Bridgestone ปรับตัวอย่างไร ในวันที่คนทั้งโลก ต้องการยางรถยนต์น้อยลง
18 มี.ค. 2021
รู้หรือไม่ว่า ยางรถยนต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย ก็คือ Bridgestone ที่มีส่วนแบ่งการตลาด 38.2%
แต่ถึงจะเป็นผู้นำตลาด ก็ไม่ได้หมายความว่าวิกฤติโควิด 19 ที่ผ่านมา จะละเว้นแต่อย่างใด
เพราะไม่ว่าจะเป็นเจ้าตลาด ครองส่วนแบ่งการตลาดมากแค่ไหน จะเป็นแบรนด์เล็กหรือแบรนด์ใหญ่ ทุกคนก็ได้รับผลกระทบเหมือนกันแทบทั้งสิ้น
เพราะไม่ว่าจะเป็นเจ้าตลาด ครองส่วนแบ่งการตลาดมากแค่ไหน จะเป็นแบรนด์เล็กหรือแบรนด์ใหญ่ ทุกคนก็ได้รับผลกระทบเหมือนกันแทบทั้งสิ้น
ซึ่งผลกระทบในอุตสาหกรรมยางรถยนต์ ก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ เลย
เนื่องจากเกิดการปิดประเทศ ทำให้ราคายางพารามีความผันผวน ตามความต้องการของตลาดโลก
เนื่องจากเกิดการปิดประเทศ ทำให้ราคายางพารามีความผันผวน ตามความต้องการของตลาดโลก
และศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินว่า สถานการณ์โควิด 19 ที่เกิดขึ้นในปี 2563 เป็นปัจจัยระยะสั้นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างราคายางพาราในระยะยาว ถึงแม้ไทยจะเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพาราอันดับหนึ่งของโลกก็ตาม โดยคิดเป็นสัดส่วน 80% หรือมูลค่า 190,800 ล้านบาท
โดยสาเหตุที่สถานการณ์โควิด 19 ส่งผลต่อโครงสร้างราคายางพาราในระยะยาว ก็เพราะว่ายางพาราเป็นสินค้าที่ถูกกำหนดราคา จากความต้องการในตลาดโลก
รวมถึงลักษณะสินค้าของยางพาราเป็นการแปรรูปอย่างง่าย และสินค้ามีความแตกต่างกันน้อย ทำให้อุตสาหกรรมยางพาราของไทยเผชิญการแข่งขันสูงมาก เช่น ประเทศโดนีเซีย ที่ส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากไทย ก็จะเป็นคู่แข่งหลัก
อีกทั้งการปิดประเทศและการล็อกดาวน์ ยิ่งทำให้ภาพรวมความต้องการของยางรถยนต์ลดน้อยลง อันเกิดจากคนทำงานที่บ้านมากขึ้น นักท่องเที่ยวน้อยลง ทำให้รถทัวร์ยกเลิกการวิ่ง รวมถึงโลจิสติกส์ที่พยายามลดต้นทุน จึงลดปริมาณรถขนส่งลงด้วยเช่นกัน
จากผลกระทบที่เกิดขึ้นมากมาย แล้ว Bridgestone ปรับตัวอย่างไร ?
สิ่งแรกที่ Bridgestone ทำคือ การเปลี่ยนแผนแม่บท จาก Bridgestone 2.0 เป็น Bridgestone 3.0
ซึ่งแผนแม่บทนี้หมายถึง แผนดำเนินธุรกิจในภาพใหญ่ที่บริษัทแม่กำหนดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางให้บริษัทในเครือทั่วโลก เดินไปถึงเป้าหมายด้วยทิศทางเดียวกัน
ซึ่งแผนแม่บทนี้หมายถึง แผนดำเนินธุรกิจในภาพใหญ่ที่บริษัทแม่กำหนดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางให้บริษัทในเครือทั่วโลก เดินไปถึงเป้าหมายด้วยทิศทางเดียวกัน
จากเดิมที่แผน Bridgestone 2.0 เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2531 หลังจากควบรวมกิจการกับ บริษัท ไฟร์สโตน ไทร์ แอนด์ รับเบอร์ และเข้าซื้อ Bandag ผู้มีนวัตกรรมบริการยางหล่อดอกและการบำรุงรักษารูปแบบใหม่ ในปี พ.ศ. 2550
และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ได้ปฏิรูปนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงาน โดยล่าสุดในปี พ.ศ. 2562 Web fleet Solutions ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Bridgestone Global Group อีกด้วย
จะเห็นได้ว่าในช่วง 30 กว่าปีที่ผ่าน Bridgestone ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมเป็นหลัก และพยายามที่จะเดินนำหน้าคนอื่นหนึ่งก้าวเสมอ
ที่น่าสนใจคือในยุคนั้น เทคโนโลยียังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าไรนัก แต่บริษัทกลับมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี เข้ามาปรับใช้และวางโครงสร้างตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อปลูกฝังให้องค์กร เป็นบริษัทยางรถยนต์ที่ยอดเยี่ยมในนวัตกรรมและเทคโนโลยี
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงแต่ยังคงไม่เปลี่ยนไป คือแผน Bridgestone 3.0 ในปี พ.ศ. 2563 ที่ทิศทางการดำเนินธุรกิจยังคงโฟกัสกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีอยู่ แต่เน้นหนักมากขึ้นในการต่อยอดเทคโนโลยี สู่การส่งมอบโซลูชันแบบครบวงจรให้กับลูกค้าทุกกลุ่มของบริษัท
