รถตุ๊ก ๆ ไฟฟ้า ทางเลือกใหม่ในการเดินทางของคนเมือง
18 มิ.ย. 2021
“ตุ๊ก ๆ” น่าจะเป็นหนึ่งเอกลักษณ์ของกรุงเทพฯ ในสายตาของชาวต่างชาติ
ซึ่งเมื่อก่อน ตุ๊ก ๆ ก็ถือเป็นยานพาหะนะ ที่เราใช้เดินทางกันบ้าง
แต่ด้วยปัญหาทั้งเรื่องราคาที่ไม่แน่นอน ประกอบกับเสียงเครื่องยนต์ที่ค่อนข้างดัง
ก็อาจจะทำให้หลาย ๆ คน หันไปใช้ทางเลือกอื่น ๆ ในการเดินทางแทน
ซึ่งเมื่อก่อน ตุ๊ก ๆ ก็ถือเป็นยานพาหะนะ ที่เราใช้เดินทางกันบ้าง
แต่ด้วยปัญหาทั้งเรื่องราคาที่ไม่แน่นอน ประกอบกับเสียงเครื่องยนต์ที่ค่อนข้างดัง
ก็อาจจะทำให้หลาย ๆ คน หันไปใช้ทางเลือกอื่น ๆ ในการเดินทางแทน
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้เราอาจจะต้องเปลี่ยนมุมมอง ที่เคยมีกับรถตุ๊ก ๆ อีกครั้ง
เพราะตอนนี้รถตุ๊ก ๆ ของไทยเรา กำลังจะปรับโฉมใหม่
เป็นรถไฟฟ้า ที่นอกจากจะไม่มีเสียงเครื่องยนต์ดังรบกวนแล้ว
ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอีกด้วย
เพราะตอนนี้รถตุ๊ก ๆ ของไทยเรา กำลังจะปรับโฉมใหม่
เป็นรถไฟฟ้า ที่นอกจากจะไม่มีเสียงเครื่องยนต์ดังรบกวนแล้ว
ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอีกด้วย
ที่สำคัญยังมาพร้อมกับแอปพลิเคชันเรียกรถ ทำให้ไม่ต้องมาคอยยืนโบกรถ ที่ไม่รู้จะมาเมื่อไร หรือมาแล้วจะรับเราเป็นลูกค้าหรือไม่
โดยผลงานชิ้นนี้เป็นของ บริษัท เออร์เบิน โมบิลิตี้ เทค จำกัด ผู้ผลิตรถตุ๊ก ๆ ไฟฟ้าเจ้าแรกในประเทศไทย
จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้เกิดขึ้นจาก คุณกฤษดา กฤตยากีรณ หรือ ดร.มิก
ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งคน ที่ต้องเผชิญกับปัญหารถติดในกรุงเทพฯ อยู่เป็นประจำ ต้องหมดเวลาไปกับการเดินทาง
ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งคน ที่ต้องเผชิญกับปัญหารถติดในกรุงเทพฯ อยู่เป็นประจำ ต้องหมดเวลาไปกับการเดินทาง
และยิ่งถ้าหากใช้บริการขนส่งสาธารณะ ก็ยิ่งไม่สะดวก เนื่องจากเป็นการเดินทางหลายต่อ
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ดร.มิก จึงเกิดแนวคิดอยากสร้างทางเลือกใหม่ ในการเดินทางให้กับคนเมือง
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ดร.มิก จึงเกิดแนวคิดอยากสร้างทางเลือกใหม่ ในการเดินทางให้กับคนเมือง
ซึ่งในขณะที่กำลังดูว่า จะใช้ยานพาหนะอะไร มาตอบโจทย์ตรงนี้
เขาก็เริ่มจากการพิจารณา ผังเมืองของกรุงเทพฯ ซึ่งมีความเก่าแก่ และเต็มไปด้วยซอกซอยที่เยอะ
เขาก็เริ่มจากการพิจารณา ผังเมืองของกรุงเทพฯ ซึ่งมีความเก่าแก่ และเต็มไปด้วยซอกซอยที่เยอะ
ดังนั้นยานพาหนะที่เลือกใช้ จะต้องมีความคล่องตัวสูง จึงจะเป็นทางออกที่หมาะสม
ทำให้ รถตุ๊ก ๆ กลายมาเป็นตัวเลือกของ ดร.มิก
ทำให้ รถตุ๊ก ๆ กลายมาเป็นตัวเลือกของ ดร.มิก
เขาจึงได้ร่วมมือกับ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ รวมถึงระบบรถไฟฟ้า และรถยนต์ เพื่อก่อตั้งเป็นบริษัท เออร์เบิน โมบิลิตี้ เทค จำกัด ขึ้นมาเมื่อ 5 ปีก่อน
โดยมีการออกแบบรถตุ๊ก ๆ ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพและความปลอดภัย
มีเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง, มีพื้นต่ำ เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถขึ้นลงได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้นยังใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน เพื่อช่วยลดมลภาวะเสียงและอากาศ
มีเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง, มีพื้นต่ำ เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถขึ้นลงได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้นยังใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน เพื่อช่วยลดมลภาวะเสียงและอากาศ
ซึ่งก็เรียกได้ว่า บริษัท เออร์เบิน โมบิลิตี้ เทค จำกัด
เป็นผู้ผลิตรถตุ๊ก ๆ ไฟฟ้าเจ้าแรกในประเทศไทย เลยก็ว่าได้
เป็นผู้ผลิตรถตุ๊ก ๆ ไฟฟ้าเจ้าแรกในประเทศไทย เลยก็ว่าได้
และด้วยความที่ประเด็นเรื่องปัญหาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในปัจจุบัน
ก็ทำให้หลาย ๆ หน่วยงาน เริ่มหันมาให้ความสนใจกับเรื่องนี้
รวมทั้งมองว่า “ยานยนต์ไฟฟ้า” เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ ที่น่าจับตามอง
ก็ทำให้หลาย ๆ หน่วยงาน เริ่มหันมาให้ความสนใจกับเรื่องนี้
รวมทั้งมองว่า “ยานยนต์ไฟฟ้า” เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ ที่น่าจับตามอง
บริษัท เออร์เบิน โมบิลิตี้ เทค จำกัด จึงได้รับการสนับสนุน
จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA
รวมถึงศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และเครือข่ายมหาวิทยาลัย
จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA
รวมถึงศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และเครือข่ายมหาวิทยาลัย
ร่วมกันพัฒนาระบบแบตเตอรี่ ที่ใช้เวลาชาร์จเพียงแค่ 30 นาที เช่นเดียวกับบริษัท Tesla
โดยผลาญค่าไฟประมาณ 50 สตางค์ต่อกิโลเมตร เท่านั้น
โดยผลาญค่าไฟประมาณ 50 สตางค์ต่อกิโลเมตร เท่านั้น
รวมถึงติดตั้งระบบ Internet of Things (loT) กับรถ เพื่อสามารถตรวจสอบความเร็ว และความสมดุลของรถได้
ซึ่งทางบริษัทก็ได้มีการผลิตและจำหน่ายรถตุ๊ก ๆ ให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม คอนโดมิเนียม และส่งออกต่างประเทศอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ดร.มิก ก็มองว่า แม้รถตุ๊ก ๆ ของเขาจะดีแค่ไหน
แต่ถ้ามีแต่ตัวรถเพียงอย่างเดียว ก็คงจะไม่ตอบโจทย์ลูกค้ายุคดิจิทัล
แต่ถ้ามีแต่ตัวรถเพียงอย่างเดียว ก็คงจะไม่ตอบโจทย์ลูกค้ายุคดิจิทัล
เนื่องจากในปัจจุบัน มีการขนส่งรูปแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันเรียกรถต่าง ๆ เช่น Grab หรือ Line Man
ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันเรียกรถต่าง ๆ เช่น Grab หรือ Line Man
ดังนั้น ดร.มิก จึงมีการสร้างแพลตฟอร์มเรียกรถตุ๊ก ๆ ไฟฟ้า ขึ้นมาควบคู่ไปด้วย
โดยมีการทำเป็น 2 แอป เพื่อจับลูกค้า 2 กลุ่มที่แตกต่างกัน
โดยมีการทำเป็น 2 แอป เพื่อจับลูกค้า 2 กลุ่มที่แตกต่างกัน
-แอปพลิเคชัน Tuk Tuk Hop เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว
ที่ต้องการเที่ยวชมรอบสถานที่สำคัญในย่าน รัตนโกสินทร์, ข้าวสาร, เยาวราช, พาหุรัด
ที่ต้องการเที่ยวชมรอบสถานที่สำคัญในย่าน รัตนโกสินทร์, ข้าวสาร, เยาวราช, พาหุรัด
-แอปพลิเคชัน Muvmi เจาะกลุ่มผู้ใช้บริการขนส่งมวลชนทั่วไป
ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้บริการรถตุ๊ก ๆ ไฟฟ้า เมื่อใดก็ได้ตามเวลาทำการ
โดยปัจจุบันให้บริการตั้งแต่บริเวณย่านรอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตามแนว BTS สถานีอารีย์ ไปจนถึง MRT สถานีกำแพงเพชร
โดยปัจจุบันให้บริการตั้งแต่บริเวณย่านรอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตามแนว BTS สถานีอารีย์ ไปจนถึง MRT สถานีกำแพงเพชร
รถตุ๊ก ๆ ที่ Muvmi ให้บริการ จะมีทั้งหมด 6 ที่นั่ง
และมีระบบรับผู้โดยสารเพิ่มระหว่างทาง ในกรณีที่ใช้เส้นทางร่วมกัน
ซึ่งเรื่องนี้ ก็น่าจะเข้ามาช่วยลดปัญหาการจราจรที่ติดขัดไปบางส่วน
และมีระบบรับผู้โดยสารเพิ่มระหว่างทาง ในกรณีที่ใช้เส้นทางร่วมกัน
ซึ่งเรื่องนี้ ก็น่าจะเข้ามาช่วยลดปัญหาการจราจรที่ติดขัดไปบางส่วน
โดยหลังจากเปิดตัวแอปพลิเคชัน Muvmi ไปไม่นาน
ในปี 2563 ก็มีผู้ใช้บริการมากถึง 6 แสนคน
ในปี 2563 ก็มีผู้ใช้บริการมากถึง 6 แสนคน
แล้วเรื่องราวเหล่านี้ ส่งผลอย่างไรต่อผลประกอบการของ บริษัท เออร์เบิน โมบิลิตี้ เทค จำกัด
ปี 2562 มีรายได้ 5 ล้านบาท
ปี 2563 มีรายได้ 49 ล้านบาท
ปี 2563 มีรายได้ 49 ล้านบาท
โดยที่รายได้ในปี 2563 เติบโตขึ้นเป็นเกือบ 10 เท่า
ส่วนหนึ่ง ก็อาจเป็นเพราะการเปิดให้ใช้งานแอปพลิเคชัน Muvmi นี้ด้วย
ส่วนหนึ่ง ก็อาจเป็นเพราะการเปิดให้ใช้งานแอปพลิเคชัน Muvmi นี้ด้วย
ซึ่งก็น่าติดตามว่า หากสถานการณ์ทุกอย่างกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง
ในส่วนของแอปพลิเคชัน Tuk Tuk Hop ที่เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว จะได้รับผลตอบรับเป็นอย่างไร
ในส่วนของแอปพลิเคชัน Tuk Tuk Hop ที่เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว จะได้รับผลตอบรับเป็นอย่างไร
เพราะที่ผ่านมา กลุ่มนักท่องเที่ยวก็ให้ความสนใจทัวร์เมืองด้วยรถตุ๊ก ๆ ที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของเมืองกรุงเทพฯ นี้ไม่น้อย
ถ้าหากมีการจัดการระบบที่ดี มีการระบุราคาที่ชัดเจน
ก็น่าจะดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการได้เช่นกัน
ถ้าหากมีการจัดการระบบที่ดี มีการระบุราคาที่ชัดเจน
ก็น่าจะดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการได้เช่นกัน
และนี่คือเรื่องราวของบริษัท เออร์เบิน โมบิลิตี้ เทค จำกัด ผู้บุกเบิกรถตุ๊ก ๆ ไฟฟ้า ในประเทศไทย
ซึ่งก็ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ในการจับปัญหาที่เราทุกคนเจอ
นั่นก็คือ ราคาที่ไม่แน่นอน, รถติด, มลภาวะเสียงและอากาศ
มาสร้างเป็นโมเดลธุรกิจ และแพลตฟอร์ม เพื่อส่งมอบประสบการณ์ การนั่งรถตุ๊ก ๆ ที่ดีกว่าเดิม
นั่นก็คือ ราคาที่ไม่แน่นอน, รถติด, มลภาวะเสียงและอากาศ
มาสร้างเป็นโมเดลธุรกิจ และแพลตฟอร์ม เพื่อส่งมอบประสบการณ์ การนั่งรถตุ๊ก ๆ ที่ดีกว่าเดิม
รวมถึงช่วยยกระดับรถตุ๊ก ๆ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเมืองกรุงเทพฯ ให้ดูทันสมัยในสายตาของชาวโลก
อ้างอิง :
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/863651
-https://www.thairath.co.th/business/entrepreneur/1581038
-https://www.businesstoday.co/busine…/startup/…/08/2019/2563/
-https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/943478
-https://www.posttoday.com/economy/news/554524
-https://www.chula.ac.th/news/15648/
-https://www.prachachat.net/property/news-286924
-https://www.banpunext.co.th/news-updates/
-https://www.posttoday.com/economy/news/554524
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/863651
-https://www.thairath.co.th/business/entrepreneur/1581038
-https://www.businesstoday.co/busine…/startup/…/08/2019/2563/
-https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/943478
-https://www.posttoday.com/economy/news/554524
-https://www.chula.ac.th/news/15648/
-https://www.prachachat.net/property/news-286924
-https://www.banpunext.co.th/news-updates/
-https://www.posttoday.com/economy/news/554524