ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ เผย “รายงานความมั่งคั่งและไลฟ์สไตล์จากทั่วโลก ประจำปี 2021”
28 พ.ค. 2021
“บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด” (SCB Julius Baer) บริษัทร่วมทุนระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์ และ “จูเลียส แบร์” (Julius Baer) ผู้นำธุรกิจบริหารความมั่งคั่งระดับโลกจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เปิดเผย “รายงานความมั่งคั่งและไลฟ์สไตล์จากทั่วโลก ประจำปี 2021” (Global Wealth and Lifestyle Report 2021 -GWLR) ที่จัดทำโดยจูเลียส แบร์
โดยนำเสนอข้อมูล ผลการวิเคราะห์ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และบริการต่าง ๆ ที่สะท้อนถึงไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งระดับสูง (High-Net-Worth Individual - HNWI) ใน 25 เมืองสำคัญทั่วโลก
โดยนำเสนอข้อมูล ผลการวิเคราะห์ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และบริการต่าง ๆ ที่สะท้อนถึงไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งระดับสูง (High-Net-Worth Individual - HNWI) ใน 25 เมืองสำคัญทั่วโลก
จูเลียส แบร์ ได้ทำการติดตามราคาสินค้า และบริการ รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อตรวจวัดอัตราเงินเฟ้อของราคาสินค้า และบริการต่าง ๆ ที่เป็นตัวแทนของกลุ่มผู้บริโภค HNWI ในเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก
จากรายงานพบว่า มีความแตกต่างกันในระดับภูมิภาคต่าง ๆ แต่โดยรวมแล้วราคาสินค้าที่สะท้อนถึงไลฟ์สไตล์ของผู้มีความมั่งคั่งทั่วโลก เพิ่มขึ้นเพียง 1.05%
โดยทวีปเอเชีย ยังคงเป็นภูมิภาคที่มีมูลค่าการบริโภคที่ราคาแพงที่สุดในโลก สำหรับกลุ่ม HNWI ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ของราคาการบริโภคระดับไฮเอนด์ของภูมิภาคนี้
โดยทวีปเอเชีย ยังคงเป็นภูมิภาคที่มีมูลค่าการบริโภคที่ราคาแพงที่สุดในโลก สำหรับกลุ่ม HNWI ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ของราคาการบริโภคระดับไฮเอนด์ของภูมิภาคนี้
ข้อมูลของดัชนีดังกล่าวเหมือนกับในปีที่ผ่านมา ยังคงชี้ให้เห็นข้อสรุปที่ชัดเจนทั้ง 2 ข้อเกี่ยวกับผู้บริโภคที่ต้องการรักษาความมั่งคั่ง ข้อแรกคือ การลงทุน โดยอัตราเงินเฟ้อ และปัจจัยอื่น ๆ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา และกฎระเบียบท้องถิ่นต่าง ๆ นั้นมีบทบาทอย่างมากต่ออำนาจการซื้อเพื่อความมั่งคั่งของผู้บริโภค
และข้อที่ 2 คือ การรับรู้ถึงข้อมูลอัตราเงินเฟ้อในท้องถิ่นหรืออัตราเงินเฟ้อส่วนบุคคล และปรับใช้กลยุทธ์การวางแผน และการจัดการความมั่งคั่งที่เหมาะสมจะเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาความมั่งคั่งไม่ให้สูญสลายไปตามกาลเวลา
สาระสำคัญจากดัชนีไลฟ์สไตล์ ประจำปี 2021 ของจูเลียส แบร์
ดัชนีไลฟ์สไตล์มีการเปลี่ยนแปลงที่สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาของการบริโภคระดับไฮเอนด์ โดยในปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้าและบริการที่ส่งผลดีต่อผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกเป็นอย่างมาก จากการที่สินค้าใหม่มีแนวโน้มว่าราคาจะถูกลง
อย่างไรก็ตาม เอเชียยังคงเป็นภูมิภาคที่มีราคาการบริโภคสินค้าที่แพงที่สุด โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากวิกฤติสุขภาพทั่วโลก เสถียรภาพของค่าเงิน และความยืดหยุ่นของราคาในรายการดัชนี
