ส่งออกเดือน พ.ย. 20 หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนที่ -3.6%YOY จากปัจจัยฐานต่ำช่วงปีก่อนหน้า
24 ธ.ค. 2020
มูลค่าส่งออกเดือนพฤศจิกายน 2020 หดตัว -3.6%YOY หลังจากหดตัว -6.7%YOY ในเดือนก่อนหน้า โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2020 การส่งออกในภาพรวมหดตัวที่ - 6.9%YOY และเมื่อหักทองคำและการส่งกลับอาวุธไปสหรัฐฯ การส่งออกจะหดตัวสูงขึ้นเป็น -9.5%YOY
การส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน การป้องกันสุขภาพ สินค้าเกษตร รถยนต์และเครื่องจักรกลขยายตัว ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรและสินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน หดตัว
-การส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบพลิกกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 9 เดือนที่ 10.3%YOY โดยตลาดสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ออสเตรเลีย (42.1%YOY) ญี่ปุ่น (100.8%YOY) และสหรัฐฯ (68.3%YOY)
-การส่งออกสินค้าเกษตรกลับมาขยายตัวที่ 6.9%YOY หลังจากหดตัว - 3.3%YOY ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าเกษตรสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว (16.7%YOY) ยางพารา (32.5%YOY) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (14.0%YOY) และผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง (6.5%YOY)
-การส่งออกเครื่องจักรกลและส่วนประกอบขยายตัวที่ 1.6%YOY หลังจากหดตัวติดต่อกัน 6 เดือน โดยตลาดสำคัญที่ขยายตัว อาทิ สหรัฐฯ จีน และเวียดนาม
-สินค้าส่งออกที่เกี่ยวข้องกับการอยู่อาศัยและทำงานที่บ้าน และการป้องกันสุขภาพมีการขยายตัวได้ต่อเนื่อง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (17.0%YOY) เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ (22.2%YOY) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (10.8%YOY) โทรศัพท์และอุปกรณ์ (35.5%YOY) และผลิตภัณฑ์ยาง (13.3%YOY) โดยถุงมือยางขยายตัวเร่งขึ้นที่ 191.9%YOY
-อย่างไรก็ดี การส่งออกเครื่องอิเล็กทรอนิกส์พลิกกลับมาหดตัวที่ - 1.4%YOY โดยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์สำคัญที่หดตัว อาทิ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (-7.4%YOY) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด (-6.1%YOY) และแผงวงจรไฟฟ้า (-8.2%YOY)
-การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรหดตัวที่ -12.2%YOY หลังจากหดตัว -14.1%YOY ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (- 3.3%YOY) เครื่องดื่ม (-8.7%YOY) และน้ำตาลทราย (-74.1%YOY)
-การส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันยังมีการหดตัวต่อเนื่อง จากราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา โดยมูลค่าส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปหดตัวที่ -19.6%YOY ในขณะที่การส่งออกเคมีภัณฑ์และพลาสติกหดตัวที่ - 3.7%YOY
รูปที่ 1 : การส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน การป้องกัน สินค้าเกษตร รถยนต์และเครื่องจักรกลขยายตัว ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรและสินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน หดตัว
หมายเหตุ : *การส่งออกไปสหรัฐฯ ไม่รวมการส่งกลับอาวุธในปี 2019 และ 2020
ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์
ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์
รูปที่ 2 : สินค้าสำคัญที่เป็นปัจจัยบวกและลบต่อการส่งออกในเดือนพฤศจิกาย น 2020
ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์
ด้านการส่งออกรายตลาด พบว่าการส่งออกไปสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และออสเตรเลียขยายตัว ขณะที่ การส่งออกไปตลาดสำคัญอื่นหดตัว
