เส้นทางของ ทองการ์เด้น อาณาจักรถั่ว 1,000 ล้าน
18 พ.ค. 2021
“ถั่ว” อาจดูเป็นสินค้าธรรมดา ๆ แต่เมื่ออยู่ภายใต้แบรนด์ทองการ์เด้น ที่เราพบเห็นใน 7-Eleven หรือ Shop เล็ก ๆ ตามไฮเปอร์มาร์เก็ต เช่น โลตัส, บิ๊กซี ใครจะคิดว่า สามารถทำรายได้ ได้ถึงหลักพันล้านบาท
โดย บริษัท ทองการ์เด้น จำกัด (ประเทศไทย)
ปี 2560 ทำรายได้ 1,577 ล้านบาท กำไร 47 ล้านบาท
ปี 2561 ทำรายได้ 1,573 ล้านบาท กำไร 59 ล้านบาท
ปี 2562 ทำรายได้ 1,589 ล้านบาท กำไร 64 ล้านบาท
ปี 2560 ทำรายได้ 1,577 ล้านบาท กำไร 47 ล้านบาท
ปี 2561 ทำรายได้ 1,573 ล้านบาท กำไร 59 ล้านบาท
ปี 2562 ทำรายได้ 1,589 ล้านบาท กำไร 64 ล้านบาท
ที่มาที่ไปของบริษัทถั่วพันล้านนี้ เป็นอย่างไร มีต้นกำเนิดจากประเทศอะไร
และใครเป็นผู้ก่อตั้ง ?
และใครเป็นผู้ก่อตั้ง ?
จุดเริ่มต้นของ ทองการ์เด้น เริ่มต้นจากชายชาวจีน
คุณอ๋องตงกวน ที่ตัดสินใจย้ายออกจากบ้านเกิด ในมณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน มายังประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี พ.ศ. 2476 พร้อมกับจักรยานคู่ใจของเขา
คุณอ๋องตงกวน ที่ตัดสินใจย้ายออกจากบ้านเกิด ในมณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน มายังประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี พ.ศ. 2476 พร้อมกับจักรยานคู่ใจของเขา
ณ ตอนนั้น คุณอ๋องตงกวน เต็มไปด้วยความหวังและความฝัน ถึงอนาคตที่ยิ่งใหญ่
ทำให้เขาใช้ชีวิต ด้วยการต่อสู้ดิ้นรน และตั้งใจทำงาน
จนหลังจากผ่านไป 30 ปี เขาก็สามารถสร้างโรงงานเป็นของตัวเองขึ้นมาได้ ซึ่งเป็นโรงงานหลังคาสังกะสีขนาดเล็ก ที่มีพนักงานเพียงไม่กี่คน
ทำให้เขาใช้ชีวิต ด้วยการต่อสู้ดิ้นรน และตั้งใจทำงาน
จนหลังจากผ่านไป 30 ปี เขาก็สามารถสร้างโรงงานเป็นของตัวเองขึ้นมาได้ ซึ่งเป็นโรงงานหลังคาสังกะสีขนาดเล็ก ที่มีพนักงานเพียงไม่กี่คน
ผลิตภัณฑ์แรกที่เริ่มทำ คือการขายถั่วลิสง ที่ได้เมล็ดมาจากถั่วปักกิ่ง ซึ่งเป็นถั่วที่ถูกนำมาใช้ในเมนูอาหาร เช่น ผัดถั่วเสฉวนหรือผัดถั่วแขก นั่นเอง
ในตอนนั้นเอง การทำถั่วลิสงขาย ถือว่าเป็นการบุกเบิกตลาด อีกทั้งยังมีความต้องการอยู่ในตลาด จากผู้บริโภค
เพราะชาวจีนส่วนใหญ่ในสิงคโปร์ เป็นผู้อพยพมาจากมณฑลทางใต้ของจีน ทำให้ชื่นชอบกินถั่วลิสงเป็นของทานเล่น และวัฒนธรรมของคนจีน ก็มักจะมีถั่วลิสงไว้ติดบ้านเพื่อรับแขก เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
เมื่อมาถูกทาง ธุรกิจก็เจริญขึ้นเรื่อย ๆ จนในปี พ.ศ. 2509 ก็ได้มีการขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ อาทิ ถั่วลิสงซานตง, เม็ดมะม่วงหิมพานต์, ถั่วปากอ้า, ถั่วลูกไก่ และถั่วลันเตา
รวมถึงการแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ บิสกิตและแครกเกอร์ เป็นครั้งแรก เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย ครอบคลุมความต้องการมากขึ้น
รวมถึงการแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ บิสกิตและแครกเกอร์ เป็นครั้งแรก เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย ครอบคลุมความต้องการมากขึ้น
พร้อมกันนั้นก็ได้ขยับขยายโรงงาน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตและรองรับสินค้าชนิดใหม่ที่เกลังบาห์รูในประเทศสิงคโปร์
หลังจากธุรกิจเติบโตมากขึ้น ในที่สุด บริษัท ทองการ์เด้น ก็ได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการครั้งแรก ในประเทศสิงคโปร์ ตอนปี พ.ศ. 2523
ตามด้วยการก่อตั้งบริษัทในสาขาต่างประเทศ อย่างประเทศมาเลเซีย ฮ่องกง และไทย ตามลำดับ
ตามด้วยการก่อตั้งบริษัทในสาขาต่างประเทศ อย่างประเทศมาเลเซีย ฮ่องกง และไทย ตามลำดับ
โดยสิ่งที่ทำให้ ทองการ์เด้น ประสบความสำเร็จ คือการยึดถือ “คุณภาพ” ที่อยู่ในทุก ๆ รายละเอียดของการผลิต ไม่ว่าจะเป็น
- ถั่วชนิดต่าง ๆ ที่คัดสรรมาจากแหล่งวัตถุดิบที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็น แคลิฟอร์เนีย ออสเตรเลีย และประเทศอื่น ๆ อีกมากมาย
- บรรจุภัณฑ์ที่มีการพัฒนา ปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา เพื่อถนอมคุณภาพของถั่วชนิดต่าง ๆ ไว้อย่างดี
- ถั่วชนิดต่าง ๆ ที่คัดสรรมาจากแหล่งวัตถุดิบที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็น แคลิฟอร์เนีย ออสเตรเลีย และประเทศอื่น ๆ อีกมากมาย
- บรรจุภัณฑ์ที่มีการพัฒนา ปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา เพื่อถนอมคุณภาพของถั่วชนิดต่าง ๆ ไว้อย่างดี
ซึ่งสิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับทองการ์เด้น คือบรรจุภัณฑ์ ที่ถูกนำมาใช้พร้อมกับการเปิดตัว ถั่วพิสตาชิโอ
บรรจุภัณฑ์แบบอะลูมิเนียมฟอยล์ ที่ถูกนำมาใช้แทนบรรจุภัณฑ์แบบพลาสติก ที่เป็นรูปแบบเดิม
บรรจุภัณฑ์แบบอะลูมิเนียมฟอยล์ ที่ถูกนำมาใช้แทนบรรจุภัณฑ์แบบพลาสติก ที่เป็นรูปแบบเดิม
โดยในตอนนั้น ถือว่าเป็นการปฏิวัติวงการเลยก็ว่าได้ เพราะนอกจากบรรจุภัณฑ์แบบอะลูมิเนียมฟอยล์ จะช่วยรักษาความสดของถั่วพิสตาชิโอไว้ได้แล้ว ยังทำให้ราคาขายปลีกถูกลงอีกด้วย
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ ทองการ์เด้น กลายเป็นผู้นำตลาดถั่วพิสตาชิโอ รวมถึงกลายเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว
หลังจากที่ทองการ์เด้น เข้าสู่ยุคเฟื่องฟู จึงได้มีการวางแผนรองรับสำหรับการขยายตัว โดยได้ย้ายโรงงานไปตั้งรกรากที่ ชินบี ในปี พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นแหล่งพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในสิงคโปร์
โดยโรงงานแห่งใหม่นี้ มีขนาดใหญ่กว่าเดิมถึง 20 เท่า
โดยโรงงานแห่งใหม่นี้ มีขนาดใหญ่กว่าเดิมถึง 20 เท่า
เมื่อธุรกิจเติบโตแล้ว สิ่งที่ทองการ์เด้นทำต่อไป คือการขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มขนมขบเคี้ยว ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่ใกล้เคียงกับความเชี่ยวชาญที่ตัวเองมีอยู่
อย่างเช่น แบรนด์ NOI มันฝรั่งชนิดแท่งทอดกรอบ, Sun Gift ผลไม้อบแห้ง
และขยายผลิตภัณฑ์ถั่ว ไปยังอัลมอนด์, แมคาเดเมีย, เมล็ดทานตะวัน และอื่น ๆ จนถึงปัจจุบัน
และขยายผลิตภัณฑ์ถั่ว ไปยังอัลมอนด์, แมคาเดเมีย, เมล็ดทานตะวัน และอื่น ๆ จนถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้น ก็ยังขยายช่องทางการขาย ไปสู่การจัดหาอาหารว่างบนเครื่องบิน ให้กับสายการบินต่าง ๆ
จากความสำเร็จทั้งหมดนี้ ต้องชื่นชมผู้ชายที่ชื่อว่า อ๋องตงกวน ที่สร้างเนื้อสร้างตัว ก่อตั้งบริษัทจนมีชื่อเสียงไปนอกประเทศ
และถึงแม้คุณอ๋องตงกวนจะจากไปแล้ว แต่ธุรกิจก็ยังถูกสานต่อจากลูกชายของเขา ที่ชื่อ อ๋องเต๊กชวน
และถึงแม้คุณอ๋องตงกวนจะจากไปแล้ว แต่ธุรกิจก็ยังถูกสานต่อจากลูกชายของเขา ที่ชื่อ อ๋องเต๊กชวน
โดยปัจจุบัน ทองการ์เด้นขยายตัวไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมมีพนักงานทั้งหมดมากกว่า 1,000 คน และผลิตภัณฑ์ก็ได้รับความนิยมจากหลายล้านคน ใน 35 ประเทศ
ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าว ล้วนเกิดจากความพยายามอย่างต่อเนื่อง ของคุณอ๋องตงกวน
ที่ตั้งปณิธานกับตัวเองว่า จะเป็นนักธุรกิจ ที่มีความเชี่ยวชาญในด้าน “ถั่ว” ให้ได้
ที่ตั้งปณิธานกับตัวเองว่า จะเป็นนักธุรกิจ ที่มีความเชี่ยวชาญในด้าน “ถั่ว” ให้ได้
และเมื่อเป้าหมายของตัวเองสำเร็จแล้ว สิ่งต่อไปที่ต้องทำ สำหรับการเป็นเจ้าของธุรกิจ คือการต่อยอดธุรกิจ โดยสิ่งที่เลือก จะต้องมีความเกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญเดิมที่มี
อย่างในกรณีของคุณอ๋องตงกวน ที่เริ่มจากผลิตภัณฑ์ถั่ว ต่อยอดเป็นผลไม้อบแห้ง และขนมขบเคี้ยว ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันในด้านของบรรจุภัณฑ์และการขนส่ง นั่นเอง
สิ่งที่เรียนรู้ได้จาก ทองการ์เด้น คือการทำธุรกิจ หมายถึงการต่อยอดและพัฒนาแบบไม่รู้จบ
เมื่อได้เริ่มต้นทำแล้ว ทุกวินาทีหลังจากนั้น คือการแข่งขัน
เมื่อได้เริ่มต้นทำแล้ว ทุกวินาทีหลังจากนั้น คือการแข่งขัน
ซึ่งถ้าเส้นทางการแข่งขันที่เราเลือก เป็นสิ่งที่เราชอบและอินไปกับมันแล้ว นั่นจะเป็นการแข่งขันที่น่าจดจำไปตลอด ในทุก ๆ เช้าที่ตื่นมา..