โดยปัจจุบัน เซี่ยงไฮ้ ถือเป็นเมืองที่ถูกจัดอันดับว่าแพงที่สุด ตามด้วยโตเกียว และฮ่องกง ซึ่งเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูงเป็นอันดับสอง และสามตามลำดับ
แต่ในสภาพการณ์โดยรวม มุมไบ ยังคงเป็นหนึ่งในเมืองที่ความมั่งคั่งสามารถไปได้ไกลที่สุด
แต่ในสภาพการณ์โดยรวม มุมไบ ยังคงเป็นหนึ่งในเมืองที่ความมั่งคั่งสามารถไปได้ไกลที่สุด
ทวีปอเมริกา เป็นภูมิภาคที่มีราคาเข้าถึงได้มากที่สุด (Most Affordable) สำหรับการใช้ชีวิตอย่างหรูหราในปีนี้ โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากราคาของดอลลาร์สหรัฐฯ และดอลลาร์แคนาดาที่ลดลง เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่น ๆ ทั่วโลก
รวมถึงการลดลงอย่างรวดเร็วของค่าเงินในละตินอเมริกา เม็กซิโกซิตี้ และแวนคูเวอร์ ถือเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพที่เข้าถึงได้มากที่สุดในดัชนี
มีเพียงนิวยอร์ก เมืองเดียวเท่านั้นที่ยังคงติดอันดับ 10 เมืองที่แพงที่สุด โดยการดูแลสุขภาพในภูมิภาคนี้จะมีราคาแพงที่สุด แต่ด้านเทคโนโลยีส่วนบุคคล (Personal Technology) ยังคงมีราคาไม่แพงเนื่องจากสหรัฐอเมริกา เป็นที่ตั้งขององค์กรด้านเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ระดับโลก
โจฮันเนสเบิร์ก ได้กลายมาเป็นเมืองที่ราคาดีที่สุดในการมีไลฟ์สไตล์แบบหรูหรา (Most Well-Priced) ในดัชนีปีนี้ ซึ่งเป็นเมืองในทวีปแอฟริกาเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับ
และเป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองที่ระดับราคาร่วงลงอย่างมากในปีที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินแรนด์ของแอฟริกาใต้อ่อนค่าลงอย่างมาก
และเป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองที่ระดับราคาร่วงลงอย่างมากในปีที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินแรนด์ของแอฟริกาใต้อ่อนค่าลงอย่างมาก
สำหรับเมืองอื่น ๆ ในภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA) ที่ได้ไต่ขึ้นอันดับในดัชนีนั้น เป็นผลสืบเนื่องด้วยแรงหนุนจากค่าเงินยูโร และฟรังก์สวิสฯ ที่แข็งค่าขึ้น ยกเว้นลอนดอนที่ไม่ได้เลื่อนอันดับขึ้นหรือลง เนื่องจากความไม่แน่นอนของเงื่อนไขข้อตกลงเบร็กซิท (Brexit)
วิกฤติของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั่วโลกในปี 2020 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อดัชนีในปีนี้ โดยในภูมิภาคเอเชีย กรุงเทพฯ และสิงคโปร์ ต่างก็ลดอันดับลง
ในขณะที่หลาย ๆ เมืองในยุโรป ก็เกิดภาวะการขาดแคลนนักท่องเที่ยวอย่างเป็นปรากฏการณ์เช่นกัน
ในขณะที่หลาย ๆ เมืองในยุโรป ก็เกิดภาวะการขาดแคลนนักท่องเที่ยวอย่างเป็นปรากฏการณ์เช่นกัน
นอกจากนี้ ด้านค่าใช้จ่ายของเที่ยวบินชั้นธุรกิจทั่วโลก ยอดการขายบัตรโดยสารกลายเป็นศูนย์หรือแทบไม่มีเลยในช่วงวิกฤติที่ผ่านมา ส่งผลให้สายการบินต้องเพิ่มราคาค่าโดยสารให้สูงขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมต้นทุน หรือลดราคาบัตรโดยสารแบบถูกกว่าท้องตลาดเพื่อสร้างความคุ้มค่า และดึงดูดนักเดินทาง
ในปัจจุบัน ยังไม่มีความชัดเจนว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะดำเนินไปอย่างไรท่ามกลางวิกฤติการณ์ครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นนี้ ถึงแม้ว่าในช่วงที่สถานการณ์และข้อจำกัดต่าง ๆ อาจจะคลี่คลายลง และการท่องเที่ยวมีแนวโน้มกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง
แต่การเปลี่ยนแปลงความคิดของผู้บริโภค และความระมัดระวังรักษาระยะห่าง เพื่อให้มีชีวิตอยู่อย่างยั่งยืนมากขึ้น อาจเป็นอุปสรรคขัดขวางการเติบโตของภาคธุรกิจท่องเที่ยวในระยะยาวได้
หมวดสินค้าฟุ่มเฟือย ที่ราคาตกลงมากที่สุดในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้แก่ รองเท้าสำหรับสุภาพสตรี (-11.7%) และห้องสวีทในโรงแรม (-9.3%)
ส่วนสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีกำไรสูงสุดคือ เที่ยวบินชั้นธุรกิจ (+ 11.4%) และวิสกี้ (+ 9.9%)
ส่วนสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีกำไรสูงสุดคือ เที่ยวบินชั้นธุรกิจ (+ 11.4%) และวิสกี้ (+ 9.9%)
การใช้จ่ายเชิงประสบการณ์ (Experiential Spending) เพิ่มสูงขึ้น ข้อมูลจากรายงานเผยว่าค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารแบบไฟน์ไดน์นิ่ง (Fine Dining) เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคมีความเต็มใจที่จะจ่ายเงินมากขึ้น เพื่อเปิดประสบการณ์ด้านอาหารหลังช่วงวิกฤติโควิด 19
ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์การใช้จ่ายแบบ “เชิงประสบการณ์” ที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน หลังจากการกักตัว และการได้รับผลกระทบที่จำกัดการใช้ชีวิตจากการล็อกดาวน์หลายครั้งในทั่วโลก ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนจากการใช้จ่ายสินค้าอย่างรอบคอบ ไปสู่การจับจ่ายเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว จัดงานอีเวนท์ และประสบการณ์ต่าง ๆ อันเป็นที่น่าจดจำ
นางสาวลลิตภัทร ธรณวิกรัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด กล่าวปิดท้ายว่า “จากรายงานความมั่งคั่งและไลฟ์สไตล์จากทั่วโลก ประจำปี 2021 เราพบว่าการลงทุนคือสิ่งจำเป็น ในช่วงที่ผ่านมานี้ถือว่าค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาไลฟ์สไตล์ที่สะดวกสบาย และความเป็นอยู่ที่ดีนั้นเพิ่มสูงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
ดัชนีแสดงให้เห็นว่ามูลค่าสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น โดยเป็นผลจากค่าเงินเฟ้อ ความผันผวนของสกุลเงิน ผลกระทบจากกฎระเบียบในท้องถิ่น และอัตราภาษี
การรักษาระดับความมั่งคั่งในระดับที่เคยทำมาอาจไม่เพียงพออีกต่อไป เพื่อรักษาระดับความมั่งคั่งนั้นไว้ กลุ่ม HNWI จะต้องมีความเชื่อมั่น และยังคงลงทุนต่อไป
การรักษาระดับความมั่งคั่งในระดับที่เคยทำมาอาจไม่เพียงพออีกต่อไป เพื่อรักษาระดับความมั่งคั่งนั้นไว้ กลุ่ม HNWI จะต้องมีความเชื่อมั่น และยังคงลงทุนต่อไป
การรักษาความมั่งคั่งให้กับคนรุ่นต่อไปจะต้องใช้ความคิดเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว โดยจะบรรลุถึงเป้าหมายนี้ได้ด้วยการวางแผนด้านความมั่งคั่งอย่างชาญฉลาดให้กับครอบครัว และสามารถปฏิบัติตามเส้นทางของกลยุทธ์เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะรักษา และส่งต่อความมั่งคั่งต่อไปจากรุ่นสู่รุ่น โดยไม่เพียงมุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าความมั่งคั่งสูงสุดเท่านั้น
แต่เป็นการสร้างค่านิยมด้านความมั่งคั่งแบบใหม่ที่จะสามารถยืนหยัดท้าทายบททดสอบของกาลเวลา และสร้างอิทธิพลในเชิงบวกให้กับโลกนี้ต่อไปได้”