เมื่อรถเมล์ต่างจังหวัด ทันสมัยกว่าในกรุงเทพฯ
29 พ.ค. 2019
ปัญหาการจราจรเป็นปัญหาที่อยู่คู่กับคนในเมืองใหญ่มานาน
โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองที่มีรถติดมากเป็นอันดับสองของโลก
โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองที่มีรถติดมากเป็นอันดับสองของโลก
แม้จะมีเครือข่ายระบบขนส่งมวลชนทั้ง รถเมล์และรถไฟฟ้า
โดยเฉพาะในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ที่มีการก่อสร้างทางรถไฟฟ้าหลายสาย เพื่อพยายามแก้ไขสภาพการจราจรที่แน่นขนัด
โดยเฉพาะในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ที่มีการก่อสร้างทางรถไฟฟ้าหลายสาย เพื่อพยายามแก้ไขสภาพการจราจรที่แน่นขนัด
เช่นเดียวกับหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัดที่มีความเจริญเติบโตมากขึ้น
จนทำให้การดำรงชีวิตของผู้คนแทบไม่แตกต่างจากคนในกรุงเทพฯ
จนสิ่งที่ต้องเผชิญก็คล้ายคลึงกัน คือ “ปัญหารถติด”
จนทำให้การดำรงชีวิตของผู้คนแทบไม่แตกต่างจากคนในกรุงเทพฯ
จนสิ่งที่ต้องเผชิญก็คล้ายคลึงกัน คือ “ปัญหารถติด”
แต่สิ่งที่ “ติด” ยิ่งกว่า ก็คือ
ในหลายจังหวัดไม่ได้มีเครือข่ายระบบขนส่งมวลชนเหมือนกับกรุงเทพฯ..
ในหลายจังหวัดไม่ได้มีเครือข่ายระบบขนส่งมวลชนเหมือนกับกรุงเทพฯ..
ภาคเอกชนในจังหวัดเหล่านั้น จึงได้รวมตัวกันเพื่อก่อตั้งบริษัทที่จะพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในท้องถิ่น โดยเฉพาะ “ระบบรถเมล์” เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย ลดปัญหาการจราจร
รวมถึงรองรับการขยายตัว ของทั้งภาคธุรกิจ และภาคการท่องเที่ยวในอนาคต
รวมถึงรองรับการขยายตัว ของทั้งภาคธุรกิจ และภาคการท่องเที่ยวในอนาคต
โดยจังหวัดที่ได้ริเริ่มมีระบบขนส่งมวลชนแล้ว ได้แก่
จังหวัดขอนแก่น
“ขอนแก่นซิตี้บัส” ดำเนินการโดย บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด
“ขอนแก่นซิตี้บัส” ดำเนินการโดย บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด
ให้บริการรถบัส 3 สาย เชื่อมระหว่างสนามบิน สถานที่สำคัญ และย่านการค้าของเมืองขอนแก่น
รถที่ให้บริการเป็นรถบัสปรับอากาศ, มี Free Wifi, กล้อง CCTV ติดตามการเดินรถผ่านทาง Applicationได้ ค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย
Facebook Page : ขอนแก่นซิตี้บัส : Khon Kaen City Bus
Application : KK Transit
Application : KK Transit
จังหวัดเชียงใหม่
“RTC City Bus” ดำเนินการโดย บริษัท รีเจียนนอล ทรานซิสท์ คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (RTC)
“RTC City Bus” ดำเนินการโดย บริษัท รีเจียนนอล ทรานซิสท์ คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (RTC)
ให้บริการรถบัส 3 สาย เชื่อมระหว่างสนามบิน มหาวิทยาลัย ย่านเมืองเก่า ย่านการค้าและย่านท่องเที่ยวของเมืองเชียงใหม่
รถที่ให้บริการเป็นรถบัสปรับอากาศ, มี Free Wifi, กล้อง CCTV ติดตามการเดินรถผ่านทาง Applicationได้ ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย และสามารถชำระผ่านบัตร Rabbit ได้
Facebook Page : RTC Chiang Mai City Bus
Application : CM Transit by RTC
Application : CM Transit by RTC
จังหวัดอุดรธานี
“อุดรซิตี้บัส” ดำเนินการโดย บริษัท อุดรธานีพัฒนาเมือง จำกัด
ให้บริการรถบัส 2 สาย เชื่อมระหว่างสนามบิน สถานีรถไฟ และสถานที่สำคัญหลักๆ ของเมืองอุดรธานี
“อุดรซิตี้บัส” ดำเนินการโดย บริษัท อุดรธานีพัฒนาเมือง จำกัด
ให้บริการรถบัส 2 สาย เชื่อมระหว่างสนามบิน สถานีรถไฟ และสถานที่สำคัญหลักๆ ของเมืองอุดรธานี
รถที่ให้บริการเป็น รถบัสปรับอากาศ, มี Free Wifi, มีกล้อง CCTV และติดตามการเดินรถผ่านทาง Applicationได้ ค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย
Facebook Page : อุดรซิตี้บัส Udon City Bus
Application : Udon City Bus
Application : Udon City Bus
จังหวัดนนทบุรี
แม้จะเป็นเขตปริมณฑลของกรุงเทพฯ แต่การเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงกับส่วนอื่นๆ ของเมืองก็ยังขาดระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ
แม้จะเป็นเขตปริมณฑลของกรุงเทพฯ แต่การเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงกับส่วนอื่นๆ ของเมืองก็ยังขาดระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ
“RTC Nonthaburi City Bus” ดำเนินการโดย บริษัท รีเจียนนอล ทรานซิสท์ คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (RTC) จึงเข้ามาเติมเต็มในส่วนที่ขาดหายไป ให้บริการรถบัส 1 สาย ที่เชื่อมระหว่าง รถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานที่ราชการ ย่านการค้าของเมืองนนทบุรี
รถที่ให้บริการเป็น รถบัสปรับอากาศ, มี Free Wifi, กล้อง CCTV และติดตามการเดินรถผ่าน Application ค่าโดยสาร 24 บาทตลอดสาย และสามารถชำระผ่านบัตร Rabbit ได้
Facebook Page : RTC Nonthaburi City Bus
Application : VIABUS
Application : VIABUS
นอกจากนี้ ยังมีจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดเชียงราย ที่พัฒนาระบบรถเมล์เช่นเดียวกัน
โดยในอนาคต ก็ยังมีอีกหลายๆ จังหวัด ที่มีแผนการพัฒนาระบบรถเมล์ของตัวเองขึ้นมา
ทั้งอุบลราชธานีและสงขลา (อำเภอหาดใหญ่)
ทั้งอุบลราชธานีและสงขลา (อำเภอหาดใหญ่)
ในขณะที่จังหวัดที่มีเครือข่ายรถเมล์อยู่แล้ว
ก็มีแผนที่จะขยายเส้นทางเดินรถให้ครอบคลุมมากขึ้น
และพัฒนาบริการให้ดีขึ้น รองรับผู้โดยสารได้ทุกกลุ่ม ทั้งผู้สูงอายุ เด็ก และผู้พิการ
แม้ในขณะนี้ หลายบริษัทจะยังคงประสบภาวะขาดทุนอยู่
ก็มีแผนที่จะขยายเส้นทางเดินรถให้ครอบคลุมมากขึ้น
และพัฒนาบริการให้ดีขึ้น รองรับผู้โดยสารได้ทุกกลุ่ม ทั้งผู้สูงอายุ เด็ก และผู้พิการ
แม้ในขณะนี้ หลายบริษัทจะยังคงประสบภาวะขาดทุนอยู่
หันกลับมามองระบบรถเมล์ของกรุงเทพฯ ที่แม้จะมีการดำเนินการมาก่อนต่างจังหวัดหลายสิบปี และผ่านการปรับปรุงมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง
“ความหวัง” ของชาวกรุงเทพฯ ก็ยังคง “ติดขัด” ไม่ต่างกับสภาพการจราจร..