รู้จักกับ “บล็อกเชน” เทคโนโลยีอเนกประสงค์ ใน 5 นาที
19 ม.ค. 2021
อัฏฐ์ ทองใหญ่ อัศวานันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SE Digital ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลในประเทศไทยที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. กล่าวว่า
“อธิบายแบบง่ายๆ บล็อกเชน ก็คือเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลธุรกรรมต่างๆ ที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูงรูปแบบหนึ่ง โดยเป็นการกระจายสำเนาข้อมูลให้ทุกคนในเครือข่ายรับรู้ ทำให้เกิดความปลอดภัย
“อธิบายแบบง่ายๆ บล็อกเชน ก็คือเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลธุรกรรมต่างๆ ที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูงรูปแบบหนึ่ง โดยเป็นการกระจายสำเนาข้อมูลให้ทุกคนในเครือข่ายรับรู้ ทำให้เกิดความปลอดภัย
เพราะการแก้ไขหรือดัดแปลงข้อมูลจะทำได้ยากมาก หากมีการแก้ไข ทุกคนจะตรวจสอบได้ ทำให้ตลาดทุนยุคใหม่นำมาใช้ในการทำธุรกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล เพราะมีความโปร่งใสและความปลอดภัย
“ลองนึกถึงการฝากถอนเงินกับธนาคารตามปกติ เราต้องมีสมุดบัญชีเพื่อบันทึกหลักฐานธุรกรรมการเบิกถอนโอนเงินของเรา ธนาคารเองก็จะมีฐานข้อมูลที่บันทึกความเคลื่อนไหวของธุรกรรมต่างๆ ของลูกค้าธนาคาร บันทึกลงในสมุด เมื่อมีการโอนเงินเข้ามาหรือออกไป ใครโอนเงินให้ใคร ก็จะบันทึกยอดปัจจุบันในบัญชีของลูกค้าทุกคนอย่างถูกต้อง”
-บล็อกเชนเปรียบได้กับระบบสมุดบัญชีกลางแบบดิจิทัล
การเก็บข้อมูลบนบล็อกเชนมีข้อดีคือ สามารถแจกจ่ายสมุดบัญชีกลางที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลให้สมาชิกในเครือข่ายทุกรายเก็บไว้ แทนที่จะเก็บไว้ที่เดียว จึงมีความโปร่งใสและมั่นใจได้ว่าการปรับแก้ข้อมูลนั้นเป็นไปได้ยาก
การเก็บข้อมูลบนบล็อกเชนมีข้อดีคือ สามารถแจกจ่ายสมุดบัญชีกลางที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลให้สมาชิกในเครือข่ายทุกรายเก็บไว้ แทนที่จะเก็บไว้ที่เดียว จึงมีความโปร่งใสและมั่นใจได้ว่าการปรับแก้ข้อมูลนั้นเป็นไปได้ยาก
และถ้ามีการแก้ไขใดๆ เกิดขึ้น สมาชิกทุกรายที่อยู่ในเครือข่ายจะสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ โดยธุรกรรมและข้อมูลต่างๆ จะถูกเก็บรวบรวมไว้เป็น “บล็อก (Block)” ที่มีหลายๆ บล็อกต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ
และจะต้องมีการอ้างอิงรหัสเชื่อมต่อกับบล็อกก่อนๆ ทำให้เกิดเป็นห่วงโซ่ (Chain) จึงเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า “บล็อกเชน (Block Chain)” นั่นเอง
และจะต้องมีการอ้างอิงรหัสเชื่อมต่อกับบล็อกก่อนๆ ทำให้เกิดเป็นห่วงโซ่ (Chain) จึงเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า “บล็อกเชน (Block Chain)” นั่นเอง
ความปลอดภัยของบล็อกเชน เกิดจากการอ้างอิงข้อมูลของบล็อกที่เชื่อมกันโดยไม่ขาดสาย หากมีการแก้ไขข้อมูลรายการใดรายการหนึ่ง “รหัสเชื่อมต่อ” นี้จะพังลง ซึ่งจะทำให้การเชื่อมต่อระหว่างบล็อกที่ 1 และ 2 ขาดจากกันทันที และสืบย้อนได้ว่าในบล็อกที่ 1 เกิดการเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยทุจริต
-กลไกสำคัญของบล็อกเชน
หากจะเล่าถึงการเก็บข้อมูลโดยระบบบล็อกเชนสำหรับการลงทุนแบบง่ายๆ ก็คือการใช้เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลที่เรียกว่า Distributed Ledger Technology (DLT) หรือแปลเป็นไทยว่า “เทคโนโลยีสมุดบัญชีแบบกระจายตัว”
หากจะเล่าถึงการเก็บข้อมูลโดยระบบบล็อกเชนสำหรับการลงทุนแบบง่ายๆ ก็คือการใช้เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลที่เรียกว่า Distributed Ledger Technology (DLT) หรือแปลเป็นไทยว่า “เทคโนโลยีสมุดบัญชีแบบกระจายตัว”
โดยทั้งบล็อกเก็บข้อมูลและรหัสเชื่อมต่อล้วนอยู่ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลที่มีการแลกเปลี่ยนและเชื่อมสัญญาณข้อมูลถึงกันตลอดเวลา ดังนั้น หากเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ระบบจะตรวจพบทันที
ยกตัวอย่างเช่น สมมติมีบล็อกข้อมูลที่เชื่อมต่อกันอยู่ 10 บล็อก บล็อกทั้งสิบซึ่งอยู่ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลจะถูกกระจายสำเนาไปเก็บไว้ในหลายๆ ที่ ซึ่งแต่ละที่ก็จะมีการอ้างอิงข้อมูลระหว่างกันตลอดเวลา ดังนั้น ถ้าชุดข้อมูลในแหล่งไหนเกิดการเปลี่ยนแปลง ก็ยังมีแหล่งข้อมูลอื่นๆ คอยยืนยันความถูกต้องของข้อมูล
ในปัจจุบันมีผู้พัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบก็จะมีคุณสมบัติและการทำงานที่แตกต่างกัน จึงมีความเหมาะสมกับงานที่มีลักษณะแตกต่างกันไปด้วย
หลายประเทศเริ่มนำบล็อกเชนมาใช้ในการเก็บข้อมูลที่ต้องการความมั่นคงปลอดภัยสูง เช่น โฉนดที่ดิน เวชระเบียนผู้ป่วย การเลือกตั้ง ฯลฯ และด้วยคุณสมบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยนี้เอง บล็อกเชนจึงถูกนำมาใช้ในการทำธุรกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล บริหารจัดการเงินดิจิทัล คริปโตเคอเรนซี ซึ่งมีสกุลเงินที่หลากหลาย เช่น บิตคอยน์ อิเทอเรียม รวมทั้งโทเคนประเภทต่างๆ
-บล็อกเชนในตลาดการเงินและการลงทุน
เมื่อมีการสร้างบล็อกอย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดเก็บและบันทึกข้อมูล คำถามก็คือ ใครจะเป็นคนสร้างและยืนยันความถูกต้องของบล็อกเก็บข้อมูลใหม่ๆ จากธุรกรรมในระบบที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา?
เมื่อมีการสร้างบล็อกอย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดเก็บและบันทึกข้อมูล คำถามก็คือ ใครจะเป็นคนสร้างและยืนยันความถูกต้องของบล็อกเก็บข้อมูลใหม่ๆ จากธุรกรรมในระบบที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา?
คำตอบก็คือ ให้บุคคลภายนอกมาช่วยสร้างและยืนยันความถูกต้องของบล็อกข้อมูลใหม่ โดยที่บุคคลภายนอกนั้นไม่ต้องล่วงรู้ข้อมูลการซื้อขายหรือข้อมูลธุรกรรมภายในบล็อกเลย (เหมือนการให้สร้างเฉพาะตู้เซฟเก็บเอกสารโดยไม่ต้องเห็นเอกสารในตู้เซฟนั้นว่ามีข้อมูลอะไรอยู่บ้าง)
และเมื่อสร้างเสร็จก็จะได้ “รางวัล” หรือค่าตอบแทนสำหรับการสร้างบล็อกใหม่
และเมื่อสร้างเสร็จก็จะได้ “รางวัล” หรือค่าตอบแทนสำหรับการสร้างบล็อกใหม่
จึงเป็นที่มาของกระแสการล่ารางวัลหรือเหรียญค่าตอบแทนจากการสร้างบล็อก ซึ่งในวงการจะเรียกว่า “การขุดเหรียญ” นั่นเอง
โดยบรรดานักขุดจะต้อง “แข่งขัน” กันแก้โจทย์สมการที่ได้รับและผู้ที่แก้โจทย์ได้เป็นคนแรกจึงจะได้รางวัล (ซึ่งคำตอบจากการแก้โจทย์สมการนั้นก็จะกลายเป็นบล็อกข้อมูลใหม่นั่นเอง)
