“อิมพีเรียล” คุกกี้ในตำนาน ที่บางคน ได้เป็นของขวัญทุกปี
12 มิ.ย. 2021
ของขวัญ ซึ่งห่อด้วยกระดาษทรงกลมแบน ที่เรามักจะได้รับ ในวันจับฉลากปีใหม่
หรือมีเพื่อนฝูงที่ไม่ได้เจอกันนาน มาเยี่ยมแล้วมีของมาฝาก
หรือมีเพื่อนฝูงที่ไม่ได้เจอกันนาน มาเยี่ยมแล้วมีของมาฝาก
แต่ในช่วงเวลาพิเศษเช่นนี้ กลับทำให้เราหยุดนึกถึงคนที่มอบของขวัญให้กับเราชั่วขณะ
และจ้องมองที่ตัวของขวัญแทน แล้วลุ้นว่าภายในกระดาษห่ออันเปราะบางนี้
จะใช่คุกกี้กล่องเหล็กสีแดงในตำนาน ที่เมื่อปีที่แล้ว เราก็เคยได้มาก่อนหรือเปล่านะ..
และจ้องมองที่ตัวของขวัญแทน แล้วลุ้นว่าภายในกระดาษห่ออันเปราะบางนี้
จะใช่คุกกี้กล่องเหล็กสีแดงในตำนาน ที่เมื่อปีที่แล้ว เราก็เคยได้มาก่อนหรือเปล่านะ..
จริง ๆ แล้วไม่ต้องแกะห่อกระดาษของขวัญออกมาดู
หลายคนก็อาจจะรู้ในทันทีว่า ตัวเองแจ็กพอตแตก ได้คุกกี้ “อิมพีเรียล” มาครอบครอง..
หลายคนก็อาจจะรู้ในทันทีว่า ตัวเองแจ็กพอตแตก ได้คุกกี้ “อิมพีเรียล” มาครอบครอง..
แม้เกือบทุกคนจะรู้จัก และเคยลิ้มรสคุกกี้ของอิมพีเรียล
แต่น้อยคนนัก จะรู้ถึงที่มาที่ไป ของคุกกี้แบรนด์นี้
แต่น้อยคนนัก จะรู้ถึงที่มาที่ไป ของคุกกี้แบรนด์นี้
ดังนั้นขอย้อนความคิดถึง ที่มีต่ออิมพีเรียล ในวันวาน
ด้วยเส้นทางของ คุกกี้สูตรเดนมาร์ก ที่กำเนิดขึ้นในเมืองไทย
ด้วยเส้นทางของ คุกกี้สูตรเดนมาร์ก ที่กำเนิดขึ้นในเมืองไทย
ที่มาของเรื่องมีอยู่ว่า สามพี่น้อง คุณตง ธีระนุสรณ์กิจ, นันทนา กุศลส่งเสริม และวิจัย วิภาวัฒนกุล
ได้ร่วมกันก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด กิมจั๊วพาณิชย์ ขึ้นในปี 2501
เพื่อดำเนินธุรกิจนำเข้าและเป็นตัวแทนจำหน่าย ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป เช่น เนยและชีส จากต่างประเทศ
โดยขายส่งให้กับร้านขายของชำ ร้านอาหาร และโรงแรมต่าง ๆ
ได้ร่วมกันก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด กิมจั๊วพาณิชย์ ขึ้นในปี 2501
เพื่อดำเนินธุรกิจนำเข้าและเป็นตัวแทนจำหน่าย ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป เช่น เนยและชีส จากต่างประเทศ
โดยขายส่งให้กับร้านขายของชำ ร้านอาหาร และโรงแรมต่าง ๆ
รวมถึงเป็นผู้บุกเบิกการนำเข้าผลิตภัณฑ์เนย แบรนด์ “อลาวรี่” จากออสเตรเลีย เข้ามาขายในไทย
ต่อมาพอดำเนินธุรกิจได้หลายปี สามพี่น้องก็เล็งเห็นว่า การนำสินค้าเข้ามาขาย เริ่มมีอุปสรรค เช่น อัตราภาษีนำเข้าสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้น และกดดันกำไรของบริษัทให้ต่ำลง
ดังนั้น การผันตัวเองจากผู้นำเข้าไปเป็นผู้ผลิต จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตต่อไปในระยะยาวได้ดีกว่า
ดังนั้น การผันตัวเองจากผู้นำเข้าไปเป็นผู้ผลิต จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตต่อไปในระยะยาวได้ดีกว่า
พวกเขาเลยตัดสินใจก่อตั้งโรงงานแห่งแรกขึ้นบนถนนบางนา-ตราด
ภายใต้ชื่อบริษัท ยูไนเต็ดแดรี่ฟู้ดส์ จำกัด ในปี 2515 เพื่อผลิตเนยและชีส
ซึ่งได้รับการช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีและเครื่องจักรจาก บริษัท PDS ประเทศออสเตรเลีย ผู้ผลิตเนยอลาวรี่
ภายใต้ชื่อบริษัท ยูไนเต็ดแดรี่ฟู้ดส์ จำกัด ในปี 2515 เพื่อผลิตเนยและชีส
ซึ่งได้รับการช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีและเครื่องจักรจาก บริษัท PDS ประเทศออสเตรเลีย ผู้ผลิตเนยอลาวรี่