-การส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ 15.4%YOY หลังจากขยายตัว 17.0%YOY ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (12.8%YOY) ผลิตภัณฑ์ยาง (33.3%YOY) และรถยนต์และส่วนประกอบ (68.3%YOY)
-การส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นพลิกกลับมาขยายตัวที่ 5.4%YOY หลังจากหดตัวติดต่อกัน 6 เดือน โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์และส่วนประกอบ (100.8%YOY) เคมีภัณฑ์ (72.3%YOY) และโทรศัพท์และอุปกรณ์ (34.4%YOY)
-การส่งออกไปออสเตรเลียขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ 24.3% หลังจากขยายตัว 6.9%YOY ในเดือนก่อนหน้า สินค้าหลักที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ (42.1%YOY) อัญมณีและเครื่องประดับ (114.6%YOY) และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (53.0%YOY)
-อย่างไรก็ดี การส่งออกไปจีนหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ -8.9%YOY หลังจากหดตัว -6.1%YOY ในเดือนตุลาคม โดยสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก (- 8.8%YOY) คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (-16.2%YOY) และผลิตภัณฑ์ยาง (-28.5%YOY) เป็นต้น
-การส่งออกไปตลาดอาเซียน 5 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ที่ - 15.0%YOY หลังจากหดตัว -27.2%YOY ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าหลักที่หดตัว อาทิ รถยนต์และส่วนประกอบ (-24.9%YOY) น้ำมันสำเร็จรูป (-35.5%YOY) และเคมีภัณฑ์ (-18.5%YOY)
-การส่งออกไปตลาด CLMV หดตัวชะลอลงที่ -13.0%YOY หลังจากหดตัว -17.0%YOY ในเดือนก่อนหน้า สินค้าสำคัญที่หดตัว ประกอบด้วย อัญมณีและเครื่องประดับ (-78.2%YOY) น้ำมันสำเร็จรูป (- 11.9%YOY) และเครื่องดื่ม (-14.3%YOY)
-การส่งออกไปสหภาพยุโรป 15 หดตัวในอัตราเร่งขึ้นที่ -8.5%YOY หลังจากหดตัว -0.4%YOY ในเดือนตุลาคม สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (-3.3%YOY) อัญมณีและเครื่องประดับ (-34.1%YOY) และแผงวงจรไฟฟ้า (- 15.7%YOY)
-การส่งออกไปตลาดอินเดียพลิกกลับมาหดตัวที่ -1.3%YOY หลังจากขยายตัวสูงถึง 13.7%YOY ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (-29.9%YOY) และเคมีภัณฑ์ (-25.7%YOY)
ด้านมูลค่านำเข้าในเดือนพฤศจิกายนหดตัวชะลอลงเป็น -1.0%YOY หลังจากหดตัว -14.3%YOY ในเดือนก่อนหน้า โดยการนำเข้าสินค้าในเกือบทุกหมวดหดตัวในอัตราชะลอลง ได้แก่ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง (-9.8%YOY) สินค้าทุน (-2.5%YOY) สินค้าอุปโภคบริโภค (-7.7%YOY) และยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง (-8.3%YOY) ในส่วนของการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปกลับมาขยายตัวที่ 5.9%YOY แต่การขยายตัวเกิดจากการนำเข้าทองคำที่ขยายตัวสูงที่ 66.1%YOY โดยหากหักทองคำ การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปหดตัวอยู่ที่ -2.0%YOY สำหรับมูลค่า การนำเข้าในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2020 หดตัวที่ -13.7%YOY ทั้งนี้ดุลการค้าในเดือนพฤศจิกายนเกินดุลที่ 52.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในช่วง 11 เดือนแรกดุลการค้าเกินดุล 23.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Implication
มูลค่าการส่งออกของไทยในเดือนพฤศจิกายนที่หดตัวชะลอลงส่วนหนึ่งเกิดจากปัจจัยฐานต่ำ
โดยหากพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้าแบบหักผลทางฤดูกาล (%mom_sa) พบว่าการส่งออกในเดือนล่าสุดหดตัวเล็กน้อย ที่ -0.3%mom_sa สะท้อนว่าการส่งออกฟื้นตัวชะลอลงในช่วงหลัง แต่เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าการหดตัวกลับลดลงเนื่องจากปัจจัยฐานต่ำในเดือนพ ฤศจิกายน 2019 ที่มีการปิดซ่อมโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ ส่งผลต่อการส่งออกสินค้า ที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน รวมถึงได้รับผลจากสงครามการค้าที่รุนแรงเพิ่มขึ้น (trade war escalation) ในช่วงปลายปีที่แล้ว
ในระยะข้างหน้า การฟื้นตัวของการส่งออกจะพบกับอุปสรรคในระยะสั้นจากผลกระทบก ารระบาดรอบใหม่ของ COVID-19 ทั้งในต่างประเทศและไทย โดยในระยะหลัง หลายประเทศที่เป็นคู่ค้าหลักของไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น จึงทำให้ต้องกลับมาใช้มาตรการปิดเมืองที่เข้มงวดอีกครั้ง (รูปที่ 3) จึงอาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า นอกจากนี้ การกลับมาระบาดในประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่สมุทรสาคร อาจส่งผลต่อการส่งออกสินค้าประมงของไทย เนื่องจากอาจประสบปัญหาด้านแรงงาน (เมียนมา) ขาดแคลน และความเชื่อมั่นที่อาจลดลง ของประเทศคู่ค้าต่ออาหารทะเลส่งออกของไทยที่อาจปนเปื้อน COVID-19
รูปที่ 3 : หลายประเทศที่เป็นตลาดส่งออกหลักของไทย 10 อันดับแรก เริ่มใช้มาตรการเข้มงวดเพิ่มขึ้นหลังจากพบการแพร่ระบาดอีกรอบใน ช่วงหลัง
หมายเหตุ : *ข้อมูลการส่งออก หักการส่งกลับอาวุธไปสหรัฐฯ ในปี 2019
ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ Oxford และ John Hopkins
ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ Oxford และ John Hopkins
นอกจากนี้ การส่งออกไทยยังประสบปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งมีแนวโน้ มกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคส่งออกไทยในช่วงปลายปี 2020 ต่อเนื่องไปยังไตรมาสแรกของปี 2021 โดยในปัจจุบันตู้คอนเทนเนอร์ได้ค้างอยู่ที่กลุ่มประเทศยุโรปและสหรัฐฯ ค่อนข้างมาก เนื่องจากการปิดเมืองในช่วงก่อนหน้า และการส่งออกที่น้อยลงของกลุ่มประเทศในยุโรปและสหรัฐฯ ด้วยเหตุนี้ ทำให้ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลนในกลุ่มประเทศเอเชียซึ่งเป็นผู้ส่งออกหลัก ซึ่งการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าวทำให้อัตราค่าระวางเรือปรับเพิ่มสูงขึ้น มาก (รูปที่ 4) รวมถึงใช้เวลานานขึ้น ในการจัดหาตู้เพื่อการส่งออก จึงมีแนวโน้มทำให้การฟื้นตัวของการส่งออกช้าลงกว่าที่เคยคาดไว้ โดยเฉพาะในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2021 EIC จึงคาดว่าการส่งออกในปี 2021 จะฟื้นตัวอย่างช้า ๆ โดยจะขยายตัวที่ 4.7% (เดิมคาด 5.3%)
รูปที่ 4 : ปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์โดยเฉพาะในเอเชีย ทำให้อัตราค่าระวางเรือ (freight) สูงขึ้นมาก และมีแนวโน้มกระทบการฟื้นตัวของภาคการส่งออกไทย
ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ Bloomberg และ Container xChange (ณ วันที่ 23
ธ.ค. 2020)
ธ.ค. 2020)
ในส่วนของค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าเร็วกว่าประเทศคู่ค้าและคู่แข่ ง ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยกดดัน การส่งออกของไทยในปี 2021
โดยคาดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อ นค่า ประกอบกับการที่เงินจะไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ รวมถึงไทย จะทำให้เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าเพิ่มขึ้น ประกอบกับการที่ไทยถูกสหรัฐฯ จัดเป็น monitoring list ในวันที่ 16 ธันวาคม 2020 ที่ผ่านมา (รูปที่ 5) อาจทำให้ตลาดกังวลว่า ธปท. จะเข้าดูแลค่าเงินบาทได้น้อยลง จึงอาจเป็นปัจจัยเพิ่มแรงกดดันการแข็งค่าของเงินบาทเร็วกว่าประเทศคู่ค้าและคู่ แข่งได้ โดยการแข็งค่าของเงินบาทจะส่งผลโดยตรงต่อกำไรของผู้ส่งออก โดยเฉพาะผู้ส่งออกที่มีการใช้วัตถุดิบในประเทศ (local content) มาก (เช่น ผู้ส่งออกสินค้าเกษตร เป็นต้น) เนื่องจากไม่ได้รับประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาท ผ่านต้นทุนที่ลดลงของวัตถุดิบนำเข้า
รูปที่ 5 : ในวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ประกาศว่าไทยถูกจัดเป็น monitoring list
ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ ธปท. และ US department of treasury
บทวิเคราะห์โดย EIC - ธนาคารไทยพาณิชย์