โดยบรรดานักขุดจะต้อง “แข่งขัน” กันแก้โจทย์สมการที่ได้รับและผู้ที่แก้โจทย์ได้เป็นคนแรกจึงจะได้รางวัล (ซึ่งคำตอบจากการแก้โจทย์สมการนั้นก็จะกลายเป็นบล็อกข้อมูลใหม่นั่นเอง)
พูดง่ายๆ ก็คือบรรดาผู้สร้างบล็อกหรือนักขุดเหรียญ จะมาคอยสร้างบล็อกใหม่ๆ เพื่อให้นักลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถบันทึกธุรกรรมการซื้อขายกันได้อย่างปลอดภัย โดยตัวนักขุดเองจะได้ค่าจ้างจากการทำงานสร้างบล็อกเป็นครั้งๆ จึงเรียกว่าระบบ “Proof of Work”
แต่ทุกอย่างก็มีข้อเสีย นักขุดที่มาสร้างบล็อกในระบบ “Proof of Work” ต้องมีคอมพิวเตอร์ที่มีกำลังเครื่องสูงเพื่อใช้ในการประมวลผลได้เร็วกว่านักขุดคนอื่นๆ และเนื่องจากข้อมูลที่อยู่ในระบบที่มีการทำธุรกรรมนี้มีปริมาณมาก จึงต้องใช้พลังงานไฟฟ้าปริมาณมากเช่นกัน
นักขุดที่มีกำลังทรัพย์มักจะใช้คอมพิวเตอร์และเซิร์ฟเวอร์กำลังสูงๆ ทำให้เกิดความได้เปรียบนักขุดรายอื่นๆ จึงอาจเกิดความไม่เท่าเทียมและนำไปสู่ความไม่โปร่งใสที่ก่อให้เกิดการผูกขาดในการสร้างบล็อกได้
ทำให้เกิดการพัฒนาระบบการสร้างและยืนยันความถูกต้องของบล็อกรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “Proof of Stake” ขึ้นมา โดยผู้ที่จะเข้ามาสร้างบล็อกต้องวางมัดจำก่อน เพื่อให้ได้รับสิทธิ์ในการถูกสุ่มเลือกเป็นผู้สร้างบล็อกและเมื่อทำสำเร็จก็จะได้รางวัลเป็นค่าธรรมเนียม วิธีนี้ช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่า
Proof of Stake เป็นระบบกลไกที่เริ่มได้รับความนิยมในบล็อกเชนที่เกิดขึ้นมาในช่วงหลัง ข้อดีคือมีเสถียรภาพและความแน่นอนสูงกว่าแบบการแข่งกันขุดเหรียญแบบ Proof of Work
อีกทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าด้วย เพราะใช้พลังงานต่ำกว่ามาก และหนึ่งในบล็อกเชนทางการเงินที่ใช้ระบบ “Proof of Stake” ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน คือ บล็อกเชนเทโซส (Tezos)
-ทำไมตลาดทุนยุคใหม่ถึงหันมาใช้บล็อกเชนเทโซส?
เทโซส (Tezos) คือเครือข่ายบล็อกเชนที่สนับสนุนการทำสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) เพื่อการนำสินทรัพย์ สัญญาเช่า หรือหลักทรัพย์ใดๆ มาแปลงเป็นสินทรัพย์ตามสกุลเงินดิจิทัลต่างๆ ที่ต้องการลงทุน เช่น การออกโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (investment tokens) หรือหลักทรัพย์ดิจิทัล (securities tokens)
เทโซส (Tezos) คือเครือข่ายบล็อกเชนที่สนับสนุนการทำสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) เพื่อการนำสินทรัพย์ สัญญาเช่า หรือหลักทรัพย์ใดๆ มาแปลงเป็นสินทรัพย์ตามสกุลเงินดิจิทัลต่างๆ ที่ต้องการลงทุน เช่น การออกโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (investment tokens) หรือหลักทรัพย์ดิจิทัล (securities tokens)
โดยเทโซสยังมีฟังก์ชันการทำงานอื่นๆ ที่สนับสนุนธุรกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลให้มีความสะดวกสบายและปลอดภัยกว่า นอกจากนี้ เทโซสยังมีจุดแข็งเรื่องการยอมรับการสร้างบล็อกใหม่ที่ใช้อัลกอริทึมแบบ “Proof of Stake” อีกทั้งยังสามารถอัปเกรดตัวเองได้อีกด้วย
บทวิเคราะห์โดย เอสอี ดิจิทัล (SE Digital)
Tag:Blockchain