พอมีความชำนาญด้านการผลิตแล้ว สามพี่น้องจึงเริ่มขยายไลน์ผลิตภัณฑ์ เพื่อหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ
ซึ่งผลิตภัณฑ์ตัวถัดมาที่ถูกเลือกคือ คุกกี้
เนื่องจากสามารถต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว อย่างความรู้และวัตถุดิบเนย ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของคุกกี้ มาใช้ผลิตได้
ซึ่งผลิตภัณฑ์ตัวถัดมาที่ถูกเลือกคือ คุกกี้
เนื่องจากสามารถต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว อย่างความรู้และวัตถุดิบเนย ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของคุกกี้ มาใช้ผลิตได้
ในปี 2528 จึงได้สร้างโรงงานแห่งที่ 2 บนพื้นที่ 42 ไร่ ที่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
ภายใต้ชื่อ บริษัท อิมพีเรียล เยนเนอรัล ฟู้ดส์ อินดัสทรี่ จำกัด
เพื่อผลิตคุกกี้สไตล์เดนมาร์ก ที่มี 5 รูปทรง อย่าง เพรทเซล, วานิลลาริง, เคอร์เรนท์ (ทรงกลมมีลูกเกด), สปีซี (กลม) และฟินนิช (สี่เหลี่ยม)
อยู่ในกล่องเหล็กสีแดง ที่มีรูปทหารเดนมาร์กบนกล่อง และใช้ชื่อแบรนด์ว่า “อิมพีเรียล”
ภายใต้ชื่อ บริษัท อิมพีเรียล เยนเนอรัล ฟู้ดส์ อินดัสทรี่ จำกัด
เพื่อผลิตคุกกี้สไตล์เดนมาร์ก ที่มี 5 รูปทรง อย่าง เพรทเซล, วานิลลาริง, เคอร์เรนท์ (ทรงกลมมีลูกเกด), สปีซี (กลม) และฟินนิช (สี่เหลี่ยม)
อยู่ในกล่องเหล็กสีแดง ที่มีรูปทหารเดนมาร์กบนกล่อง และใช้ชื่อแบรนด์ว่า “อิมพีเรียล”
ซึ่งสาเหตุที่ใช้กล่องเหล็ก เพราะจะช่วยลดแรงกระแทก และปกป้องความเปราะบางของคุกกี้
ส่วนที่ใช้สีแดง เพราะเป็นสีมงคลของคนจีน ซึ่งในประเทศไทย มีคนไทยเชื้อสายจีนอยู่มาก
ส่วนที่ใช้สีแดง เพราะเป็นสีมงคลของคนจีน ซึ่งในประเทศไทย มีคนไทยเชื้อสายจีนอยู่มาก
โดยการสร้างแบรนด์อิมพีเรียล ในยุคแรก ๆ กลุ่มบริษัทก็ไม่ได้ใช้กลยุทธ์อะไรที่ซับซ้อนมาก
แต่จะโฟกัสกับการทำสินค้าให้มีคุณภาพ และพัฒนาสินค้าอยู่เสมอ
แต่จะโฟกัสกับการทำสินค้าให้มีคุณภาพ และพัฒนาสินค้าอยู่เสมอ
สิ่งนี้ได้เป็นหัวใจสำคัญ ที่ทำให้คุกกี้ของอิมพีเรียล มีผลตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภคตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ที่ผลิตออกมาวางขาย
และทำให้เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นคุกกี้กล่องแดงในตำนาน ที่ไม่มีใครไม่รู้จัก
และทำให้เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นคุกกี้กล่องแดงในตำนาน ที่ไม่มีใครไม่รู้จัก
ซึ่งเมื่อประสบความสำเร็จกับคุกกี้แล้ว กลุ่มบริษัทก็เดินหน้าขยายไลน์ผลิตภัณฑ์ไม่หยุดหย่อน
ไม่ว่าจะเป็น การขยายสู่ผลิตภัณฑ์นม ภายใต้ชื่อ บริษัท ยูไนเต็ด แดรี่ ฟาร์ม จำกัด
และได้สิทธิ์เป็นผู้ผลิตน้ำส้ม แบรนด์ “ซันควิก” ภายใต้ชื่อ บริษัท อิมพีเรียล สเปเชียลตี้ ฟูดส์ จำกัด ในปี 2531
ไม่ว่าจะเป็น การขยายสู่ผลิตภัณฑ์นม ภายใต้ชื่อ บริษัท ยูไนเต็ด แดรี่ ฟาร์ม จำกัด
และได้สิทธิ์เป็นผู้ผลิตน้ำส้ม แบรนด์ “ซันควิก” ภายใต้ชื่อ บริษัท อิมพีเรียล สเปเชียลตี้ ฟูดส์ จำกัด ในปี 2531
เริ่มเป็นผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ในธุรกิจเบเกอรี ในปี 2550
และก่อตั้ง IBAF (ไอบาฟ) หรือโรงเรียนศิลปการทำเบเกอรี่และอาหารอิมพีเรียล ในปี 2551 เป็นต้น
และก่อตั้ง IBAF (ไอบาฟ) หรือโรงเรียนศิลปการทำเบเกอรี่และอาหารอิมพีเรียล ในปี 2551 เป็นต้น
