ทำไมบางแบรนด์ ถึงชอบโฆษณาเยอะ ๆ ให้ผู้บริโภคเห็นแบบถี่ ๆ
15 ม.ค. 2022
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ยุคนี้คือยุคแห่งดิจิทัล และการโฆษณา
ที่ไม่ว่าเราจะมองไปทางไหน ทุกอย่างรอบตัวก็ดูจะเป็นโฆษณาไปหมด.. ไม่ว่าจะโลกออฟไลน์หรือออนไลน์
ที่ไม่ว่าเราจะมองไปทางไหน ทุกอย่างรอบตัวก็ดูจะเป็นโฆษณาไปหมด.. ไม่ว่าจะโลกออฟไลน์หรือออนไลน์
และที่สำคัญบางแบรนด์ก็ดูเหมือนโผล่ไปทุกที่ จนบางคนก็เริ่มรู้สึกว่า มันเยอะไปหรือเปล่า ?
แต่จริง ๆ แล้วการโฆษณาถี่ ๆ นี่แหละ กลับเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดการซื้อหรือใช้บริการ
แต่จริง ๆ แล้วการโฆษณาถี่ ๆ นี่แหละ กลับเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดการซื้อหรือใช้บริการ
แล้วทำไมจึงเป็นแบบนั้น ?
อย่างแรกคือ เป็นการทำให้แบรนด์ของเราอยู่ในสายตาผู้บริโภคตลอดเวลา
เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ได้เสมอ เพราะทุกวันนี้มีสินค้าและบริการใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอด
หากแบรนด์ขาดการโฆษณาจนไม่อยู่ในสายตาผู้บริโภคแล้ว ก็อาจทำให้ผู้บริโภคลืมแบรนด์ของเราไป
เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ได้เสมอ เพราะทุกวันนี้มีสินค้าและบริการใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอด
หากแบรนด์ขาดการโฆษณาจนไม่อยู่ในสายตาผู้บริโภคแล้ว ก็อาจทำให้ผู้บริโภคลืมแบรนด์ของเราไป
โดยเฉพาะแบรนด์ที่เพิ่งเปิดตัวได้ไม่นาน การทำโฆษณาในหลาย ๆ ที่พร้อม ๆ กัน
ก็จะช่วยให้ผู้บริโภคมองเห็น รับรู้ และช่วยให้จดจำแบรนด์ได้ดียิ่งขึ้น
ก็จะช่วยให้ผู้บริโภคมองเห็น รับรู้ และช่วยให้จดจำแบรนด์ได้ดียิ่งขึ้น
อย่างต่อมาคือ โฆษณาช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อได้
เคยไหมที่เราค้นหาคำบางคำในอินเทอร์เน็ต แล้วหลังจากนั้นเราก็จะเห็นโฆษณาสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับคำคำนั้น หรือสิ่งที่เรากำลังสนใจ บนหน้าไทม์ไลน์ของโซเชียลมีเดียทุกที่
และบางคนที่พอเห็นสินค้าบ่อย ๆ เข้า ก็ตัดสินใจซื้อในที่สุด..
เคยไหมที่เราค้นหาคำบางคำในอินเทอร์เน็ต แล้วหลังจากนั้นเราก็จะเห็นโฆษณาสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับคำคำนั้น หรือสิ่งที่เรากำลังสนใจ บนหน้าไทม์ไลน์ของโซเชียลมีเดียทุกที่
และบางคนที่พอเห็นสินค้าบ่อย ๆ เข้า ก็ตัดสินใจซื้อในที่สุด..
สิ่งนี้สอดคล้องกับสิ่งที่เราเรียกว่า Zero Moment of Truth ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Moment of Truth
หรือก็คือช่วงเวลาหนึ่ง ที่ลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์ กับแบรนด์สินค้าและบริการ ในทางใดทางหนึ่ง
หรือก็คือช่วงเวลาหนึ่ง ที่ลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์ กับแบรนด์สินค้าและบริการ ในทางใดทางหนึ่ง
โดย Zero Moment of Truth คือขั้นตอนก่อนที่ลูกค้าจะเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์
หรือให้เปรียบเทียบง่าย ๆ ก็คือขั้นตอนในการหาข้อมูลของสิ่งที่เรากำลังสนใจ หรือกำลังจะซื้อ
นั่นเท่ากับว่าจริง ๆ แล้ว ตัวเราก็สนใจสินค้าหรือบริการ และคิดอยากจะซื้อประมาณหนึ่งแล้ว
หรือให้เปรียบเทียบง่าย ๆ ก็คือขั้นตอนในการหาข้อมูลของสิ่งที่เรากำลังสนใจ หรือกำลังจะซื้อ
นั่นเท่ากับว่าจริง ๆ แล้ว ตัวเราก็สนใจสินค้าหรือบริการ และคิดอยากจะซื้อประมาณหนึ่งแล้ว
พอเรื่องเป็นแบบนี้ หลายแบรนด์จึงอยากจะนำตัวเองเข้าไปอยู่ใน Zero Moment of Truth ของผู้บริโภค
เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคมองเห็นแบรนด์ แล้วกลายเป็นตัวเลือกแรก ๆ ในการตัดสินใจซื้อ
เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคมองเห็นแบรนด์ แล้วกลายเป็นตัวเลือกแรก ๆ ในการตัดสินใจซื้อ
ซึ่งสิ่งนี้ก็จะไปสอดคล้องกับปรากฏการณ์ชื่อ Frequency Illusion หรือก็คือ ปรากฏการณ์ที่เมื่อมีคนพูดถึงเรื่องบางอย่างให้เราฟัง หรือเราได้มองเห็นโฆษณาบางอย่างแบบไม่ตั้งใจเพียงครั้งเดียว
แต่หลังจากนั้นเราก็รู้สึกว่า เราเห็นสิ่งนั้นไปทุกที่ ไม่ว่าจะไปที่ไหน จนทำให้เรามีความเชื่อว่า สิ่งนี้กำลังเชื่อมโยงกับชีวิตของเรา
แต่หลังจากนั้นเราก็รู้สึกว่า เราเห็นสิ่งนั้นไปทุกที่ ไม่ว่าจะไปที่ไหน จนทำให้เรามีความเชื่อว่า สิ่งนี้กำลังเชื่อมโยงกับชีวิตของเรา
และเมื่อเราเริ่มรู้สึกว่าสิ่งนี้เกี่ยวโยงกับชีวิตของเรา ก็อาจจะกลายเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้าได้
เช่น เราไม่เคยคิดจะลงทุนมาก่อน แต่แล้ววันหนึ่งบังเอิญไปเจอโฆษณาเกี่ยวกับการลงทุนเข้า
แล้วหลังจากนั้นเราก็เริ่มรู้สึกว่า การลงทุนมันอยู่ทุกที่รอบตัวเรา จนทำให้เรารู้สึกว่า
ใคร ๆ ก็ลงทุนกัน ทำไมเราไม่ลงทุนบ้างล่ะ
เช่น เราไม่เคยคิดจะลงทุนมาก่อน แต่แล้ววันหนึ่งบังเอิญไปเจอโฆษณาเกี่ยวกับการลงทุนเข้า
แล้วหลังจากนั้นเราก็เริ่มรู้สึกว่า การลงทุนมันอยู่ทุกที่รอบตัวเรา จนทำให้เรารู้สึกว่า
ใคร ๆ ก็ลงทุนกัน ทำไมเราไม่ลงทุนบ้างล่ะ
ไม่เพียงเท่านั้น เพราะเมื่อพอเรารู้สึกว่าสินค้าหรือบริการนั้น เชื่อมโยงกับตัวเราแล้ว
แน่นอนว่าหากเราจะซื้อของที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรารู้สึกเชื่อมโยง เราก็จะนึกถึงแบรนด์ที่เห็นในโฆษณาขึ้นมาเป็นอันดับแรก ๆ ในทันที เรียกได้ว่ารวดเร็วราวกับมี Pop-up ขึ้นมาในหัวอัตโนมัติ
แน่นอนว่าหากเราจะซื้อของที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรารู้สึกเชื่อมโยง เราก็จะนึกถึงแบรนด์ที่เห็นในโฆษณาขึ้นมาเป็นอันดับแรก ๆ ในทันที เรียกได้ว่ารวดเร็วราวกับมี Pop-up ขึ้นมาในหัวอัตโนมัติ
นอกจากนี้ หากเราได้มีโอกาสไปเดินซื้อของ แล้วเจอสินค้าที่โฆษณาบ่อย ๆ ก็เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ที่จะสงสัยใคร่รู้ ว่าสินค้าหรือบริการที่เราเห็นในโฆษณาบ่อย ๆ มีดีอย่างไร
จนรู้ตัวอีกที เราอาจจะไปยืนอ่านฉลากสินค้านั้นในซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งก็แน่นอนว่าเพียงแค่หยิบขึ้นมาดู หรือเพียงแค่เดินผ่านแล้วรู้สึกเตะตาเพราะตรงกับภาพจำในสมอง ก็ย่อมช่วยเพิ่มโอกาสในการซื้อได้ไม่น้อยเลย
และอีกเรื่องที่มีส่วนทำให้การโฆษณาบ่อย ๆ ได้ผล ก็คือ พฤติกรรม FOMO (Fear of Missing Out) หรือก็คือกลุ่มคนที่กลัวจะพลาดกระแส หรือเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้น
ยกตัวอย่างเทรนด์ในช่วงนี้ คงจะหนีไม่พ้น “บิตคอยน์” และ “คริปโทเคอร์เรนซี” ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนกำลังให้ความสนใจ และแอปพลิเคชันเทรดต่าง ๆ ในบ้านเรา ก็พยายามประโคมโฆษณาไปทั่วเมือง จนมองไปทางไหน เราก็เห็นแต่แอปพลิเคชันสำหรับเทรดบิตคอยน์เต็มไปหมด
นอกจากนี้ เรายังเห็นอินฟลูเอนเซอร์หลายคน ก็พูดถึงการเทรดบิตคอยน์ จนทำให้ในที่สุด
ด้วยความกลัวที่จะตกเทรนด์ หรือพลาดโอกาส ก็อาจจะทำให้หลายคนตัดสินใจที่จะทดลองเปิดบัญชีเพื่อใช้งานในที่สุด
ด้วยความกลัวที่จะตกเทรนด์ หรือพลาดโอกาส ก็อาจจะทำให้หลายคนตัดสินใจที่จะทดลองเปิดบัญชีเพื่อใช้งานในที่สุด
อย่างไรก็ตาม การทำโฆษณาก็ควรมีความถี่ที่กำลังดี ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป
เพราะหากโฆษณามากเกินไป ก็อาจกลายเป็นการสร้างความรำคาญให้กับลูกค้าได้ นั่นเอง
เพราะหากโฆษณามากเกินไป ก็อาจกลายเป็นการสร้างความรำคาญให้กับลูกค้าได้ นั่นเอง
อ้างอิง :
-https://www.adzooma.com/blog/marketing-the-frequency-illusion/
-https://www.adzooma.com/blog/marketing-the-frequency-illusion/
Tag:การโฆษณา