ดีแทคพลิกมุมคิด ปลุกพลังผู้ประกอบการวัยเก๋า ต่อให้ 50+ ก็ยังแจ๋ว
29 ก.ย. 2021
7,000 บาท คือ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้สูงวัยไทยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ในปัจจุบัน
และเมื่อผ่านไป 10 ปี ต่อให้ค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น
แต่รายได้ของผู้สูงวัยไทย จะเพิ่มขึ้นเป็นไม่ถึง 9,000 บาท/เดือน
และเมื่อผ่านไป 10 ปี ต่อให้ค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น
แต่รายได้ของผู้สูงวัยไทย จะเพิ่มขึ้นเป็นไม่ถึง 9,000 บาท/เดือน
แม้จะเป็นเพียงการคาดการณ์ของ World Bank Research แต่ก็สะท้อนให้เห็นว่า
ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ประชากรสูงวัยส่วนใหญ่มีรายได้สูง
แต่ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ประชากรกำลังแก่ชรา แต่มีรายได้ต่อคน ต่ำกว่าประเทศอื่น
ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ประชากรสูงวัยส่วนใหญ่มีรายได้สูง
แต่ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ประชากรกำลังแก่ชรา แต่มีรายได้ต่อคน ต่ำกว่าประเทศอื่น
และเป็นการตอกย้ำ คำพูดที่ว่า “คนไทยแก่ก่อนรวย จนก่อนตาย” ให้ยิ่งชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ยิ่งไปดูแนวโน้มประชากรโลก ซึ่งองค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่า
ประชากรผู้สูงวัยโลกที่มีอายุกว่า 65 ปีขึ้นไป จะมีจำนวนกว่า 1,500 ล้านคนในปี 2593 จากปีนี้อยู่ที่ 727 ล้านคน
ขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้สูงวัยมากที่สุดเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากสิงคโปร์
ประชากรผู้สูงวัยโลกที่มีอายุกว่า 65 ปีขึ้นไป จะมีจำนวนกว่า 1,500 ล้านคนในปี 2593 จากปีนี้อยู่ที่ 727 ล้านคน
ขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้สูงวัยมากที่สุดเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากสิงคโปร์
ปัจจุบัน ไทยมีจำนวนผู้สูงวัยในสูงถึง 20% และจะเพิ่มเป็น 28% ของประชากรทั้งประเทศในปี 2576
โดยในอีก 30 ปีข้างหน้า คาดว่าประชากรกลุ่มเกษียณและเตรียมเกษียณจะมีจำนวนถึง 30 ล้านคน
โดยในอีก 30 ปีข้างหน้า คาดว่าประชากรกลุ่มเกษียณและเตรียมเกษียณจะมีจำนวนถึง 30 ล้านคน
ซึ่งปัญหาสำคัญที่ตามมาคือ “ปัญหาภาระพึ่งพิงทางสังคมของผู้สูงวัย” (Social Dependency)
โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดการณ์ว่าอัตราส่วนพึ่งพิงของผู้สูงวัยต่อวัยแรงงานจะเพิ่มขึ้นจาก 27.7% เป็น 56.2% ในอีก 20 ปีข้างหน้า
คำถาม คือ ในเมื่อไม่อาจหลีกเลี่ยงความจริงที่ว่า โลกของเรากำลังจะเต็มไปด้วยผู้สูงอายุ
เราอยากเห็นผู้สูงอายุไทยในอนาคตเป็นแบบไหน ?
โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดการณ์ว่าอัตราส่วนพึ่งพิงของผู้สูงวัยต่อวัยแรงงานจะเพิ่มขึ้นจาก 27.7% เป็น 56.2% ในอีก 20 ปีข้างหน้า
คำถาม คือ ในเมื่อไม่อาจหลีกเลี่ยงความจริงที่ว่า โลกของเรากำลังจะเต็มไปด้วยผู้สูงอายุ
เราอยากเห็นผู้สูงอายุไทยในอนาคตเป็นแบบไหน ?
สำหรับ ดีแทค ในฐานะผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม เชื่อว่า ผู้สูงอายุที่ได้รับการส่งเสริมศักยภาพทางดิจิทัล จะสามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ และทำให้ GDP เติบโตขึ้น
จึงมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนผู้สูงวัยอย่างเต็มกำลัง เพื่อปิดช่องว่างดิจิทัลที่ส่งผลกระทบต่อผู้สูงวัยในประเทศไทย
ด้วยการชวนพันธมิตร อย่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และ ยังแฮปปี้ (Young Happy) มาทำโครงการ “เน็ตทำกิน”
ด้วยการชวนพันธมิตร อย่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และ ยังแฮปปี้ (Young Happy) มาทำโครงการ “เน็ตทำกิน”
โดยมีภารกิจร่วมกัน คือ ปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+ ให้พร้อมยืดหยัดในโลกใบเดิมที่ไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไป
ด้วยการยกระดับทักษะดิจิทัลและความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการให้ผู้สูงวัยอาศัยลำพังรุ่นแรก 250 คนให้พึ่งพาตนเองได้
ด้วยการยกระดับทักษะดิจิทัลและความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการให้ผู้สูงวัยอาศัยลำพังรุ่นแรก 250 คนให้พึ่งพาตนเองได้
ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค บอกว่า
“ดิจิทัลเทคโนโลยีจะเป็นตัวแปรสำคัญ ที่จะส่งเสริมให้ผู้สูงวัยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีในบั้นปลายชีวิต สามารถนำความรู้ด้านดิจิทัลไปพัฒนาการสร้างรายได้
ถ้าผู้สูงวัยไม่สามารถก้าวทันดิจิทัล พวกเขาจะประสบปัญหาการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ธนาคาร และบริการของภาครัฐ
ดังนั้น การส่งเสริมศักยภาพในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงวัย เปลี่ยนจากประชากรผู้มีความเปราะบางสู่ประชากรที่มีคุณค่าและมีความหมายต่อสังคมอย่างยั่งยืน”
สอดคล้องกับมุมมองของ ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ดีป้า กล่าวว่า
หากผู้สูงวัยได้รับการยกระดับทักษะด้านดิจิทัลให้เป็นผู้สูงวัยที่เข้มแข็งทั้งกายและใจ ก็จะนำมาซึ่งโอกาสมหาศาลในการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจผู้สูงวัยในประเทศที่ปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 1 แสนล้านบาท
อีกทั้งมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องประมาณ 5-10% ต่อปี
หากผู้สูงวัยได้รับการยกระดับทักษะด้านดิจิทัลให้เป็นผู้สูงวัยที่เข้มแข็งทั้งกายและใจ ก็จะนำมาซึ่งโอกาสมหาศาลในการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจผู้สูงวัยในประเทศที่ปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 1 แสนล้านบาท
อีกทั้งมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องประมาณ 5-10% ต่อปี
อีกหนึ่งข้อดีของการส่งเสริมให้เกิดความคุ้นเคยในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระดับที่เหมาะสม
ยังช่วยส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย ไม่ว่าจะเป็นการลดความเสี่ยงต่ออันตรายจากอุบัติเหตุผ่านเทคโนโลยี IoT การสร้างเกมเพื่อพัฒนาการทำงานของสมองในผู้สูงวัย การติดตามสุขภาวะสุขภาพเชิงดิจิทัล และการเข้าถึงการรักษาแบบออนไลน์
ยังช่วยส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย ไม่ว่าจะเป็นการลดความเสี่ยงต่ออันตรายจากอุบัติเหตุผ่านเทคโนโลยี IoT การสร้างเกมเพื่อพัฒนาการทำงานของสมองในผู้สูงวัย การติดตามสุขภาวะสุขภาพเชิงดิจิทัล และการเข้าถึงการรักษาแบบออนไลน์
แล้วโครงการ “ดีแทค เน็ตทำกิน” จะช่วยติดอาวุธให้ผู้ประกอบการวัยเก๋าอย่างไร ?
อย่างที่เกริ่นไปแล้วว่า เป้าหมายของโครงการนี้ คือ เสริมทักษะและความรู้ในการค้าขายออนไลน์ การแสวงหาโอกาสในการทำธุรกิจดิจิทัล รวมทั้งให้ความรู้เพื่อรับมือกับภัยเสี่ยงบนโลกออนไลน์ให้ผู้สูงวัยด้วย
โดยพันธมิตรทุกคน จะแบ่งหน้าที่กันเพื่อไปสู่เส้นชัยที่วางไว้
- ดีแทคจะเป็นพี่เลี้ยง ร่วมเป็นแอดมินเพจ ช่วยแนะนำ แก้ไขปัญหาให้ผู้ประกอบการออนไลน์วัยเก๋หน้าใหม่จนกว่าจะมีความมั่นใจและสานต่อดูแลธุรกิจออนไลน์ของตัวเองได้
-ดีป้า เป็นฝ่ายสนับสนุนโครงการและเชื่อมโยงพันธมิตรกับหน่วยงานรัฐอื่น ๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุด
-มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย มีหน้าที่บริหารจัดการโครงการ และร่วมจัดการอบรมเกี่ยวกับการรับมือภัยเสี่ยงในโลกออนไลน์
-ยังแฮปปี้ รับผิดชอบคัดเลือกผู้เข้าอบรม พร้อมจัดรูปแบบและบริหารกิจกรรม
โดยโครงการนี้ จะประกอบด้วย 6 หลักสูตร ได้แก่ การอบรมการตลาดในยุคดิจิทัล, การสร้างออนไลน์คอนเทนต์, แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์, ปักหมุดธุรกิจติดดาว, การถ่ายภาพสำหรับการตลาดออนไลน์ และเท่าทันกลโกง ซื้อของออนไลน์
ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ทั้งนี้ไม่จำกัดว่าต้องใช้บริการเครือข่ายดีแทคเท่านั้น
นับเป็นอีกหนึ่งโครงการดี ๆ ที่จะช่วยเปลี่ยนมุมมองของผู้สูงวัยว่า ไม่ได้เป็น “ภาระ”
แต่ยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนได้
แต่ยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนได้