วางแผนลดหย่อนภาษีปี 2563 ต้องรู้อะไรบ้าง?
18 ธ.ค. 2020
มนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ตลอดทั้งปีไม่เกิน 310,000 บาท เมื่อลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และหักค่าใช้จ่าย (ร้อยละ 50 ของรายได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 100,000 บาท) รวม 160,000 บาทแล้ว จะเหลือเงินได้สุทธิ 150,000 บาท ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษี
แต่หากใครมีรายได้สุทธิมากกว่า 310,000 บาท จะต้องยื่นภาษี และเสียภาษีตามเกณฑ์ขั้นบันได 5-35%
โดยในปี 2563 มีค่าลดหย่อนบางตัวถูกยกเลิกไป และบางรายการมีการปรับเงื่อนไขรายละเอียด
ดังนั้น ค่าลดหย่อนภาษีปี 2563 จึงแบ่งได้เป็น 5 หมวด ดังนี้
1) หมวดสำหรับลดหย่อนตัวเอง
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนบุตรคนแรก 30,000 บาท (คนที่ 2 เป็นต้นไป ได้คนละ 60,000 บาท)
- ค่าลดหย่อนบิดามารดา คนละ 30,000 บาท
- ค่าลดหย่อนผู้พิการ/ทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนการฝากครรภ์และทำคลอด ท้องละ 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนบุตรคนแรก 30,000 บาท (คนที่ 2 เป็นต้นไป ได้คนละ 60,000 บาท)
- ค่าลดหย่อนบิดามารดา คนละ 30,000 บาท
- ค่าลดหย่อนผู้พิการ/ทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนการฝากครรภ์และทำคลอด ท้องละ 60,000 บาท
2) หมวดประกัน
- ประกันชีวิตทั่วไปและประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนสูงสุด 100,000 บาท ตามที่จ่ายจริง
- ประกันสุขภาพบิดามารดา ลดหย่อนสูงสุด 15,000 บาท
- ประกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนสูงสุด 25,000 บาท แต่รวมประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนสูงสุด 200,000 บาท แต่ต้องไม่เกิน 15% ของรายได้ และเมื่อรวมกับหมวดการลงทุนเพื่อการเกษียณแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- ประกันชีวิตทั่วไปและประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนสูงสุด 100,000 บาท ตามที่จ่ายจริง
- ประกันสุขภาพบิดามารดา ลดหย่อนสูงสุด 15,000 บาท
- ประกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนสูงสุด 25,000 บาท แต่รวมประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนสูงสุด 200,000 บาท แต่ต้องไม่เกิน 15% ของรายได้ และเมื่อรวมกับหมวดการลงทุนเพื่อการเกษียณแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
3) หมวดลงทุนเพื่อการเกษียณ
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนสงเคราะห์ครู ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท (เมื่อรวมหมวดการลงทุนเพื่อการเกษียณ)
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF ลดหย่อนได้ 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อนับรวมกับ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ประกันแบบบำนาญ กบข. และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- กองทุนรวมเพื่อการออม SSF ซึ่งได้เข้ามาทดแทนกองทุนรวม LTF ที่ได้ถูกยกเลิกไป โดยลดหย่อนได้ 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ SSFX ลดหย่อนได้สูงสุด 200,000 บาท
- เงินประกันสังคม ลดหย่อนได้ 5,850 บาท (ลดลงจากเดิมคือ 9,000 บาท)
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนสงเคราะห์ครู ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท (เมื่อรวมหมวดการลงทุนเพื่อการเกษียณ)
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF ลดหย่อนได้ 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อนับรวมกับ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ประกันแบบบำนาญ กบข. และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- กองทุนรวมเพื่อการออม SSF ซึ่งได้เข้ามาทดแทนกองทุนรวม LTF ที่ได้ถูกยกเลิกไป โดยลดหย่อนได้ 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ SSFX ลดหย่อนได้สูงสุด 200,000 บาท
