depa เผยภาพรวมอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย ปี 2561-2562 และจำแนกตามอุตสาหกรรม

depa เผยภาพรวมอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย ปี 2561-2562 และจำแนกตามอุตสาหกรรม

24 ก.ย. 2020
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa เผยผลสำรวจข้อมูลและประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมดิจิทัล ปี 2561-2562 และประมาณการมูลค่าตลาดดิจิทัลไทยปี 2563-2565 ครอบคลุม 5 กลุ่มอุตสาหกรรม
มูลค่าตลาดอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย
ปี 2561 มีมูลค่ารวม 637,676 ล้านบาท
ปี 2562 มีมูลค่ารวม 647,952 ล้านบาท ขยายตัว 1.6% จากปีก่อน
โดยปัจจัยบวกมาจากปริมาณความต้องการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น จากการเข้าสู่สังคมดิจิทัล
ขณะเดียวกันหน่วยงานต่างๆ เล็งเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) อีกทั้งผู้คนเริ่มคุ้นเคยและใช้บริการดิจิทัลมากขึ้น
ในทางกลับกัน ปัจจัยที่เป็นตัวฉุดรั้งการเติบโตของมูลค่าตลาด
มาจากขาดผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ ที่มากระตุ้นตลาด ทำให้ปริมาณความต้องการอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทชะลอตัวลง และหันไปใช้ในรูปแบบบริการมากขึ้น (เช่น บริการ Cloud)
การขาดแคลนกำลังคนดิจิทัล ซึ่งส่งผลให้อุตสาหกรรมขยายตัวได้ไม่เต็มที่
ขณะที่การใช้บริการต่างๆ ที่ซื้อตรงจากต่างประเทศมีมากขึ้น ทำให้ไม่มีข้อมูลแสดงรายได้ในประเทศ
สำหรับผลการสำรวจจำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม
-อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์
ปี 2561 มีมูลค่ารวม 118,917 ล้านบาท เติบโต 8.1% จากปีก่อน
ปี 2562 มีมูลค่ารวม 134,817 ล้านบาท เติบโต 13.4% จากปีก่อน
-อุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ
ปี 2561 มีมูลค่ารวม 325,261 ล้านบาท เติบโต 7.3%
ปี 2562 มีมูลค่ารวม 299,343 ล้านบาท ลดลง 8.0%
-อุตสาหกรรมบริการดิจิทัล
ปี 2561 มีมูลค่ารวม 153,497 ล้านบาท เติบโต 24.2%
ปี 2562 มีมูลค่ารวม 169,536 ล้านบาท เติบโต 10.5%
-อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์
ปี 2561 มีมูลค่ารวม 27,872 ล้านบาท เติบโต 11.3%
ปี 2562 มีมูลค่ารวม 31,080 ล้านบาท เติบโต 11.5%
-อุตสาหกรรม Big Data
ปี 2561 มีมูลค่ารวม 12,129 ล้านบาท เติบโต 2.5%
ปี 2562 มีมูลค่ารวม 13,176 ล้านบาท เติบโต 8.6%
ในส่วนของประมาณการมูลค่าตลาดดิจิทัลไทย ปี 2563-2565 คาดว่า
-อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์
ปี 2563 จะมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 133,199 ล้านบาท หดตัว 1.2%
โดยมีสาเหตุมาจากวิกฤติโควิด-19 แม้จะมีการนำซอฟต์แวร์บางด้านมาประยุกต์ใช้
เนื่องจากการทำงานแบบรีโมท อาทิ การประชุมผ่านระบบออนไลน์ CRM และ Document
แต่ซอฟต์แวร์ดังกล่าวส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ จึงไม่มีข้อมูลแสดงรายได้ในประเทศ
-อุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ
ปี 2563 จะมีมูลค่ารวม 268,989 ล้านบาท หดลง 10.1%
โดยได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เช่นกัน ส่งผลให้มีการนำเข้าฮาร์ดแวร์ลดลงอย่างมาก
แต่คาดว่าทั้งสองอุตสาหกรรมจะกลับมาขยายตัวตามปกติ โดยเฉพาะสินค้ากลุ่ม IoT ที่จะขยายตัวเด่นกว่ากลุ่มอื่นในปี 2564-2565
ปัจจัยบวกที่จะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และสมาร์ทดีไวซ์ไทย
คือการเข้ามาของ AI ทำให้เกิดระบบอัตโนมัติมากขึ้น, 5G และภาครัฐที่ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
ขณะที่ปัจจัยลบ คือการขาดผลิตภัณฑ์ที่กระตุ้นความต้องการซื้อ, ปัญหาเศรษฐกิจ และสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ
-อุตสาหกรรมบริการดิจิทัล
ปี 2563 จะมีมูลค่ารวม 204,240 ล้านบาท เติบโต 20.5%
ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงที่สุดในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมที่ทำการสำรวจ
คาดว่าได้รับแรงหนุนจากโควิด-19 ที่ทำให้สังคมปรับตัวสู่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเร็วขึ้น และมีการใช้บริการดิจิทัลมากขึ้น
โดยประเมินว่ามูลค่าตลาดดังกล่าว จะขยายตัวสูงกว่า 258,470 ล้านบาท ในปี 2565
-อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์
ปี 2563 จะมีมูลค่ารวม 34,229 ล้านบาท เติบโต 10.1%
เนื่องจากตลาดเกม มีอัตราการขยายตัวสอดคล้องกับตลาดโลก
ขณะที่ตลาดแอนิเมชันเติบโตลดลง จากโควิด-19 ทำให้ออเดอร์จ้างผลิตลดลง
และมูลค่าคาแรคเตอร์ลดลง ผลจากสติกเกอร์ไลน์ที่เริ่มถึงจุดอิ่มตัว
-อุตสาหกรรม Big Data
ปี 2563 จะมีมูลค่ารวม 14,915 ล้านบาท เติบโต 13.2%
ซึ่งจะขยับสู่ 16,871 ล้านบาท ในปี 2564 จากแรงหนุนที่ทุกภาคส่วนเล็งเห็นประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบกับการมีทางเลือกให้ใช้บริการแบบเช่าใช้ ซึ่งง่ายต่อการตัดสินใจลงทุน
และจะเพิ่มขึ้นเป็น 18,558 ล้านบาท ในปี 2565 เนื่องจากสถานการณ์ความผันผวนทางเศรษฐกิจ และการระบาดของโควิด-19 จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ทั้งนี้ บุคลากรในอุตสาหกรรมดิจิทัล ปี 2562 มีจำนวนรวม 381,620 คน
โดยเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะมากที่สุดที่ 196,852 คน
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.