Blue Origin ของเจฟฟ์ เบโซส เปิดโครงการ “Orbital Reef” สถานีอวกาศส่วนตัวเชิงพาณิชย์
26 ต.ค. 2021
Blue Origin บริษัทพัฒนาและผลิตกระสวยอวกาศเชิงพาณิชย์เพื่อการท่องเที่ยว ของมหาเศรษฐีระดับโลกอย่างเจฟฟ์ เบโซส ได้ออกมาประกาศว่า กำลังจับมือกับ Sierra Space บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ “Space-as-a-service” เพื่อร่วมกันพัฒนาและเปิดตัวสถานีอวกาศส่วนตัว ที่มีชื่อว่า “Orbital Reef”
ในช่วงที่ผ่านมา ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์บนอวกาศ หรือก็คือ “การสร้างอาณานิคมบนอวกาศ” กำลังได้รับความสนใจ ว่าจะกลายเป็นเทรนด์ในอนาคต ซึ่งเรื่องนี้ดูเหมือนว่าจะเกิดขึ้นจริงในไม่ช้านี้แล้ว..
เพราะล่าสุด บริษัท Sierra Space ได้ออกมาเปิดเผยรายละเอียด ถึงการเปิดตัวสถานีอวกาศส่วนตัว รวมถึงการที่บริษัท Blue Origin และ Boeing เข้ามาร่วมทีมด้วย เพื่อให้โครงการนี้สำเร็จได้ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษนี้ (ค.ศ. 2025 - 2030)
โดยโครงการ “Orbital Reef” ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีและบริการต่าง ๆ จากทาง Sierra Space, Blue Origin และพาร์ตเนอร์อย่าง Redwire Space, Genesis Engineering และ Arizona State University
ทั้งนี้ Orbital Reef นับเป็นโครงการครั้งที่ 3 ของโลก ที่ได้มีการเปิดตัวสถานีอวกาศเชิงพาณิชย์
ต่อจากความร่วมมือของ Voyager Space, Nanoracks และ Lockheed Martin ที่เพิ่งประกาศว่าจะเริ่มโครงการสถานีอวกาศเชิงพาณิชย์ไปไม่นานนี้ ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวได้ในปี ค.ศ. 2027
และอีกบริษัทคือ Axiom Space ที่ได้ประกาศแผนการเรื่องสถานีอวกาศเชิงพาณิชย์เช่นกัน
ต่อจากความร่วมมือของ Voyager Space, Nanoracks และ Lockheed Martin ที่เพิ่งประกาศว่าจะเริ่มโครงการสถานีอวกาศเชิงพาณิชย์ไปไม่นานนี้ ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวได้ในปี ค.ศ. 2027
และอีกบริษัทคือ Axiom Space ที่ได้ประกาศแผนการเรื่องสถานีอวกาศเชิงพาณิชย์เช่นกัน
ส่วนทางด้านพาร์ตเนอร์หลักของ Blue Origin อย่าง Sierra Space ก็ได้ประกาศถึงแผนการสร้างสถานีอวกาศไปเมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมานี่เอง
ซึ่งโครงการนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัทเอกชนที่ต้องการสร้างสถานีอวกาศใหม่ เข้ามาแทนที่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ที่ใกล้จะหมดอายุการใช้งานเร็ว ๆ นี้
ความน่าสนใจของโครงการ Orbital Reef คือ การดำเนินการในคอนเซปต์ “โครงการพื้นที่เชิงธุรกิจแบบมิกส์ยูสบนอวกาศ” โดยพื้นที่ของโครงการ จะถูกจัดสรรเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ อาทิ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์, การผลิตสื่อ, ความบันเทิงและการท่องเที่ยว
ซึ่งถ้าหาก Orbital Reef เปิดให้ใช้งานได้เต็มรูปแบบ จะสามารถบรรจุคนได้ถึง 10 คน
และมีพื้นที่โดยรวมทั้งหมดคิดเป็น 90% ของสถานีอวกาศนานาชาติหรือ ISS ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันนี้
และมีพื้นที่โดยรวมทั้งหมดคิดเป็น 90% ของสถานีอวกาศนานาชาติหรือ ISS ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันนี้
โดยทางด้าน Blue Origin จะดำเนินงานจัดหาโมดูลหลัก, ระบบสาธารณูปโภค และจรวด “New Glenn” ของทางบริษัท ที่ออกแบบมาให้รับน้ำหนักได้มาก เพื่อใช้สำหรับลากส่วนของสถานีอวกาศจากโลกไปยังชั้นบรรยากาศ
ส่วนทาง Boeing จะดูแลเรื่องงานปฏิบัติการของสถานี, โมดูลวิทยาศาสตร์ และจัดหานักบิน-ลูกเรือของ Starliner เพื่อขนส่งคนไปและกลับจากสถานีอวกาศ
และด้าน Redwire จะจัดหาเทคโนโลยีการวิจัยและการผลิตในสภาวะไร้น้ำหนัก (Microgravity), วิศวกรรมดิจิทัล, เซ็นเซอร์ขั้นสูง ตลอดจนการดำเนินการด้านการคำนวณน้ำหนักที่สามารถบรรทุก และส่วนประกอบโครงสร้างสถานีอวกาศที่สามารถปรับใช้ได้
โดยทางด้าน Mike Gold รองประธานบริหารของ Redwire กล่าวว่า
"สภาวะไร้แรงโน้มถ่วง ทำให้เกิดสมรภูมิการแข่งขันใหม่ทั้งหมด สำหรับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และการพาณิชย์ เพราะเราเชื่อว่า ไม่ว่าประเทศหรือบริษัทใดก็ตาม ที่เชี่ยวชาญด้านการวิจัย, พัฒนาและการผลิต ในสภาวะไร้น้ำหนักได้ จะกลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับโลกในอนาคต”
"สภาวะไร้แรงโน้มถ่วง ทำให้เกิดสมรภูมิการแข่งขันใหม่ทั้งหมด สำหรับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และการพาณิชย์ เพราะเราเชื่อว่า ไม่ว่าประเทศหรือบริษัทใดก็ตาม ที่เชี่ยวชาญด้านการวิจัย, พัฒนาและการผลิต ในสภาวะไร้น้ำหนักได้ จะกลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับโลกในอนาคต”
นอกจากนี้ ยังมี Genesis Engineering ที่ดำเนินการพัฒนายานอวกาศสำหรับ 1 คน ที่จะใช้ในการดำเนินงานประจำวัน และอาจใช้ในการท่องเที่ยว
ในขณะที่ Arizona State University จะเป็นผู้นำสมาคม เพื่อเสนอบริการให้คำปรึกษาในด้านการวิจัย
ในขณะที่ Arizona State University จะเป็นผู้นำสมาคม เพื่อเสนอบริการให้คำปรึกษาในด้านการวิจัย
สรุปแล้ว โครงการ Orbital Reef ก็จะมีจิกซอว์ส่วนสำคัญ คือประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่บริษัทต่าง ๆ ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อโครงการนี้
อาทิ เทคโนโลยีจรวด “New Glenn” ที่ใช้ในการปล่อยตัวของ Blue Origin
ยานอวกาศ “Starliner” ที่จะใช้รับส่งนักบินอวกาศและลูกเรือของ Boeing
และ “Dream Chaser” เครื่องบินอวกาศจาก Sierra Space
อาทิ เทคโนโลยีจรวด “New Glenn” ที่ใช้ในการปล่อยตัวของ Blue Origin
ยานอวกาศ “Starliner” ที่จะใช้รับส่งนักบินอวกาศและลูกเรือของ Boeing
และ “Dream Chaser” เครื่องบินอวกาศจาก Sierra Space
ก็เป็นที่น่าติดตามว่า ความร่วมมือจากพันธมิตรหลักทั้ง 3 บริษัทด้านอวกาศ รวมไปถึงความร่วมมือด้านเทคโนโลยีจากบริษัทอื่น ๆ จะทำให้โครงการนี้ เป็นจริงขึ้นมาได้ ก่อนสิ้นทศวรรษนี้หรือไม่
แต่ทั้งนี้ การออกมาประกาศโครงการนี้ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวที่พิสูจน์ได้แล้วว่า “Space Economy” กำลังจะเกิดขึ้นจริง และไม่ไกลเกินยุคเราแล้ว..
อ้างอิง :
-https://techcrunch.com/2021/10/25/blue-origin-boeing-and-others-join-sierra-space-to-build-commercial-space-station/
-https://www.reuters.com/business/aerospace-defense/blue-origin-boeing-chart-course-business-park-space-2021-10-25/
-https://www.cnbc.com/2021/10/25/jeff-bezos-blue-origin-unveils-ocean-reef-private-space-station.html
-https://redwirespace.com/
-https://techcrunch.com/2021/10/25/blue-origin-boeing-and-others-join-sierra-space-to-build-commercial-space-station/
-https://www.reuters.com/business/aerospace-defense/blue-origin-boeing-chart-course-business-park-space-2021-10-25/
-https://www.cnbc.com/2021/10/25/jeff-bezos-blue-origin-unveils-ocean-reef-private-space-station.html
-https://redwirespace.com/