โดยใช้ประโยชน์จากโซลูชันสำหรับการเดินทาง ที่ได้มาตรฐานระดับโลกอย่างแพลตฟอร์มด้านการดำเนินธุรกิจ “Bridgestone T & DPaaS” เอกสิทธิ์เฉพาะของ Bridgestone
ดังนั้น ในปี 2564 นี้ Bridgestone จึงได้นำเสนอโซลูชันที่ครอบคลุมลูกค้า 2 กลุ่ม ได้แก่
1) กลุ่มยางรถยนต์นั่งและรถบรรทุกขนาดเล็ก (Passenger Tire)
- B-iTech โซลูชันอุปกรณ์วัดแรงดันลมยางอัตโนมัติ (TPMS) เชื่อมต่อสัญญาณผ่านระบบบลูทูธเข้ากับแอปพลิเคชัน แบะ B-iTech ยังสามารถตรวจสอบแรงดันลมยางที่เหมาะสมได้ตลอดเวลาแบบเรียลไทม์
- B-24hrs โซลูชันให้ลูกค้าในการติดต่อผ่าน Bridgestone Contact Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วันต่อปี ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษาและบริการตอบคำถามข้อมูลเรื่องทั่วไป สินค้าและบริการ ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรถยนต์ในกรณีรถเสีย หรือต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน โดยจะมีช่างเทคนิคผู้เชี่ยวชาญตอบคำถามให้ตลอด 24 ชั่วโมง
- B-Care โซลูชันปกป้องยางในกรณีที่ยางเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุ บาดบวมแตกตำ จากการใช้งานทุกกรณีที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้ (ภายใต้เงื่อนไขที่บริษัทฯ กำหนด) โดยพร้อมรับประกันเปลี่ยนยางเส้นใหม่ยกชุดถึง 4 เส้นให้ทันที
2) กลุ่มยางรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ (Commercial Tire)
นำเสนอผลิตภัณฑ์ “ยาง Bridgestone Ecopia” ที่ช่วยประหยัดน้ำมันได้ถึง 6% พร้อมยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้น และ “ยางหล่อดอก” ที่เป็นนำโครงยางเก่าไปหล่อดอกใหม่ด้วยมาตรฐานและการรับประกันจาก Bridgestone เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ช่วยให้ประหยัดต้นทุนและยังช่วยสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ก็ยังมีโซลูชัน สำหรับกลุ่มยางรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ด้วยเช่นกัน ได้แก่
- B-Track
โซลูชันในการดูแลรักษายางให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ด้วยโปรแกรมตรวจเช็คความลึกของร่องดอกยางและความดันลมยาง
เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตรวจวัดผ่านระบบบลูทูธที่พัฒนาขึ้นโดยคนไทยเพื่อลูกค้าในประเทศไทย พร้อมเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์การใช้งานของยาง ช่วยวางแผนในการเปลี่ยนยางในเวลาที่เหมาะสม เสริมทัพด้วย
- B-24hrs
โซลูชันเพื่อเสริมความแกร่งให้ธุรกิจของผู้ประกอบการเดินต่อไปได้โดยไม่สะดุด ด้วยบริการช่วยเหลือฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง ในกรณีที่ลูกค้าเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับยาง โดยผู้ประกอบการจะได้รับยางและบริการในราคาเดียวกัน ณ ศูนย์บริการของ Bridgestone ทั่วประเทศ
- B-Finance
ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกับบริษัทการเงินชั้นนำ ปล่อยสินเชื่อระยะสั้นและระยะยาวให้กับผู้ประกอบการเพื่อตอบโจทย์ให้ผู้ประกอบสามารถใช้บริการกับ Bridgestone ได้อย่างสบายใจ ไร้กังวลสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการยางที่มีคุณภาพและปลอดภัย แต่มีปัญหาเรื่องเงินสดหมุนเวียน
นอกจากนั้น Bridgestone ได้เปลี่ยนแท็กไลน์ใหม่เป็น “Solutions for your journey” ในรอบ 10 ปี เพื่อเน้นย้ำว่า ทิศทางต่อจากนี้ Bridgestone จะมอบโซลูชันใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าทุกกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์เช่นเดิม
จากแบรนด์ยางรถยนต์เบอร์หนึ่งของโลก สู่ยางรถยนต์ยอดนิยมที่สุดในไทย ทั้งหมดทั้งมวลไม่ได้เกิดจากการมีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นแค่ในด้านนวัตกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องมีนวัตกรรมในด้านการบริการด้วยเช่นกัน
เพราะ Bridgestone เชื่อว่าการส่งมอบคุณค่า ในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่ดีเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว เพราะเมื่อสินค้าเมื่อถึงมือลูกค้า ทุกอย่างก็จะสิ้นสุดลง แต่การบริการหรือโซลูชัน จะทำให้ลูกค้ารักเราอย่างยาวนาน..
Tag:Bridgestone