Hyundai โชว์แนวคิด “Metamobility” ที่จะเชื่อมโลกเสมือน กับโลกจริงเข้าด้วยกัน
5 ม.ค. 2022
Hyundai Motor ค่ายรถเจ้าดังจากเกาหลีใต้ ได้ออกมาพูดถึงวิสัยทัศน์ของบริษัท ที่เรียกว่า “Metamobility” ซึ่งมาจากคำว่า Metaverse + Mobility ภายในธีม “Expanding Human Reach”
ที่จะคอยเชื่อมต่อ “โลกจริง” กับ “โลกเสมือน” เข้าด้วยกัน ผ่านอุปกรณ์หุ่นยนต์ต่าง ๆ เพื่อให้บริการด้านการเคลื่อนที่ ตั้งแต่การขนส่งอัตโนมัติส่วนบุคคล ไปจนถึงการควบคุมระยะไกลของหุ่นยนต์ในโรงงานอัจฉริยะ (Smart factory)
ที่จะคอยเชื่อมต่อ “โลกจริง” กับ “โลกเสมือน” เข้าด้วยกัน ผ่านอุปกรณ์หุ่นยนต์ต่าง ๆ เพื่อให้บริการด้านการเคลื่อนที่ ตั้งแต่การขนส่งอัตโนมัติส่วนบุคคล ไปจนถึงการควบคุมระยะไกลของหุ่นยนต์ในโรงงานอัจฉริยะ (Smart factory)
โดยการออกมาประกาศถึงวิสัยทัศน์ Metamobility ในครั้งนี้
นำโดยคุณ Euisun Chung ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Hyundai Motor ในงาน Consumer Electronics Show (CES) ประจำปี 2022
นำโดยคุณ Euisun Chung ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Hyundai Motor ในงาน Consumer Electronics Show (CES) ประจำปี 2022
ทาง Hyundai ต้องการจะใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญในด้านวิทยาการหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ที่ทางบริษัทมี โดยเฉพาะจากบริษัทในเครืออย่าง Boston Dynamics ที่ซื้อกิจการมาเมื่อปีก่อน
เพื่อสร้างโครงข่ายการเคลื่อนที่ในอนาคต ที่สามารถเชื่อมโยงมนุษย์ในโลกแห่งความเป็นจริง กับวัตถุเสมือนและงานในโลกเสมือนเข้าด้วยกัน
ทั้งนี้ แนวคิดที่ว่า มีความเกี่ยวข้องกับโลก Metaverse ที่นับเป็นวิสัยทัศน์ตั้งแต่เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ของ Neal Stephenson ซึ่งเป็นนักเขียนนิยายแนววิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน
แต่กลับเพิ่งมาได้รับความสนใจจากการออกประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทของ Meta (เดิม Facebook)
ที่บริษัทถึงกับเปลี่ยนชื่อ เพื่อให้ความสำคัญกับโลก Metaverse ที่มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก มีความเชื่อว่าเราจะสามารถเข้าไปอยู่ในนั้นได้ และเป็นวิถีทางใหม่ในการเชื่อมต่อผู้คนทั้งโลกเข้าด้วยกัน
ที่บริษัทถึงกับเปลี่ยนชื่อ เพื่อให้ความสำคัญกับโลก Metaverse ที่มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก มีความเชื่อว่าเราจะสามารถเข้าไปอยู่ในนั้นได้ และเป็นวิถีทางใหม่ในการเชื่อมต่อผู้คนทั้งโลกเข้าด้วยกัน
โดยทาง Hyundai ก็ได้เสนอแนวทางตัวอย่าง ที่เราจะสามารถเชื่อมต่อโลกจริงและโลกเสมือนเข้าด้วยกัน ในรูปแบบ Metamobility ได้ อาทิ
-ยานพาหนะที่สามารถเปลี่ยนเป็นพื้นที่ทำงาน หรือห้องสื่อบันเทิงที่มีแพลตฟอร์มวิดีโอเกม 3D
-โรงงานอัจฉริยะ ที่มนุษย์สามารถควบคุมโรงงานจากระยะไกล สามารถควบคุมเครื่องจักร และผลิตภัณฑ์ภายในโรงงานได้
-ยานพาหนะขนส่งอัตโนมัติส่วนบุคคลสำหรับผู้พิการ หรือผู้ที่ต้องการรักษาระยะห่างในระหว่างเดินทาง
ซึ่งการทำเรื่องทั้งหมดนี้ให้เป็นจริงได้ ทาง Hyundai กล่าวว่าจะต้องสร้างระบบนิเวศของสิ่งที่เรียกว่า “Mobility of Things” หรือ MoT ที่จะสามารถเชื่อมต่อหุ่นยนต์แต่ละส่วน ให้สามารถเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ ได้
ตัวอย่างโมดูลหนึ่งที่เรียกว่า Plug & Drive หรือ PnD คือหุ่นยนต์ล้อเดียว ที่รวมพวงมาลัยอัจฉริยะ, การเบรก, ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า, กล้อง และเซ็นเซอร์ Lidar สำหรับการทำงานอัตโนมัติเข้าด้วยกัน
ก็เรียกได้ว่า นี่ถือเป็นอีกหนึ่งวิสัยทัศน์ที่ค่ายรถยนต์ มองออกไปไกลเกินกว่าวงการยานยนต์
และใครจะไปคิดว่าอุตสาหกรรมดั้งเดิมอย่างยานยนต์ ที่เน้นเรื่องของ Physical ก็สามารถต่อยอดและล้อไปตามเทรนด์ Metaverse ได้
ซึ่งต่อไปเราก็จะเห็นทั้งบริษัทเทคโนโลยี, บริษัทยานยนต์ หรือแม้แต่ผู้เล่นในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ต่างก็ตบเท้าก้าวข้ามอุตสาหกรรมของตัวเองกันมากขึ้น
เพราะในอนาคต จะเกิดการปฏิวัติข้ามวงการกันไปเรื่อย ๆ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคยิ่งกว่าเดิม
เพราะในอนาคต จะเกิดการปฏิวัติข้ามวงการกันไปเรื่อย ๆ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคยิ่งกว่าเดิม
ซึ่งก็ต้องรอติดตามกันว่า Hyundai จะพาวิสัยทัศน์นี้ ไปได้ไกลขนาดไหน..
อ้างอิง:
-https://www.reuters.com/technology/beyond-cars-hyundai-says-metamobility-will-link-real-virtual-worlds-future-2022-01-04/
-https://www.reuters.com/technology/beyond-cars-hyundai-says-metamobility-will-link-real-virtual-worlds-future-2022-01-04/