แบงก์ชาติ ย้ำ “ไม่สนับสนุน” การนำคริปโทฯ มาใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ เพราะผันผวนสูง
1 ธ.ค. 2021
วันนี้มีข่าวใหญ่ในวงการคริปโทฯ บ้านเรา เพราะทาง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ได้ออกมาแสดงความเห็น และเปิดเผยแนวทางกำกับดูแล เกี่ยวกับคริปโทฯ
ได้ออกมาแสดงความเห็น และเปิดเผยแนวทางกำกับดูแล เกี่ยวกับคริปโทฯ
โดยทาง ธปท. ได้ออกจดหมายประกาศว่า
ธปท. ได้ติดตามการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งเพื่อการลงทุนและการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการทางการเงิน
รวมถึงการนำสินทรัพย์ดิจิทัล ไปใช้ในรูปแบบที่เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ ที่คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ธปท. ได้ติดตามการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งเพื่อการลงทุนและการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการทางการเงิน
รวมถึงการนำสินทรัพย์ดิจิทัล ไปใช้ในรูปแบบที่เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ ที่คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ที่ผ่านมา ธปท. ได้มีการแจ้งเตือนเป็นระยะ และขอย้ำว่า ธปท. “ไม่สนับสนุน” การนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ เนื่องจากราคาสินทรัพย์ดิจิทัลมีความผันผวนสูง
อีกทั้งยังมีความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์, ความเสี่ยงข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล หรือการถูกใช้เป็นเครื่องมือของการฟอกเงิน ที่จะส่งผลต่อร้านค้า ผู้ประกอบธุรกิจ รวมถึงประชาชนผู้ใช้บริการให้ได้รับความเสียหาย
ในระยะต่อไป หากมีการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ ในวงกว้างอย่างแพร่หลาย
ความเสี่ยงข้างต้นอาจส่งผลต่อเสถียรภาพของระบบการชำระเงิน, เสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ และความเสียหายแก่สาธารณชนทั่วไปได้
ความเสี่ยงข้างต้นอาจส่งผลต่อเสถียรภาพของระบบการชำระเงิน, เสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ และความเสียหายแก่สาธารณชนทั่วไปได้
ซึ่งเป็นมุมมองที่สอดคล้องกับผู้กำกับดูแลในหลายประเทศ เช่น อังกฤษ สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ และมาเลเซีย
โดยที่ผ่านมา มีบางประเทศจำกัดการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในขอบเขตเพื่อการลงทุนเป็นหลัก เช่น อินโดนีเซีย และเวียดนาม ขณะที่หลายประเทศอยู่ระหว่างการพิจารณาการกำกับดูแลที่เหมาะสม
ปัจจุบัน ธปท. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำลังพิจารณารูปแบบการกำกับดูแลการให้บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อจำกัดความเสี่ยงข้างต้น
โดยจะยังให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบการชำระเงิน รวมถึงการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงินโดยรวม
ทั้งนี้ ตลอดช่วงปี 2021 ที่ผ่านมา วงการคริปโทฯ ในบ้านเรา เกิดการเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก รวมถึงขยายเข้าไปสู่วงการต่าง ๆ ซึ่งก็จะเห็นหลาย ๆ แบรนด์ นำคริปโทฯ มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ และประกาศรับชำระค่าสินค้าและบริการเป็นคริปโทฯ อาทิ
-เดอะมอลล์ กรุ๊ป จับมือกับ Bitkub ให้ผู้คนสามารถใช้คริปโท 7 สกุล ได้แก่ BTC, ETH, KUB, USDT, XRP, XLM และ JFIN
มาชำระค่าสินค้าและบริการ ได้ที่ห้างสรรพสินค้าในเครือเดอะมอลล์ทุกสาขา และร้านค้าภายในศูนย์การค้าที่ร่วมรายการ
มาชำระค่าสินค้าและบริการ ได้ที่ห้างสรรพสินค้าในเครือเดอะมอลล์ทุกสาขา และร้านค้าภายในศูนย์การค้าที่ร่วมรายการ
-สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส จับมือกับ Bitkub เตรียมเปิดรับชำระค่าโดยสาร ด้วยคริปโทฯ
ประเดิมที่สำนักงานขายบัตรโดยสารสำนักงานใหญ่ ถ.วิภาวดีรังสิต เป็นที่แรก ในวันที่ 1 ม.ค. 2565 นี้ และในระยะต่อไปจะขยายสู่ช่องทางออนไลน์
ประเดิมที่สำนักงานขายบัตรโดยสารสำนักงานใหญ่ ถ.วิภาวดีรังสิต เป็นที่แรก ในวันที่ 1 ม.ค. 2565 นี้ และในระยะต่อไปจะขยายสู่ช่องทางออนไลน์
-SC Asset จับมือ Zipmex ให้ลูกค้าสามารถใช้คริปโทฯ ชำระค่าบ้านและคอนโดฯ แทนเงินสดได้
ซึ่งจะเปิดรับ 5 สกุล ได้แก่ BTC, ETH, ZMT, USDT และ USDC เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.
ซึ่งจะเปิดรับ 5 สกุล ได้แก่ BTC, ETH, ZMT, USDT และ USDC เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.
-ร้านกาแฟอินทนิล จับมือ Bitazza เปิดให้บริการรับชำระค่าเครื่องดื่มและอาหาร ด้วยคริปโทฯ ใน 3 สกุล ได้แก่ BTC, ETH และ USDT
นำร่องวันที่ 1 ธ.ค. และมีแผนขยายบริการทั่วทั้งประเทศ ภายในไตรมาส 2 ปี 2565
นำร่องวันที่ 1 ธ.ค. และมีแผนขยายบริการทั่วทั้งประเทศ ภายในไตรมาส 2 ปี 2565
-เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จับมือกับ Zipmex เปิดทดลองใช้คริปโทฯ แลกรับตั๋วภาพยนตร์
โดยในระยะแรก จะเปิดรับสกุลเงิน BTC และจะเพิ่มสกุลเงินอื่น ๆ เช่น ETH และ ZMT
โดยในระยะแรก จะเปิดรับสกุลเงิน BTC และจะเพิ่มสกุลเงินอื่น ๆ เช่น ETH และ ZMT
-นันยาง ออกมาประกาศเพิ่มช่องทางการให้บริการลูกค้า ให้สามารถนำคริปโทฯ มาแลกสินค้านันยางได้ โดยรับสกุลเงิน BTC, ETH และ LTC