้อมูลล่าสุดจากกรมควบคุมมลพิษระบุว่าในปี 2561 คนไทยทิ้งขยะรวมกันเฉลี่ยอยู่ที่ 76,164 ตัน/วัน
ความน่าสนใจอยู่ที่ว่าค่าเฉลี่ยการทิ้งขยะต่อวัน กำลังมีเส้นกราฟสูงขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆ ปี เพราะหากเราย้อนไปดูสถิติปี 2554 ปริมาณการทิ้งขยะคนไทยใน 1 วันรวมกันแค่ 43,779 ตัน
เป็นตัวเลขที่น่าตกใจเพราะระยะเวลา 7 ปีค่าเฉลี่ยการทิ้งขยะของคนไทยใน 1 วันเพิ่มขึ้นถึง 32,385 ตันเลยทีเดียว
แม้ขยะจะมาจากหลายสถานที่ แต่มีหนึ่งแหล่งที่กำลังสร้างปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี
ก็คือกลุ่มธุรกิจ “ส่งพัสดุ และ ส่งอาหาร”
ก็คือกลุ่มธุรกิจ “ส่งพัสดุ และ ส่งอาหาร”
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด ให้ข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจในปี 2560 ยอดส่งพัสดุทั้งแบบธรรมดาและ EMS เฉลี่ยอยู่ที่ 1 ล้านชิ้น/วัน เติบโต 15 - 20%
แกร็บ ประเทศไทย หนึ่งในผู้ให้บริการ Delivery อาหาร เผยว่า 4 เดือนแรก ในปี 2562 มียอดสั่งอาหารรวมแล้วทั้งสิ้นกว่า 4 ล้านกว่าออเดอร์
แค่ 4 เดือนในปีนี้ แกร็บ ประเทศไทย มียอดสั่งอาหาร Delivery มากกว่าทั้งปี 2561 ที่มียอดการสั่งอาหารแค่ 3 ล้านออเดอร์
พอมองเห็นได้ว่าจำนวนขยะใน 2 กลุ่มธุรกิจขนส่งนี้กำลังเติบโตขึ้นทุกปี
และขึ้นชื่อว่า “ขยะ” ก็ต้องส่งผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อม
และขึ้นชื่อว่า “ขยะ” ก็ต้องส่งผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อม
กล่องกระดาษที่มาจากการส่งพัสดุ เมื่อผู้รับได้สินค้าข้างในก็มักจะทิ้งกล่องลงถังขยะ จนกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะเชื้อโรค
ในขณะที่การสั่งอาหาร Delivery ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมของคนเมืองเวลานี้ ก็ก่อให้เกิดปัญหาขยะเช่นกัน
ลองมาดูตัวอย่างกัน
สมมติว่าเราสั่ง ก๋วยเตี๋ยวน้ำ 1 ที่ ขยะที่เราได้อาจจะ 5 ชิ้น 1. ถุงใส่เส้น 2.ถุงใส่น้ำซุป 3. ถุงใส่เครื่องปรุง 4.ซองใส่ตะเกียบ และ 5. ถุงพลาสติกถุงหิ้ว
สมมติว่าเราสั่ง ก๋วยเตี๋ยวน้ำ 1 ที่ ขยะที่เราได้อาจจะ 5 ชิ้น 1. ถุงใส่เส้น 2.ถุงใส่น้ำซุป 3. ถุงใส่เครื่องปรุง 4.ซองใส่ตะเกียบ และ 5. ถุงพลาสติกถุงหิ้ว
และหากนำเอาเมนูก๋วยเตี๋ยวเป็นมาตรฐานในการสร้างจำนวนขยะ 5 ชิ้น สมมติว่าใน 1 ปีเมืองไทยมียอดออเดอร์การสั่งอาหาร Delivery ประมาณ 40 ล้านเมนูต่อปี
นั้นหมายความว่าจะมีขยะที่มาจากธุรกิจนี้ถึง 200 ล้านชิ้นต่อปีเลยทีเดียว
เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ จะแก้ปัญหาที่ใคร เจ้าของธุรกิจ หรือ ผู้บริโภค ?
ถ้าจะบอกว่าทั้ง 2 ฝ่าย คงน่าจะเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
ต้นทางขยะอย่างเจ้าของร้านอาหาร อาจต้องหาแพ็กเกจจิงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างเช่น ช้อน ชาม ที่ทำมาจากชานอ้อยแทนการใช้ชามหรือถ้วยพลาสติกที่ใช้เวลาย่อยสลาย 450 ปี ส่วนบริษัทผู้ส่งพัสดุอาจต้องคิดค้นกล่องกระดาษที่เป็น ECOPACK
ส่วนในมุมผู้บริโภคเองการสั่งอาหารอาจระบุไปที่ร้านว่าไม่รับช้อน ซ้อม และใช้ของที่บ้านแทนและเมื่อทานเสร็จแล้วก็ควรแยกประเภทขยะทิ้งชัดเจน
ส่วนกล่องพัสดุก็ควรนำกลับมาใช้เวียนส่งหลายรอบ ที่นอกจากจะช่วยลดจำนวนกล่องในตลาดแล้วนั้น ยังประหยัดเงินในกระเป๋าเราอีก
และก็ยังมีอีกหลายวิธีที่จะช่วยลดปริมาณขยะไม่ให้เพิ่มมากขึ้นไปกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นทางฝั่งเจ้าของธุรกิจและผู้บริโภค
ซึ่งหากเราไม่เริ่มทำในวันนี้ และยังคิดว่าสารพัดขยะที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งไกลตัวไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตเรา
เมื่อวันใดวันหนึ่งภาพสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติที่สวยงาม แปรเปลี่ยนเป็นภาพที่สกปรกทรุดโทรม
วันนั้นเราอาจไม่สามารถขอคืนสิ่งแวดล้อมดีๆ กลับคืนมาจากใครได้เลย
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
Reference : thaipbs - กรมควบคุมมลพิษ - บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด
Reference : thaipbs - กรมควบคุมมลพิษ - บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด