Calbee บริษัทขนมแสนล้าน ของญี่ปุ่น
21 ส.ค. 2021
เกือบทุกคนรู้จักขนมข้าวเกรียบกุ้ง ฮานามิ ซึ่งเป็นแบรนด์ของคนไทย แต่ชื่อคล้ายญี่ปุ่น
และหากพูดถึงคู่ปรับตัวฉกาจของฮานามิ ในสังเวียนข้าวเกรียบกุ้ง เมืองไทย
ก็ไม่พ้น “คาลบี้ (Calbee)” ซึ่งเป็นแบรนด์จากญี่ปุ่น
และหากพูดถึงคู่ปรับตัวฉกาจของฮานามิ ในสังเวียนข้าวเกรียบกุ้ง เมืองไทย
ก็ไม่พ้น “คาลบี้ (Calbee)” ซึ่งเป็นแบรนด์จากญี่ปุ่น
ที่น่าสนใจคือ หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า บริษัท Calbee เป็นบริษัทขนมรายใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดขนมขบเคี้ยว บนแดนปลาดิบ มากกว่า 50%
ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดขนมขบเคี้ยว บนแดนปลาดิบ มากกว่า 50%
และบริษัทมีมูลค่ามากถึง 104,500 ล้านบาท
ใหญ่กว่าบริษัท Ezaki Glico เจ้าของแบรนด์ขนมป๊อกกี้, เพรทซ์, โคลลอน ฯลฯ ที่มีมูลค่าบริษัท 82,100 ล้านบาท เสียอีก
ใหญ่กว่าบริษัท Ezaki Glico เจ้าของแบรนด์ขนมป๊อกกี้, เพรทซ์, โคลลอน ฯลฯ ที่มีมูลค่าบริษัท 82,100 ล้านบาท เสียอีก
อีกทั้งจริง ๆ แล้ว ข้าวเกรียบกุ้ง ที่เราอาจคิดว่าเป็นผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท
ก็ไม่ใช่ขนมที่ขายดีสุดของ Calbee..
ก็ไม่ใช่ขนมที่ขายดีสุดของ Calbee..
แล้วอาณาจักรขนมสายเลือดซามูไรนี้ กำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร
และบุกเข้ามาตีตลาดในประเทศไทย ตั้งแต่เมื่อไร ?
และบุกเข้ามาตีตลาดในประเทศไทย ตั้งแต่เมื่อไร ?
ในปี 1949 ซึ่งเป็นช่วงหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
คุณทาคาชิ มัตสึโอะ ได้ก่อตั้งบริษัท Matsuo Food Processing ขึ้นที่เมืองฮิโรชิมะ
เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตขนม แบบราคาไม่แพง
โดยผลิตภัณฑ์แรกที่ผลิตออกขาย คือ ขนมคาราเมล “Calbee Caramel”
คุณทาคาชิ มัตสึโอะ ได้ก่อตั้งบริษัท Matsuo Food Processing ขึ้นที่เมืองฮิโรชิมะ
เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตขนม แบบราคาไม่แพง
โดยผลิตภัณฑ์แรกที่ผลิตออกขาย คือ ขนมคาราเมล “Calbee Caramel”
ต่อมา พอสินค้าของบริษัทเริ่มติดตลาด ผู้คนพูดถึงกันมากขึ้น
บริษัทเลยตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท Calbee Confectionery ในปี 1955
(เปลี่ยนชื่ออีกทีเป็น บริษัท Calbee ในปี 1973)
เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อสินค้า ซึ่งคนเริ่มรู้จักกันแล้ว
บริษัทเลยตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท Calbee Confectionery ในปี 1955
(เปลี่ยนชื่ออีกทีเป็น บริษัท Calbee ในปี 1973)
เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อสินค้า ซึ่งคนเริ่มรู้จักกันแล้ว
และแสดงความตั้งใจของบริษัท ที่อยากจะผลิตของกินที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหาร
เพราะชื่อ Calbee มาจากคำว่า “Cal” ซึ่งแทนคำว่าแคลเซียม และ “Bee” ซึ่งแทนตัวอักษรบี ในวิตามินบี 1
เพราะชื่อ Calbee มาจากคำว่า “Cal” ซึ่งแทนคำว่าแคลเซียม และ “Bee” ซึ่งแทนตัวอักษรบี ในวิตามินบี 1
ในปีเดียวกันนี้เอง บริษัทก็เปิดตัวไลน์ขนมใหม่ อย่างขนมแครกเกอร์ “Kappa Arare” เพื่อกระจายพอร์ตสินค้าให้หลากหลายขึ้นอีกด้วย
แต่ผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อให้กับบริษัท ไปทั่วทั้งประเทศญี่ปุ่น และข้ามน้ำข้ามทะเล ไปดังถึงต่างแดน
คือ ขนมข้าวเกรียบกุ้ง Kappa Ebisen หรือที่บ้านเรารู้จักกันในชื่อ คาลบี้ เอบิเซน
ซึ่งเริ่มวางจำหน่ายเมื่อปี 1964 และได้รับความนิยมในญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว
คือ ขนมข้าวเกรียบกุ้ง Kappa Ebisen หรือที่บ้านเรารู้จักกันในชื่อ คาลบี้ เอบิเซน
ซึ่งเริ่มวางจำหน่ายเมื่อปี 1964 และได้รับความนิยมในญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว
ด้วยความสำเร็จอย่างล้นหลามของ Kappa Ebisen
ทำให้บริษัทตัดสินใจเริ่มส่งออกสินค้านี้ ไปตีตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮาวาย
ทำให้บริษัทตัดสินใจเริ่มส่งออกสินค้านี้ ไปตีตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮาวาย
และมีโอกาสนำไปโชว์ในงาน International Confectionery Expo ที่นิวยอร์ก
ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จนต้องก่อตั้งบริษัท Calbee America ในเวลาต่อมา เพื่อผลิตสินค้าและทำตลาดในสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะ
ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จนต้องก่อตั้งบริษัท Calbee America ในเวลาต่อมา เพื่อผลิตสินค้าและทำตลาดในสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะ
หลังจากนั้น Calbee ก็มุ่งเน้นขยายธุรกิจไปยังประเทศต่าง ๆ ทั้งส่งออกสินค้า และตั้งโรงงานในต่างประเทศ
พร้อมกับเพิ่มไลน์สินค้าใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อขยายฐานลูกค้า และสร้างการเติบโตของรายได้ให้กับธุรกิจ
พร้อมกับเพิ่มไลน์สินค้าใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อขยายฐานลูกค้า และสร้างการเติบโตของรายได้ให้กับธุรกิจ
เช่น ปี 1975 เปิดตัว ขนมเรือธงของบริษัทอย่าง มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ Calbee
ที่ติดตลาดอย่างมากในญี่ปุ่น จนทำให้บริษัทกลายเป็นหนึ่งในผู้นำของตลาดนี้
และเป็นขนมที่มีสัดส่วนรายได้มากสุดของบริษัท
ที่ติดตลาดอย่างมากในญี่ปุ่น จนทำให้บริษัทกลายเป็นหนึ่งในผู้นำของตลาดนี้
และเป็นขนมที่มีสัดส่วนรายได้มากสุดของบริษัท
ซึ่งเฉพาะรายได้ในญี่ปุ่น มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ Calbee
ทำรายได้กว่า 26,070 ล้านบาท คิดเป็นกว่า 41% ของรายได้ทั้งหมดในญี่ปุ่น
ทำรายได้กว่า 26,070 ล้านบาท คิดเป็นกว่า 41% ของรายได้ทั้งหมดในญี่ปุ่น
โดยปัจจุบัน บริษัท Calbee มีผลิตภัณฑ์ที่ทำตลาดอยู่ในญี่ปุ่นมากมาย เช่น
- มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ Calbee
- มันฝรั่งแท่ง Jagarico และ Jagabee
- มันฝรั่งแท่งรสผัก Calbee Sapporo
- ข้าวเกรียบกุ้ง Kappa Ebisen
- ซีเรียลธัญพืช Calbee Frugra
- ขนมถั่วโซระอบกรอบปรุงรส miino
- มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ Calbee
- มันฝรั่งแท่ง Jagarico และ Jagabee
- มันฝรั่งแท่งรสผัก Calbee Sapporo
- ข้าวเกรียบกุ้ง Kappa Ebisen
- ซีเรียลธัญพืช Calbee Frugra
- ขนมถั่วโซระอบกรอบปรุงรส miino
นอกจากในญี่ปุ่นแล้ว บริษัทยังไปตั้งโรงงานผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกา, เกาหลีใต้, จีน, ไทย, อินโดนีเซีย และสหราชอาณาจักร อีกด้วย
ความสำเร็จทั้งหมดนี้เอง ทำให้ Calbee ตัดสินใจนำบริษัท เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว เมื่อปี 2011 ในที่สุด
สำหรับผลประกอบการของ อาณาจักรขนม Calbee
(ปิดรอบบัญชี สิ้นเดือน มี.ค.)
(ปิดรอบบัญชี สิ้นเดือน มี.ค.)
ปี 2020 มีรายได้ 77,066 ล้านบาท กำไร 5,281 ล้านบาท
ปี 2021 มีรายได้ 80,320 ล้านบาท กำไร 5,324 ล้านบาท
ปี 2021 มีรายได้ 80,320 ล้านบาท กำไร 5,324 ล้านบาท
โดยสัดส่วนรายได้ปีล่าสุด มาจาก
รายได้ในประเทศญี่ปุ่น 80%
รายได้นอกประเทศญี่ปุ่น 20%
รายได้ในประเทศญี่ปุ่น 80%
รายได้นอกประเทศญี่ปุ่น 20%
ส่วน Calbee เข้ามาเจาะตลาดในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อไรนั้น
คำตอบคือ เมื่อปี 1980 หรือ 41 ปีที่แล้ว
คำตอบคือ เมื่อปี 1980 หรือ 41 ปีที่แล้ว
ผ่านการจัดตั้งบริษัท คาลบี้ธนาวัธน์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Calbee จากประเทศญี่ปุ่น และบริษัท ธนาวัธน์อุตสาหกรรม จำกัด
เพื่อผลิตและจำหน่ายขนมขบเคี้ยว ซึ่งได้รับ Know-how และเทคโนโลยีการผลิต มาจาก Calbee
เช่น ข้าวเกรียบกุ้ง “คาลบี้ เอบิเซน”, ขนมมันเทศทอดกรอบ “โดเรมี”, มันฝรั่งแท่งทอดกรอบ “แจ็กซ์” และถั่วลันเตาอบกรอบ “บันบัน” ในประเทศไทย
เช่น ข้าวเกรียบกุ้ง “คาลบี้ เอบิเซน”, ขนมมันเทศทอดกรอบ “โดเรมี”, มันฝรั่งแท่งทอดกรอบ “แจ็กซ์” และถั่วลันเตาอบกรอบ “บันบัน” ในประเทศไทย
รวมถึงส่งออกไปจำหน่ายอีก 16 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, สหรัฐอเมริกา, สิงคโปร์, ซาอุดีอาระเบีย, จีน, ลาว, กัมพูชา, พม่า ฯลฯ
บริษัท คาลบี้ธนาวัธน์ จำกัด
ปี 2019 มีรายได้ 1,464 ล้านบาท กำไร 108 ล้านบาท
ปี 2020 มีรายได้ 1,605 ล้านบาท กำไร 105 ล้านบาท
ปี 2019 มีรายได้ 1,464 ล้านบาท กำไร 108 ล้านบาท
ปี 2020 มีรายได้ 1,605 ล้านบาท กำไร 105 ล้านบาท
ตอนนี้เราก็รู้แล้วว่า อาณาจักรของ Calbee จากแดนปลาดิบ ใหญ่ขนาดไหน
และผลิตภัณฑ์อะไร ที่ทำเงินให้กับบริษัทได้มากที่สุด
และผลิตภัณฑ์อะไร ที่ทำเงินให้กับบริษัทได้มากที่สุด
ซึ่งวันแรกที่คุณทาคาชิ มัตสึโอะ ตัดสินใจลงมือสร้างธุรกิจขนมขึ้นมา
ตัวเขาเอง ก็คงคาดไม่ถึงว่า ธุรกิจผลิตขนมเล็ก ๆ ของเขา
วันนี้ จะมีมูลค่าเกินแสนล้าน..
ตัวเขาเอง ก็คงคาดไม่ถึงว่า ธุรกิจผลิตขนมเล็ก ๆ ของเขา
วันนี้ จะมีมูลค่าเกินแสนล้าน..
อ้างอิง :
-https://www.calbee.co.th/th/about-us.html#history
-https://www.calbee.co.jp/en/corporate/history/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Calbee
-https://www.calbee.co.jp/en/ir/pdf/2021/Calbee_FY2021_AnnualReport_finance.pdf
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-https://www.calbee.co.th/th/about-us.html#history
-https://www.calbee.co.jp/en/corporate/history/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Calbee
-https://www.calbee.co.jp/en/ir/pdf/2021/Calbee_FY2021_AnnualReport_finance.pdf
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า