Deloitte เผยรายงานแนวโน้ม “ดิจิทัลไลฟ์” ในประเทศไทย

Deloitte เผยรายงานแนวโน้ม “ดิจิทัลไลฟ์” ในประเทศไทย

26 ต.ค. 2020
Deloitte (ดีลอยท์) เปิดเผยรายงาน “คลื่นลูกใหม่” แนวโน้มดิจิทัลไลฟ์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างการประชุม INCLUSION Fintech Conference ซึ่งจัดโดย Ant Group และ Alipay
โดยสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มคนที่อายุ 21 ถึง 40 ปี
ใน 8 ประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่
ไทย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, อินเดีย, บังคลาเทศ และปากีสถาน
ซึ่งสามารถสรุปผลการศึกษาที่สำคัญของประเทศไทย ได้ดังนี้
จากปัจจัยชี้วัดความเป็นดิจิทัลไลฟ์ทั้ง 7 ข้อ ได้แก่ อัตราการใช้โทรศัพท์มือถือในประเทศ, ความเร็วอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ, การเติบโตของดิจิทัลเพย์เมนต์, การเติบโตของการชอปปิงออนไลน์, กิจกรรมโซเชียลมีเดีย และการสนับสนุนเชิงนโยบาย
ประเทศไทยถูกจัดไว้ในฐานะ “Digital Life Follower”
ทั้งนี้ สิงคโปร์, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย คือ “ผู้นำด้านดิจิทัลไลฟ์” (Digital Life Leader) โดยอยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศอื่นๆ ในทุกค่าพารามิเตอร์
ประเทศไทย และฟิลิปปินส์ มีความโดดเด่นในฐานะ “Digital Life Follower”
ความนิยมในการใช้มือถือของประเทศไทยจัดอยู่ในระดับที่สูง
รวมถึงการมีส่วนร่วมในโซเชียลมีเดีย การพัฒนาของบริการชำระเงินดิจิทัล และอีคอมเมิร์ซ
ฟิลิปปินส์ เป็นผู้นำในเรื่องของการปรับใช้บริการชำระเงินดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโอนเงินระหว่างบุคคล และอุตสาหกรรมเกม
อินเดีย จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มี “ศักยภาพด้านดิจิทัลไลฟ์” (Digital Life Potential) โดยเป็นผู้นำในด้าน Cyber Security
บังคลาเทศ และปากีสถาน จัดว่าอยู่ในกลุ่ม “ผู้ตามหลังด้านดิจิทัลไลฟ์” (Digital Life Catcher)
อย่างไรก็ตามประเทศไทยได้ถูกคาดการณ์ว่าจะก้าวสู่ “Digital Life Leader” ในอีกไม่ช้า
เนื่องจากรายได้เฉลี่ยต่อหัวที่สูง ส่งผลให้อัตราการใช้โทรศัพท์มือถือสูงไปด้วย
ทำให้ผู้คนใช้ชีวิตดิจิทัลได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโซเชียลมีเดีย, อีคอมเมิร์ซ, การชำระเงิน หรือเล่นเกมส์ออนไลน์ต่างๆ
คนไทยต่างเปิดรับและมีความกระตือรือร้นต่อเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัล
รวมถึงความไว้วางใจที่มีต่อโซเชียลมีเดีย ทำให้เกิดโมเดลการชอปปิงในรูปแบบ “โซเชียลมีเดีย + อีคอมเมิร์ซ” ที่แตกต่างออกไปจากเดิม
ประเทศไทยมีผู้ใช้งานดิจิทัลเพย์เมนต์ประมาณ 30 ล้านราย ในปี 2020
โดยมูลค่าการทำธุรกรรมประมาณ 8,363 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 261,500 ล้านบาท
สถานการณ์สองอันดับแรก ที่ผู้บริโภคชาวไทยเลือกใช้ดิจิทัลเพย์เมนต์ คือ
โอนเงินระหว่างบุคคล (80%) และ ชำระเงินในร้านค้า (77%)
1) ดิจิทัลเพย์เมนต์ :
-ร้านค้าคอนวีเนียนสโตร์ ถือเป็นปลายทางของเศรษฐกิจดิจิทัล
ในประเทศไทย 7-Eleven คือเชนสโตร์ใหญ่ในอุตสาหกรรมรีเทลที่มีหน้าร้านมากกว่า 10,000 สาขา ซึ่งคิดเป็น 95% ของสัดส่วนทั้งหมด โดยสามารถพบเจอได้ทั่วไปตามท้องถนน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ
-การชำระเงินผ่าน QR Code กลายเป็นหนึ่งในวิธีการชำระเงินยอดนิยมในประเทศไทย
75% ของลูกค้าทั้งหมดใช้งานผ่าน QR Code จากผลการศึกษาของ UnionPay และเนลสัน
-การชำระเงินแบบไร้การสัมผัส กลายเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงการแพร่ระบาดของโรค
และใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทย, มาเลเซีย, อินโดนิเซีย และฟิลิปปินส์
โดยมีการบริจาคแบบไร้การสัมผัส คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 600,000 ดอลลาร์สหรัฐ (มากกว่า 18 ล้านบาท) ในช่วงการแพร่ระบาด
2) อีคอมเมิร์ซ :
ผู้ใช้งานในกลุ่มตลาดอาเซียนมีแนวโน้มที่จะใช้ “โมบายคอมเมิร์ซ” มากกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ
-ปี 2020 ประเทศไทยนับเป็นหนึ่งในประเทศอันดับต้นๆ ในด้านอีคอมเมิร์ซผ่านการใช้โทรศัพท์มือถือ (75.3%) ประเทศอินโดนิเซีย (64%) ประเทศอินเดีย (80%)
3) โซเชียลมีเดีย :
สำหรับอัตราการเติบโตของผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2020
ประเทศไทยถูกจัดอยู่ใน “สามประเทศแรก” ที่มีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย Active มากที่สุด
ในภาพรวมพบว่าการใช้งานโซเชียลมีเดียประจำวันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ปี 2012 ถึง 2019 และยังรักษาระดับการเติบโตไว้เป็นอย่างดี
ในประเทศไทย ผู้คนมักใช้เวลาท่องโลกโซเชียล 2 ชั่วโมง 55 นาที ตามหลังประเทศประเทศอินโดนิเซีย ที่มีสถิติการใช้งานอยู่ที่ 3 ชั่วโมง 26 นาที และ 3 ชั่วโมง 53 นาที ในประเทศฟิลิปปินส์
ในประเทศไทย 51% ของนักชอปออนไลน์ นิยมชอปปิงผ่านโซเชียลมีเดีย
ขณะที่ 92% ของผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซ ใช้โซเชียลมีเดียในการชม และเปรียบเทียบสินค้าก่อนตัดสินใจชำระเงิน
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.