เดอะมอลล์ กรุ๊ป ผนึกกำลัง แบงก์ชาติและแบงก์พาณิชย์ สนับสนุนสินเชื่อฟื้นฟู ให้ผู้ประกอบการ SME และผู้ค้า
31 พ.ค. 2021
เดอะมอลล์ กรุ๊ป อาสาเป็นตัวกลาง เดินหน้าฟื้นฟูธุรกิจ เพื่อเศรษฐกิจไทย ผ่านโครงการ “ประสานพลังเพื่อคู่ค้า เดินหน้าฟื้นฟูธุรกิจ” จับมือ 6 สถาบันการเงินชั้นนำ สนับสนุนสินเชื่อฟื้นฟู Soft Loan
หวังเพิ่มศักยภาพ ให้ผู้ประกอบการร้านค้า ซัปพลายเออร์ SMEs ผู้ประกอบการรายย่อย กว่า 6,000 ราย เข้าถึงสินเชื่อฟื้นฟู เสริมสภาพคล่องทางการเงิน แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย และรักษาการจ้างงาน
หวังเพิ่มศักยภาพ ให้ผู้ประกอบการร้านค้า ซัปพลายเออร์ SMEs ผู้ประกอบการรายย่อย กว่า 6,000 ราย เข้าถึงสินเชื่อฟื้นฟู เสริมสภาพคล่องทางการเงิน แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย และรักษาการจ้างงาน
คุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวเปิดงานว่า การแพร่ระบาดของโควิด 19 เป็นบททดสอบความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทยและภาคธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs และรายย่อย
นับตั้งแต่เกิดวิกฤติ เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบและหดตัวเกือบมากที่สุดในภูมิภาค
เนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด 19 รุนแรง
อีกทั้งการแพร่ระบาดระลอก 3 และการกระจายวัคซีนที่ยังมีความไม่แน่นอน
นับตั้งแต่เกิดวิกฤติ เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบและหดตัวเกือบมากที่สุดในภูมิภาค
เนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด 19 รุนแรง
อีกทั้งการแพร่ระบาดระลอก 3 และการกระจายวัคซีนที่ยังมีความไม่แน่นอน
ทำให้คาดว่า เศรษฐกิจไทยอาจต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว และกว่าจะกลับมาสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติ คือ ไตรมาส 1 ปี 2566
คุณเศรษฐพุฒิ ยังกล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมา SMEs หลายรายไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้
เพราะเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยง ในช่วงที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง
สถาบันการเงินก็ประเมินความเสี่ยงของ SMEs ได้ยาก เพราะขาดข้อมูล
รวมทั้งขาดคนกลางช่วยชี้เป้า SMEs ที่มีศักยภาพที่จะกลับมาฟื้นตัว เพื่อให้ความช่วยเหลือส่งไปตรงจุด
เพราะเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยง ในช่วงที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง
สถาบันการเงินก็ประเมินความเสี่ยงของ SMEs ได้ยาก เพราะขาดข้อมูล
รวมทั้งขาดคนกลางช่วยชี้เป้า SMEs ที่มีศักยภาพที่จะกลับมาฟื้นตัว เพื่อให้ความช่วยเหลือส่งไปตรงจุด
ดังนั้นเพื่อเร่งแก้ปัญหาของ SMEs ไม่ให้ลุกลามไปมากกว่านี้ ทั้งรัฐบาล สถาบันการเงิน ผู้ประกอบการรายใหญ่ และ SMEs จึงต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุน
ทางธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลัง เห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการออกมาตรการทางการเงินเพิ่มเติมจาก “พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก. Soft Loan)”
โดยคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบต่อร่าง “มาตรการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผล
กระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (มาตรการฟื้นฟูฯ)” วงเงินรวม 3.5 แสนล้านบาท มีระยะเวลาเบิกเงินกู้ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ และขยายต่ออายุได้อีก 1 ปี หากมีเหตุจำเป็น
กระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (มาตรการฟื้นฟูฯ)” วงเงินรวม 3.5 แสนล้านบาท มีระยะเวลาเบิกเงินกู้ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ และขยายต่ออายุได้อีก 1 ปี หากมีเหตุจำเป็น
มาตรการฟื้นฟูฯ ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ เพื่อดูแลผู้ประกอบธุรกิจที่มีศักยภาพ ให้สามารถประคับประคองกิจการ พยุงระดับการจ้างงาน และมีโอกาสในการฟื้นฟูศักยภาพ รองรับโลกยุคหลังวิกฤติโควิด 19
ในการจัดทำมาตรการในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคสถาบันการเงิน และภาคเอกชน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสามารถตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจ และสอดรับกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป โดยจำแนกมาตรการเป็น 2 หมวด ตามลักษณะปัญหาที่ต่างกัน ดังนี้
1. มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) วงเงิน 2.5 แสนล้านบาท
เน้นให้สถาบันการเงินส่งผ่านสภาพคล่องดังกล่าว แก่ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบแต่ยังมีศักยภาพ
2. มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์ชำระหนี้ และให้สิทธิลูกหนี้ซื้อคืน (โครงการพักทรัพย์ พักหนี้) วงเงิน 1 แสนล้านบาท
เน้นช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ต้องใช้เวลานานในการฟื้นตัว แต่ยังมีศักยภาพและมีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน ด้วยการเจรจากับเจ้าหนี้สถาบันการเงิน เพื่อหยุดหรือลดภาระหนี้
เน้นให้สถาบันการเงินส่งผ่านสภาพคล่องดังกล่าว แก่ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบแต่ยังมีศักยภาพ
2. มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์ชำระหนี้ และให้สิทธิลูกหนี้ซื้อคืน (โครงการพักทรัพย์ พักหนี้) วงเงิน 1 แสนล้านบาท
เน้นช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ต้องใช้เวลานานในการฟื้นตัว แต่ยังมีศักยภาพและมีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน ด้วยการเจรจากับเจ้าหนี้สถาบันการเงิน เพื่อหยุดหรือลดภาระหนี้
ด้านคุณผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ภาคธนาคารเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการช่วยเหลือให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤติ
ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะความช่วยเหลือทางการเงินเท่านั้น แต่ยังได้ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน
นำดิจิทัลแพลตฟอร์มและข้อมูลของภาครัฐ มาเสริมกลไกภาครัฐในการกระจายวัคซีนไปยังประชาชน
เพื่อลดการแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยเร็วที่สุด
ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะความช่วยเหลือทางการเงินเท่านั้น แต่ยังได้ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน
นำดิจิทัลแพลตฟอร์มและข้อมูลของภาครัฐ มาเสริมกลไกภาครัฐในการกระจายวัคซีนไปยังประชาชน
เพื่อลดการแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยเร็วที่สุด
นอกจากนี้ยังได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดได้ออกมาตรการสินเชื่อรายย่อย มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู และมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้
เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องและลดภาระทางการเงินให้กับผู้ประกอบธุรกิจ
ล่าสุดได้ออกมาตรการสินเชื่อรายย่อย มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู และมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้
เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องและลดภาระทางการเงินให้กับผู้ประกอบธุรกิจ
โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เม็ดเงินจำนวนมากหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
มีผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นรากฐานของเศรษฐกิจไทยเกี่ยวข้องถึง 2.5 ล้านราย หรือประมาณ 81% ของผู้ประกอบการ SMEs ทั้งประเทศ
มีผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นรากฐานของเศรษฐกิจไทยเกี่ยวข้องถึง 2.5 ล้านราย หรือประมาณ 81% ของผู้ประกอบการ SMEs ทั้งประเทศ
และเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการจ้างงานมากที่สุดถึง 9 ล้านคน คิดเป็น 77% ของการจ้างงานในภาค SMEs หรือมากถึง 54% ของการจ้างงานทั้งหมด
“ภายใน 6 เดือน สถาบันการเงินในสมาคมธนาคาร คาดว่าจะสามารถปล่อยสินเชื่อมาตรการฟื้นฟูฯ ได้ราว 1 แสนล้านบาท”
ในส่วนของธนาคารกรุงไทย คุณผยง เผยว่าจะสนับสนุนคู่ค้าและพันธมิตรของเดอะมอลล์ กรุ๊ป ผ่าน 2 มาตรการ คือ
1. สินเชื่อฟื้นฟู เสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2% ต่อปีในช่วง 2 ปีแรก ผ่อนชําระสูงสุดไม่เกิน 10 ปี
1. สินเชื่อฟื้นฟู เสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2% ต่อปีในช่วง 2 ปีแรก ผ่อนชําระสูงสุดไม่เกิน 10 ปี
2. สินเชื่อประเภทเงินทุนหมุนเวียนสำหรับคู่ค้าของเดอะมอลล์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี โดยให้วงเงินตามธุรกรรมการค้า
ข้อดีของสินเชื่อประเภทนี้คือ ใช้หลักประกันต่ำและได้อัตราดอกเบี้ยพิเศษ เริ่มต้น MRR สามารถกู้ได้สูงสุด 20 ล้านบาท อีกทั้งยังสามารถใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันร่วมกับการใช้หลักทรัพย์อื่นได้
ขณะที่ คุณชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ธนาคารกรุงเทพมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ในรูปแบบสินเชื่อฟื้นฟู ตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังเพื่อวัตถุประสงค์หลัก 2 ด้าน
1. เพื่อเสริมสภาพคล่อง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการประคับประคองธุรกิจไว้ และรักษาการจ้างงาน
2. เพื่อฟื้นฟูธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการรีสตาร์ตธุรกิจ ให้เดินหน้าได้ตามศักยภาพเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย
2. เพื่อฟื้นฟูธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการรีสตาร์ตธุรกิจ ให้เดินหน้าได้ตามศักยภาพเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย
“สินเชื่อฟื้นฟูตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังในครั้งนี้ มีเงื่อนไขที่ค่อนข้างยืดหยุ่นและเปิดกว้างขึ้น คืออัตราดอกเบี้ยต่ำมาก ให้วงเงินสูงขึ้น ระยะเวลากู้ยาวขึ้น วงเงินสูงขึ้น และเปิดกว้างขึ้นทั้งสำหรับรายใหม่ที่ไม่เคยกู้ และ SMEs ที่ไม่มีหลักประกัน
โดยธนาคารกรุงเทพ ตั้งเป้าสำหรับการให้สินเชื่อตามมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูของธนาคารแห่งประเทศไทยไว้ 1.5 หมื่นล้านบาท”
ด้านคุณอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า พร้อมขานรับมาตรการทางการเงิน เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) ตามนโยบายของ ธปท. ร่วมกับเดอะมอลล์ กรุ๊ป และ 5 สถาบันการเงินชั้นนำของประเทศ ในครั้งนี้
นอกจากนี้ ยังได้เตรียมสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นคู่ค้าของเดอะมอลล์ กรุ๊ป โดยเฉพาะ รวมถึงโซลูชันทางธุรกิจต่าง ๆ ที่จะช่วยผู้ประกอบการรายย่อย ลดรายจ่าย เพิ่มยอดขาย และขยายกิจการ
คุณขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “วัคซีนที่ดีที่สุดของการประกอบธุรกิจ คือ การบริหารสภาพคล่อง” ตอนนี้ ทั้งภาครัฐและเอกชนก็ร่วมมือกันเร่งให้ความช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่
ทาง KBank ก็มีโครงการช่วยเหลือ ทั้งที่เป็นมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูของธนาคารแห่งประเทศไทย และ ที่จัดเพิ่มเติมให้เองอีกสำหรับลูกค้า ทั้งลูกค้าธุรกิจและลูกค้ารายย่อยในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย
และสำหรับมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาเพิ่มเติม KBank ได้เตรียมวงเงินเข้าร่วมไว้อีก 1.5 หมื่นล้านบาท หวังว่าจะช่วยลูกค้าได้กว่า 10,000 ราย
ด้านคุณพรสนอง ตู้จินดา ประธานกลุ่มธุรกิจลูกค้าธุรกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด กล่าวว่า ธนาคารแบ่งการดูแลลูกค้าออกเป็น 2 ช่วง
ช่วงที่ 1 ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ประกอบการ เผชิญความยากลำบากจากผลกระทบของการแพร่ระบาด
ธนาคารช่วยเหลือลูกค้าโดยสนับสนุนตามนโยบายล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย คือมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูและมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ รวมทั้งช่วยเหลือด้วยมาตรการเพิ่มเติมจากกรุงศรีเอง
ธนาคารช่วยเหลือลูกค้าโดยสนับสนุนตามนโยบายล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย คือมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูและมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ รวมทั้งช่วยเหลือด้วยมาตรการเพิ่มเติมจากกรุงศรีเอง
ช่วงที่ 2 เมื่อลูกค้าผ่านพ้นวิกฤติมาได้หรือได้รับผลกระทบน้อย กรุงศรีก็มีสินเชื่ออื่น ๆ เพื่อช่วยให้ธุรกิจดำเนินได้อย่างราบรื่นมากขึ้น เช่น สินเชื่อ SME Quick Loan เป็นสินเชื่อระยะยาวแบบมีหลักประกัน ให้วงเงินสูงสุดถึง 15 ล้านบาท ดอกเบี้ยคงที่ 5% ต่อปี 2 ปีแรก เลือกผ่อนชำระได้ยาวถึง 10 ปี สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา
นอกจากความช่วยเหลือทางการเงิน กรุงศรียังคงเดินหน้าสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับลูกค้าธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการเจรจาจับคู่ธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ (Krungsri Business Virtual Matching) และกิจกรรมที่ช่วยสร้างเครือข่ายใหม่ ๆ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจได้ในระยะยาว พร้อมรับมือกับอนาคตที่เปลี่ยนไป
ด้าน คุณวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า การเข้าร่วมโครงการ “ประสานพลังเพื่อคู่ค้า เดินหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจ” ครั้งนี้ นอกจากการเสริมสภาพคล่องแก่ธุรกิจด้วยมาตรการต่าง ๆ เช่น มาตรการให้การสนับสนุนสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจ ที่ธนาคารออมสินเข้าร่วมโครงการของธนาคารแห่งประเทศไทย ปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยคงที่ 2% ต่อปี (2 ปีแรก)
ยังจัดทำมาตรการพิเศษอื่น ที่เป็นสินเชื่อผ่อนปรนหลักเกณฑ์ และลดดอกเบี้ยเป็นพิเศษอีกหลายโครงการ เพื่อช่วยเหลือเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ ได้แก่
1. สินเชื่อ Soft Loan ช่วยเหลือ SMEs ภาคการท่องเที่ยวและภาคธุรกิจอื่น วงเงินให้กู้สูงสุด 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี
2. สินเชื่อ SMEs มีที่ มีเงิน โดยใช้ที่ดินเปล่าหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นหลักประกัน หรือไถ่ถอนจำนองจากสัญญาขายฝาก คิดอัตราดอกเบี้ยปีแรก 0.10% ต่อปี ปีที่ 2 เท่ากับ 0.99% ต่อปี
3. สินเชื่อเพื่อผู้เช่าและผู้ประกอบการธุรกิจ Supply Chain ในเครือข่ายของ เดอะมอลล์ กรุ๊ป
อัตราดอกเบี้ย MOR 1% ต่อปี ส่วนพนักงานและลูกจ้างของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบอาจเข้าร่วมในโครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 ตามสิทธิ์ที่ปรากฏในแอปฯ MyMo วงเงินให้กู้ไม่เกิน 10,000 บาท
ปลอดชำระ 6 งวดแรก (ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย) และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ที่ทางธนาคารร่วมกับ บจ.เงินสดทันใจ จัดโปรโมชัน 2 เดือน ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือเพียง 0.49% ต่อปี
อัตราดอกเบี้ย MOR 1% ต่อปี ส่วนพนักงานและลูกจ้างของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบอาจเข้าร่วมในโครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 ตามสิทธิ์ที่ปรากฏในแอปฯ MyMo วงเงินให้กู้ไม่เกิน 10,000 บาท
ปลอดชำระ 6 งวดแรก (ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย) และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ที่ทางธนาคารร่วมกับ บจ.เงินสดทันใจ จัดโปรโมชัน 2 เดือน ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือเพียง 0.49% ต่อปี
ทั้งนี้ คุณศุภลักษณ์ อัมพุช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า เดอะมอลล์ กรุ๊ป มีมาตรการความช่วยเหลือในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง นับแต่การแพร่ระบาดของโควิด 19 ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2563 เป็นต้นมา
ประกอบด้วย 4 มาตรการ คือ มาตรการรณรงค์ “ฉีดวัคซีน เพื่อชาติ”, มาตรการ “บริจาค ฟันฝ่าวิกฤตการณ์โควิด19”, มาตรการ “สนับสนุน SME และเกษตรกรไทย” และมาตรการ “ประสานพลังเพื่อคู่ค้า เดินหน้าฟื้นฟูธุรกิจ”
ในครั้งนี้ เดอะมอลล์ กรุ๊ป จะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง อำนวยความสะดวกในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ตกลงกันระหว่างผู้กู้และธนาคาร
โดยหวังให้คู่ค้าทุกรายได้ก้าวข้ามผ่านวิกฤติโควิด 19 ในสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ไปด้วยกัน พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน
โดยหวังให้คู่ค้าทุกรายได้ก้าวข้ามผ่านวิกฤติโควิด 19 ในสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ไปด้วยกัน พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน