EIC เผยดัชนี “รถติด” ในกรุงเทพฯ เดือนตุลาคม สูงกว่าปีที่แล้ว 4%
5 ธ.ค. 2020
EIC วิเคราะห์ข้อมูลดัชนีรถติด ข้อมูลดาวเทียมจาก Google Earth Engine และข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ พบว่า หลังผ่านพ้นช่วงล็อกดาวน์ กรุงเทพฯ กลับมามีปัญหารถติดและมลพิษสูงใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า แม้ยังไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา
จากข้อมูลดัชนีรถติด Longdo ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสภาพความติดขัดของการจราจรบนท้องถนน พบว่าแม้การจราจรในกรุงเทพฯ ช่วงล็อกดาวน์ (ปลายเดือนมีนาคม ถึง เมษายน 2563) จะเบาบางลงอย่างมีนัยสำคัญถึง -18.9% YOY
แต่การจราจรก็ได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังผ่อนคลายล็อกดาวน์ในเดือนกรกฎาคม
โดยล่าสุดดัชนีรถติดในเดือนตุลาคม กลับมาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าเล็กน้อยที่ 3.8% YOY
แม้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในไทยในเดือนเดียวกัน จะยังไม่กลับมา (-100% YOY)
โดยล่าสุดดัชนีรถติดในเดือนตุลาคม กลับมาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าเล็กน้อยที่ 3.8% YOY
แม้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในไทยในเดือนเดียวกัน จะยังไม่กลับมา (-100% YOY)
เช่นเดียวกันกับจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยที่เข้ามาในกรุงเทพฯ ที่ก็ยังน้อยกว่าเดือนเดียวกันในปีก่อนถึง -48.7% YOY
ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมา กรุงเทพฯ ถือได้ว่าเป็นเมืองรถติดสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
จากข้อมูลของ TomTom บริษัทผู้ให้บริการข้อมูลจราจรและแผนที่ ในปี 2562 กรุงเทพฯ ถูกจัดอันดับว่ารถติดสูงเป็นอันดับที่ 11 จากทั้งหมด 416 เมืองทั่วโลก
จากข้อมูลของ TomTom บริษัทผู้ให้บริการข้อมูลจราจรและแผนที่ ในปี 2562 กรุงเทพฯ ถูกจัดอันดับว่ารถติดสูงเป็นอันดับที่ 11 จากทั้งหมด 416 เมืองทั่วโลก
แม้อันดับโลกของกรุงเทพฯ จะดีขึ้นจากปี 2561 ซึ่งอยู่อันดับที่ 8 แต่ปริมาณรถติดยังคงเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
ผลกระทบจากการจราจรที่ติดขัดก่อให้เกิดต้นทุนที่สูญเสียไปทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะต้นทุนด้านเวลา
โดยในปี 2562 คนที่ใช้ถนนในกรุงเทพฯ ต้องใช้เวลาบนท้องถนนเพิ่มจากเวลาที่ใช้เดินทางปกติสูงถึง 207 ชั่วโมง (หรือ 8 วัน 15 ชั่วโมง) ต่อปี
โดยในปี 2562 คนที่ใช้ถนนในกรุงเทพฯ ต้องใช้เวลาบนท้องถนนเพิ่มจากเวลาที่ใช้เดินทางปกติสูงถึง 207 ชั่วโมง (หรือ 8 วัน 15 ชั่วโมง) ต่อปี
ซึ่งเวลาดังกล่าวเทียบเท่ากับการดูฟุตบอล 138 คู่ติดต่อกัน หรือการดูภาพยนตร์ Harry Potter ทั้ง 7 ภาคจบ 9 รอบติดต่อกัน..
ข้อมูลระดับมลพิษและข้อมูลดาวเทียมบ่งชี้ว่า มลพิษทางอากาศก็กลับมาเป็นปัญหาสำหรับคนกรุงเทพฯ เช่นกัน ซึ่งมีผลกระทบต่อร่างกายและสุขภาพของคนโดยตรง และก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคภัยต่างๆ ในระยะยาวได้
EIC ได้ใช้ข้อมูลดาวเทียมจาก Google Earth Engine ร่วมกับข้อมูลมลพิษทางอากาศระดับพื้นดินจาก OpenAQ มาวิเคราะห์แนวโน้มและการกระจายตัวของมลพิษทางอากาศ ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และฝุ่นละออง PM ในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งมีข้อค้นพบ ดังนี้
ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) : ส่วนใหญ่ก๊าซ NO2 จะเกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์จากโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน และการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไม่สมบูรณ์ของรถยนต์
โดยในช่วงล็อกดาวน์ เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2563 ความหนาแน่นของ NO2 ได้ลดลงต่ำกว่าปีก่อนหน้าถึง -24.7% YOY แต่หลังจากผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ความหนาแน่นของ NO2 ในเดือนสิงหาคมก็เพิ่มขึ้นมาใกล้เคียงกับปี 2562
โดยค่าความหนาแน่นของ NO2 เฉลี่ยในพื้นที่กรุงเทพฯ มีปริมาณสูงกว่าเกณฑ์ที่ WHO แนะนำที่เฉลี่ยไม่ควรเกิน 40 μg/m3 ต่อปี และเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ พบว่าปริมาณ NO2 ในกรุงเทพฯ สูงที่สุดเป็นอันดับ 1 และเป็นจังหวัดเดียวที่สูงเกินเกณฑ์แนะนำของ WHO
ทั้งนี้ หากพิจารณาจากข้อมูลดาวเทียมพบว่าความหนาแน่นของ NO2 ในพื้นที่กรุงเทพฯ เกิดขึ้นจากในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในมากกว่าพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นนอก สอดคล้องกับอันดับถนนที่รถติด 10 อันดับแรกของกรุงเทพฯ ในปี 2563 อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ เขตชั้นในถึง 9 แห่ง
ฝุ่นละออง PM : สาเหตุของฝุ่นละอองขนาดเล็ก ทั้ง PM2.5 และ PM10 เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดหลายแหล่ง เช่น การปล่อยควันไอเสียจากรถยนต์ การก่อสร้าง ควันจากการเผาป่า โรงงานอุตสาหกรรม และโรงไฟฟ้า
โดยช่วงล็อกดาวน์ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม ความหนาแน่นของฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 ได้ลดลง -15.9% YOY และ -17.6% YOY
และหลังจากช่วงล็อกดาวน์ ความหนาแน่นของของฝุ่นละออง PM10 เริ่มกลับมาเพิ่มขึ้น แม้ว่ายังต่ำกว่าปีก่อนหน้าอยู่ที่ -12.9% YOY และ -13.2% YOY ตามลำดับ แต่ก็ยังสูงกว่าเกณฑ์ที่ WHO แนะนำที่ไม่ควรเกิน 10 μg/m3 และ 20 μg/m3 ต่อปีตามลำดับ
อย่างไรก็ดี ปริมาณความหนาแน่นของฝุ่นละออง PM ยังขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วยเช่นกัน โดยปริมาณฝุ่นละอองมักจะสูงขึ้นในช่วงที่เปลี่ยนผ่านฤดูกาลช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ของปี ในลักษณะเช่นเดียวกับก๊าซ NO2 ทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นละอองเพิ่มขึ้น และทำให้คุณภาพอากาศโดยรวมแย่ลง
ทั้งนี้ หากพิจารณาความหนาแน่นของฝุ่นละอองที่วัดได้จากดาวเทียมพบว่า พื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในมีความหนาแน่นของฝุ่นละอองที่สูงกว่าพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก คล้ายกันกับลักษณะการกระจายตัวของก๊าซ NO2
ปัญหารถติด-มลพิษในกรุงเทพฯ เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคนกรุงเทพฯ โดยตรง รวมถึงอาจส่งผลทางอ้อมไปยังปัญหาอื่น
สำหรับผลกระทบทางตรง ปัญหาจราจรอาจทำให้เกิดความเครียดจากสภาพการจราจรติดขัด ขณะที่ปัญหามลพิษทางอากาศ มีผลกระทบต่อสุขภาพของคนกรุงเทพฯ โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด
นอกจากนี้ ปัญหารถติด-มลพิษในกรุงเทพฯ ยังส่งผลต่อผลิตภาพแรงงานของคนกรุงเทพฯ โดยเฉพาะงานกลางแจ้งจากปริมาณมลพิษที่อยู่ในระดับสูง และความน่าดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ต้องการพำนักระยะยาว (long stay) ในกรุงเทพฯ ซึ่งมีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงควรเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจราจรและมลพิษทางอากาศ ซึ่งนำไปสู่การแก้ไขปัญหา เช่น การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
การสนับสนุนพาหนะพลังงานสะอาด การจัดวางผังเมืองที่เอื้อต่อการเดินทางเท้า และการออกแบบระบบขนส่งสาธารณะให้มีความครอบคลุมและเชื่อมต่อถึงที่หมาย เพื่อลดการใช้ยานพาหนะหลายต่อ
บทวิเคราะห์จาก EIC - ธนาคารไทยพาณิชย์