จะเห็นว่า ทุกครั้งที่มีการเพิ่มไลน์ผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจขึ้นใหม่ จะมีการจัดตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ด้วยเช่นกัน เพื่อทำหน้าที่ดูแลธุรกิจนั้น ๆ โดยเฉพาะ
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญของเรื่องนี้ก็มาถึง โดยเมื่อปี 2557 กลุ่มบริษัทได้ตัดสินใจปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ ด้วยการควบรวมทุกบริษัทในเครือ เป็นบริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (KCG Corporation)
เพื่อปรับกลยุทธ์การบริหารจัดการ ทำให้การบริหารงานไปในทิศทางเดียวกัน และเสริมศักยภาพการแข่งขัน
เพื่อปรับกลยุทธ์การบริหารจัดการ ทำให้การบริหารงานไปในทิศทางเดียวกัน และเสริมศักยภาพการแข่งขัน
ซึ่ง KCG Corporation จะมีคุณตง ธีระนุสรณ์กิจ เป็นกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ปัจจุบัน KCG Corporation นอกจากผลิตภัณฑ์ชูโรงของบริษัทอย่าง คุกกี้ อิมพีเรียล, เนยและชีสพรีเมียม อลาวรี่ และน้ำส้ม ซันควิก แล้ว
บริษัทยังมีกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่น ๆ วางขายในตลาด ทั้งแบบที่นำเข้าและผลิตเอง อาทิ
วัตถุดิบในการทำเบเกอรี เช่น แป้งและแป้งพรีมิกซ์ แบรนด์บาคาดรีน, เยลลีและแยม แบรนด์อิมพีเรียล
สินค้าประเภทนม เนย ชีส เช่น โยเกิร์ตและชีส แบรนด์เอมมี่, เนยและสเปรด แบรนด์เพรสซิเดนท์
บิสกิต เช่น คุกกี้และบิสกิต แบรนด์คุกกี้ช้อยส์
รวมถึง อาหารแช่แข็ง, อาหารสำเร็จรูป, เครื่องจักรและอุปกรณ์, เนื้อและอาหารทะเล, เครื่องดื่ม เป็นต้น
วัตถุดิบในการทำเบเกอรี เช่น แป้งและแป้งพรีมิกซ์ แบรนด์บาคาดรีน, เยลลีและแยม แบรนด์อิมพีเรียล
สินค้าประเภทนม เนย ชีส เช่น โยเกิร์ตและชีส แบรนด์เอมมี่, เนยและสเปรด แบรนด์เพรสซิเดนท์
บิสกิต เช่น คุกกี้และบิสกิต แบรนด์คุกกี้ช้อยส์
รวมถึง อาหารแช่แข็ง, อาหารสำเร็จรูป, เครื่องจักรและอุปกรณ์, เนื้อและอาหารทะเล, เครื่องดื่ม เป็นต้น
มาดูผลประกอบการของ KCG Corporation
ปี 2562 มีรายได้ 5,655 ล้านบาท กำไร 251 ล้านบาท
ปี 2563 มีรายได้ 4,950 ล้านบาท กำไร 244 ล้านบาท
ปี 2563 มีรายได้ 4,950 ล้านบาท กำไร 244 ล้านบาท
โดยสัดส่วนของรายได้ จะมาจากผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเอง ประมาณ 60% และที่นำเข้า ประมาณ 40%
สำหรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ ที่บริษัทยึดเป็นหลัก คือ การให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เพื่อให้ครอบคลุมผู้บริโภคทุกกลุ่ม ไม่เน้นเจาะเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
และมีการส่งออกสินค้าไปยัง 20-30 ประเทศทั่วโลก เพื่อแสวงหาการเติบโต และกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ
ซึ่งหลังจากนี้บริษัทก็จะเน้นทำตลาดในต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในแถบเอเชีย
ซึ่งหลังจากนี้บริษัทก็จะเน้นทำตลาดในต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในแถบเอเชีย
ที่สำคัญ เห็นว่าคุณตง ธีระนุสรณ์กิจ มีความตั้งใจที่อยากจะนำ KCG Corporation เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในอนาคตอีกด้วย
และถ้าเป็นจริงอย่างที่หวัง
ต่อไปในวันสำคัญ ๆ นอกจากคุกกี้กล่องสีแดงแล้ว
อาจมีใครบางคน เริ่มมอบใบหุ้นของบริษัทคุกกี้ เป็นของขวัญแทนก็ได้..
ต่อไปในวันสำคัญ ๆ นอกจากคุกกี้กล่องสีแดงแล้ว
อาจมีใครบางคน เริ่มมอบใบหุ้นของบริษัทคุกกี้ เป็นของขวัญแทนก็ได้..