- เงินประกันสังคม ลดหย่อนได้ 5,850 บาท (ลดลงจากเดิมคือ 9,000 บาท)
4) มาตรการรัฐ
- ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท
- ช้อปดีมีคืน ลดหย่อนได้สูงสุด 30,000 บาท
- ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท
- ช้อปดีมีคืน ลดหย่อนได้สูงสุด 30,000 บาท
5) เงินบริจาค
- เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ เท่าจำนวนที่บริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อนแล้ว
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อนแล้ว
- เงินบริจาคพรรคการเมือง ลดหย่อนได้สูงสุด 10,000 บาท
- เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ เท่าจำนวนที่บริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อนแล้ว
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อนแล้ว
- เงินบริจาคพรรคการเมือง ลดหย่อนได้สูงสุด 10,000 บาท
จากค่าลดหย่อนทั้ง 5 หมวดนี้ จะเห็นว่าเราสามารถเลือกลดหย่อนได้ตามหมวดที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็น ประกันชีวิต กองทุน RMF, SSF
โดย Krungthai Investment Festival 2020 คือแคมเปญ เทศกาลลดหย่อนภาษี ที่รวบรวมผลิตภัณฑ์ลดหย่อนภาษีมาไว้ให้ครบในที่เดียว ซึ่งถือว่าเป็นโค้งสุดท้ายของการลดหย่อนภาษี ที่ต้องรีบคว้าไว้ ได้แก่
1. Krungthai-AXA ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต
รับเครดิตเงินคืน สูงสุด 60,000 บาท
เมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ตามเงื่อนไขที่กำหนด
ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย. – 31 ธ.ค. 63 (อนุมัติภายในวันที่ 15 ม.ค. 64)
รับเครดิตเงินคืน สูงสุด 60,000 บาท
เมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ตามเงื่อนไขที่กำหนด
ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย. – 31 ธ.ค. 63 (อนุมัติภายในวันที่ 15 ม.ค. 64)
2. ผลิตภัณฑ์กองทุนรวม KTAM
รับเครดิตเงินคืนเข้ากองทุน KTSTPLUS 100 บาท
เมื่อลงทุนใน SSF / RMF ทุกๆ 50,000 บาท ตามเงื่อนไขที่กำหนด
(ยกเว้น กองทุน RMF2, RMF3, RMF4 และ SSFX)
ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย. - 30 ธ.ค. 63
รับเครดิตเงินคืนเข้ากองทุน KTSTPLUS 100 บาท
เมื่อลงทุนใน SSF / RMF ทุกๆ 50,000 บาท ตามเงื่อนไขที่กำหนด
(ยกเว้น กองทุน RMF2, RMF3, RMF4 และ SSFX)
ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย. - 30 ธ.ค. 63
3. ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต KTC
รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 15% หรือ ใช้คะแนนแลกรับสิทธิ์ผ่อนชำระค่าเบี้ยประกันชีวิต 0% นานสูงสุด 10 เดือน
เมื่อชำระค่าเบี้ยประกันชีวิต กรุงไทย-แอกซ่า ผ่านบัตรเครดิต KTC (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด)
รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 15% หรือ ใช้คะแนนแลกรับสิทธิ์ผ่อนชำระค่าเบี้ยประกันชีวิต 0% นานสูงสุด 10 เดือน
เมื่อชำระค่าเบี้ยประกันชีวิต กรุงไทย-แอกซ่า ผ่านบัตรเครดิต KTC (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด)
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://krungthai.com/…/krungthai-upda…/promotion-detail/546
การวางแผนลดหย่อนภาษีปี 2563 เป็นสิ่งที่ดี เพราะผู้เสียภาษีมีเวลาเพียงพอที่จะศึกษาข้อมูลและเลือกใช้การลดหย่อนภาษีที่เหมาะสมกับตัวเอง ซึ่งจะทำให้การจ่ายภาษีนั้นเกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง